AEC (ตอนที่ ๑ )


ผมขอเป็นนาฬิกาปลุก

                               มารู้จัก AEC  (ตอนที่ ๑)

      ได้อ่านบทความของคุณ สมพัฒน์  โพชนิกร  เรื่องเกี่ยวกับประเทศไทยกับการก้าวสู่ทศวรรษหน้า (๒๕๖๔)  แล้วก็อดที่จะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆในการเตรียมความพร้อมของการทำงานเพื่อความก้าวหน้าของตัวเราเองไม่ได้ อย่ามองข้ามความสับสนวุ่นวายในชีวิต ขอให้มองไปถึงเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นในโลกใบนี้ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ภัยแล้ง ภัยน้ำท่วม ที่แต่ละภูมิภาคมีแตกต่างกันไป  ผมจะไปพูดให้กว้างไปครับ  จะขอย่อให้เหลือเพียงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงทศวรรษหน้านี้ในการพัฒนาไปสู่โลกาภิวัตน์  ว่าจะทำอะไร  ส่งผลอะไรต่อไทยเราบ้าง ผมขอเป็นนาฬิกาที่ยังพร้อมทำหน้าที่ เป็นนาฬิกาปลุกเตือนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้รับรู้  ขอพอสังเขปนะครับ

๑.      การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ประกอบด้วย ๑๐ ประเทศคือ ไทย  อินโดนีเซีย มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน พม่า ลาว กัมพูชา ได้มีการประชุมสุดยอดของผู้นำครั้งที่ ๑๓ ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ ๑๙-๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ มีการลงนามในปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้บรรลุเป้าหมายปี ค.ศ. ๒๐๑๕ (พ.ศ. ๒๕๕๘) โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญของการรวมกลุ่มได้แก่

๑.     การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว

๒.    การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน

๓.    การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

๔.    การบูรณาการกับเศรษฐกิจโลกเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน โดยจะมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในสาขาต่างๆดังนี้

การเปิดเสรีการค้าสินค้า โดยการยกเลิกภาษีให้สินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียน 

- การเปิดเสรีการค้า บริการ โดยเป้าหมายในการลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดในด้านต่างๆ ลดและเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับบุคคล/นิติบุคคล สัญชาติอาเซียนในสาขาบริการสำคัญ เช่น สาขาเทคโนโลยีและสารสนเทศ สาขาสุขภาพ  สาขาการท่องเที่ยว  สาขาโลจิสติกส์  และที่สำคัญที่สุดคือสาขาการบริการด้านการเงิน

- การเปิดเสรีการลงทุน โดยจะเปิดเสรีด้านการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมที่ตกลง

- การเปิดเสรีด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนา

- การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี  ปัจจุบันมีการตกลงในสาขาต่างๆ ๗ สาขาได้แก่ แพทย์  ทันตแพทย์ พยาบาล บริการบัญชี วิศวกร  สถาปนิก และนักสำรวจ

     ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือในภูมิภาคอาเซียน

หมายเลขบันทึก: 501053เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2012 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท