Diabetes Educator TtT Program (2)


behavioral styles นั้นสามารถเรียนรู้และปรับเปลี่ยนได้ การแสดงออกแบบใดมีส่วนขึ้นอยู่กับคนที่ relate ด้วยและสถานการณ์ในขณะนั้นๆ

วันที่ 2 กันยายน 2555
เมื่อคืนหลัง 01 น. กว่า ดิฉันนอนหลับไม่สนิท ตื่นขึ้นมาดูนาฬิกาเกือบทุกชั่วโมง เมื่อใกล้ 05 น. จึงลุกขึ้นมาทำงานต่อ ช่วงเวลานี้ความเร็วของอินเทอร์เน็ตดีขึ้นหน่อย คงเป็นเพราะคนอื่น ๆ ยังไม่ตื่นมาใช้กัน

จัดการกิจวัตรส่วนตัวเสร็จเมื่อเวลาประมาณ 07 น. กว่าเล็กน้อย จัดกระเป๋าเสื้อผ้าและคอมพิวเตอร์ เอาไปเก็บไว้ท้ายรถซึ่งจอดอยู่ที่อาคารจอดรถของโรงแรม Intercontinental ขาไปมีคุณยามช่วยถือกระเป๋าแล้วพาเดินไปจึงไม่หลงทาง พอขากลับเดินคนเดียวเลี้ยวผิดเลี้ยวถูกไปเรื่อย เสียเวลาหาทางออกอยู่ครู่ใหญ่

หมอฝนชวนไปกินอาหารเช้าตั้งแต่ยังไม่ 07:30 น. อาหารพอใช้ได้ ปกติดิฉันชอบกินข้าวต้มและกับ ที่นี่มีกับอยู่ใกล้กับข้าวต้ม 2 อย่างคือปลาจิ้งจ้างที่ออกหวานและฟักทองผัดไข่ เราเลือกกินผักสด (สลัด) และผลไม้ด้วย

กำหนดการประชุมวันนี้เริ่ม 08:30 น. เมื่อไปถึงโต๊ะ เราพบว่ามีการแจกเอกสารเล่มหนาคือ Leader’s Guide, Handouts ของวันนี้และเอกสารเป็นแผ่นๆ มีเนื้อหาเป็น Quick references, Tips รวมทั้งคำถามที่ถูกถามบ่อย ๆ และคำตอบ

Leader’s Guide เป็น Facilitation Guide บอกบทของ Facilitator ทั้งหมดว่าในสไลด์แต่ละแผ่น (ของเมื่อวานนี้) ต้อง tell, do, ask, debrief อะไรบ้าง ใช้เวลากี่นาที ดิฉันปิ๊งทันทีว่าสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน ควรจะต้องมีการจัดทำ Guide แบบนี้ไว้เป็นมาตรฐานและเป็นคู่มือให้ผู้ผ่านการอบรมเอาไปใช้ในการทำงานได้ นอกจากนี้ในการเรียนการสอนนักศึกษาก็เอาวิธีการนี้ไปใช้ได้ เอกสารนี้ก็คือแผนการสอนนั่นเอง

เช้าวันนี้วิทยากรทบทวน tools และ support materials ที่มีให้ใช้ได้ ให้แต่ละกลุ่มระดมสมองว่าจะต้องทำอะไรกันบ้างเพื่อ facilitate Accu-Chek Connect DE program ในประเทศของตนเอง มีคำถามให้คิดเกี่ยวกับ target audience จะเชิญคนเข้าร่วมได้อย่างไร จะมี workshop กี่ครั้ง จำนวนคนใน workshop แต่ละครั้ง ต้องปรับเปลี่ยนเนื้อหาอะไร หรือไม่ ใครจะทำอะไร เมื่อใด

วิทยากรถามผู้เข้าประชุมว่าในการจัดโปรแกรมข้างต้นนั้นมีเรื่องอะไรที่เป็นกังวล ผู้เข้าประชุมบางคนก็บอกว่ากังวลว่าทำอย่างไร educator จึงจะได้รับการสนับสนุน กังวลเรื่องที่เป็น psychosocial part บางคนอยากให้แปลโปรแกรมเป็นภาษาของตนเอง... ผู้เข้าประชุมชาวเวียดนามบอกว่าในประเทศของเขายากที่ผู้ป่วยจะมีอุปกรณ์การตรวจเลือดของตนเอง ซึ่งวิทยากรแนะนำให้มีการ share เครื่องมือ...

หลังจากนั้นเป็นการแลกเปลี่ยนเทคนิคในการทำให้ผู้เข้าประชุมสนใจ เช่น ให้ทำกิจกรรม เล่าเรื่องตลก เปลี่ยน tone เสียง... วิทยากรบอกว่าคำถามบางคำถามวิทยากรก็อาจตอบไม่ได้ แต่ก็ต้อง acknowledge ว่าคำถามนั้นสำคัญ น่าสนใจ ให้ความเคารพคนที่ถามคำถาม อาจใช้วิธีถามว่าในห้องประชุมมีใครตอบได้บ้าง เป็นต้น

ต่อจากนั้นให้กลุ่มใช้ความรู้เรื่อง Learning Styles และ DISC กับการใช้ Structured Testing และ Pattern Analysis รวมทั้งการเพิ่ม patient engagement กลุ่มของดิฉันคุยกันแล้วมีความเห็นว่าในการดูแลผู้ป่วยเป็นกลุ่ม เราควรออกแบบกิจกรรมให้ตอบสนองทุก Learning Styles หากดูแลเป็นรายคนก็ต้องใช้วิธีการที่เฉพาะกับสไตล์ของแต่ละคน เรามีความเห็นตรงกันว่าการใช้เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเรียนรู้ได้ไม่ยาก แต่การ interprete ผลเอาไปใช้เป็นเรื่องที่ยากกว่า

ส่วนเรื่องของ DISC เราต้องรู้ motivator (ใช้ 5 whys) และธรรมชาติพฤติกรรมของแต่ละคน การรู้ว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมสไตล์ไหน จะทำให้เข้าใจสิ่งที่เขาทำ หมอฝนบอกว่า behavioral styles นั้นสามารถเรียนรู้และปรับเปลี่ยนได้ การแสดงออกแบบใดมีส่วนขึ้นอยู่กับคนที่ relate ด้วยและสถานการณ์ในขณะนั้นๆ

ช่วงท้ายวิทยากรมีคำถาม 3 ข้อเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ SMBG คือ

  • คุณคิดว่าการนำ behavioral concepts (คือ DISC, Learning Styles) ที่ illustrated ในโปรแกรมนี้ไปใช้ในประเทศของคุณ จะเพิ่ม patient engagement หรือไม่
  • คุณคิดว่าการนำ structured testing และ pattern management ที่ illustrated ในโปรแกรมนี้ไปใช้ในประเทศของคุณ จะเพิ่ม patient engagement หรือไม่
  • คุณมั่นใจหรือไม่ว่าคุณจะสามารถสอน concepts ที่ได้เรียนในโปรแกรมนี้แก่นักวิชาชีพสุขภาพอื่น ๆ ในประเทศของคุณ

วิธีการตอบคำถาม ให้ผู้เข้าประชุมยก card กระดาษแผ่นเล็ก ๆ สีต่าง ๆ ชูขึ้น
สีแดง = Not likely
สีส้ม = Resistant
สีเหลือง = Maybe
สีเขียว = Definitely
สีชมพู = No change needed

วิธีตอบคำถามแบบนี้ก็น่าสนใจ ไม่ใช้เวลามาก และวิทยากรประเมินภาพรวมได้จากสีของกระดาษที่เห็น

ปิดการประชุมเมื่อเที่ยงกว่า บริษัทโรชฯ มอบของที่ระลึกให้แก่ผู้เข้าประชุม รวมทั้งภาพหมู่ที่ถ่ายเมื่อวานด้วย หลังกินอาหารกลางวันเสร็จ เราก็แยกย้ายกันไป ผู้เข้าประชุมจากแต่ละประเทศคงจะหาทางนำความรู้ที่ได้ไปใช้ต่อ โดยอาศัยการสนับสนุนจากบริษัทโรชฯ ในประเทศนั้น ๆ ต่อไป

AAR หลังการประชุม

การประชุมครั้งนี้ได้ให้ไอเดียเรื่อง Learning Styles และ Behavioral Styles (ยังไม่ถึงขั้นที่รู้และเข้าใจมากนัก) ที่สามารถนำไปใช้พัฒนาการทำงานของเครือข่ายเบาหวาน และสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน ที่ดิฉันเป็นกรรมการอยู่ด้วย

ชอบใจเรื่องการจัดทำเอกสารที่แจกให้ผู้เข้าประชุม เป็นตัวอย่างที่ดีมาก และประทับใจวิทยากรทั้ง 2 คน ที่มีท่าทีเป็นมิตร พูดช้า ไม่เร่งรีบ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมได้มีส่วนร่วม

เสียดายที่การประชุมมีเวลาน้อยเพียง 1 วันครึ่ง เราจึงยังไม่รู้จักวิธีการประเมิน styles นั้น ๆ มากนัก และผู้เข้าประชุมยังรู้จักกันไม่ทั่วถึง

การใช้ภาษาอังกฤษ อาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ผู้เข้าประชุมบางคนไม่ได้ตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็น

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 501058เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2012 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นโปรแกรมที่น่าสนใจ แม้จะอยู่บนพื้นฐานด้านmarketing ของRoch ก็ตาม อย่างไรการทำSMBG คนไข้ได้ประโยชน์เต็มๆ สนใจเรื่อง Learning Styles และ Behavioral Styles มากๆ เป็นคีย์สำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลและลดภาวะแทรกซ้อนร้อยแปดที่คนไข้และคนทำงานเบาหวานเผชิญอยู่ รวมทั้งLeader’s Guideที่เป็น Facilitation Guide มากค่ะ เพราะหนูกำลังทำmodel การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไข้อยู่ค่ะ เป็น thesis (PhD.) ที่เคยนำเรียนปรึกษาอาจารย์ค่ะ อยากได้ความคิดเห็นของอาจารย์มากๆค่ะ ติดตามและยินดีหากอาจารย์ให้โอกาสชาวพิจิตรค่ะ

Learning Styles และ Behavioral Styles น่าสนใจคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท