Diabetes Educator TtT Program (1)


วางแผนจะเอาความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ในงานมหกรรม KM เบาหวานปีนี้

เมื่อวันที่ 1-2 กันยายน 2555 ดิฉันและหมอฝน พญ.สกาวเดือน นำแสงกุล ได้รับเชิญให้เข้าประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการ ACCU-CHEK Connect Diabetes Educator Train-the-Trainer Program ที่มีชื่อว่า Strategies that Inspire… New Ways to Engage Your Patients ของบริษัทโรชฯ ที่โรงแรม Intercontinental กรุงเทพฯ

TtT workshop ครั้งนี้ระบุว่าเราจะได้เรียนรู้เทคนิคและเครื่องมือที่จะใช้ในการทำงานต่อไปได้ ดังนี้

  • ค้นหา learning styles และ motivators ของผู้ป่วย
  • ให้ข้อมูล (deliver messages) ที่ผู้ป่วยจะจำเอาไปปฏิบัติ
  • อ่าน signs ของความเข้าใจและความมุ่งมั่น (commitment) ของผู้ป่วย
  • วาง patient action plans ได้อย่าง meaningful มากขึ้น
  • Engage ผู้ป่วยในการใช้ผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะ optimize patient visits

ดิฉันดูชื่อและวัตถุประสงค์ของโครงการแล้ว น่าสนใจ คิดว่าเราคงจะได้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ที่เอามาปรับใช้กับการทำงานของเครือข่ายเบาหวานได้

วิทยากรมี 2 คนคือคุณ Deborah Hinnen (Debbie) และคุณ Sam Thompson จากสหรัฐอเมริกา คุณ Debbie เป็นพยาบาลเวชปฏิบัติและเป็น diabetes educator มากว่า 30 ปี ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ Mid-American Diabetes Associates ในฐานะ coordinator ของทีมสหสาขาวิชาชีพ คุณ Debbie ทำงานเกี่ยวกับเบาหวานมาตลอด มีตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น เคยเป็น national president ของ American Association of Diabetes Educators, national board of directors ของ American Diabetes Association, เป็น editor ของวารสาร Diabetes Spectrum เป็นต้น

คุณ Sam เป็น Performance Trainer/Coach ทำงานในด้านการช่วยให้ new leaders พัฒนา coaching และ core leadership skills

เจ้าหน้าที่ของบริษัทโรชฯ บอกว่าผู้เข้าประชุมมาจากหลายประเทศคือ ไทย อินโดนีเซีย ใต้หวัน เวียดนาม....รวม 35 คน คนไทยมีจำนวนมากที่สุดคือ 14 คน

ก่อนถึงกำหนดวันประชุม มี email ส่งให้ผู้เข้าประชุมตอบแบบสอบถาม Extended DISC Personal Analysis ออนไลน์ หลังจากนั้นในวันรุ่งขึ้นเราก็ได้รับผลการวิเคราะห์หลายหน้ากระดาษบอกว่า behavioral style ของเราเป็นอย่างไร ซึ่งมีทั้งส่วนที่ตรงและไม่ตรงกับตัวเรา เพราะตอนที่ตอบแบบสอบถามดิฉันรู้สึกว่าบางข้อไม่มี item ที่ตรงและไม่ตรงกับตัวเองเลย แต่จำเป็นต้องเลือกไป

มีงาน Welcome dinner เมื่อเย็นวันที่ 31 สิงหาคม แต่เราไม่ได้ไปร่วมเพราะดิฉันมีประชุมคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยตั้งแต่บ่ายถึงเกือบค่ำ ส่วนหมอฝนก็จะเดินทางมาตอนเช้าวันที่ 1 กันยายน

วันที่ 1 กันยายน 2555  

ดิฉันและหมอฝนนัดที่จะเดินทางไปพร้อมกัน หมอฝนนั่งรถตู้มาจากโคราช ลงแถวหลังโรงเรียนหอวัง ถนนวิภาวดีรังสิต ดิฉันขับรถไปแวะรับแล้วให้หมอฝนทำหน้าที่เป็นโชเฟอร์ต่อ ดิฉันสอบถามเส้นทางไปโรงแรมจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทโรชฯ ส่วนหมอฝนก็มีเครื่อง navigator มาด้วย พอเดินทางจริงเรากลับเปลี่ยนเส้นทางและบางตอนก็ไม่เชื่อ navigator เลยต้องขับรถไปในพื้นที่ที่ไม่ค่อยรู้จัก โชคดีที่ยังเช้าอยู่มาก รถราในถนนยังไม่เยอะ เราเลยเดินทางไปถึงโรงแรมได้ตั้งแต่ประมาณ 07:15 น. มีเวลาได้ดื่มกาแฟสดและชมนิทรรศการบริเวณหน้าห้องประชุม

 

นิทรรศการ Accu-Chek 360 องศา ใช้สติกเกอร์ Hello Kitty แสดงค่าระดับน้ำตาลในเลือดของญี่ปุ่น

 

คนไทยที่เข้าประชุมส่วนใหญ่รู้จักกันอยู่แล้ว เช่น ผศ.ดร.ชนิดา ปโชติการ ดร.สุนาฎ เตชางาม พญ.เกษนภา เตกาญจนวนิช นายกสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน คุณสิงโต สุพจน์ เตชเจริญศรี จาก รพ.มหาราชนครราชสีมา คุณเต้าเจี้ยว จิราวรรณ ลีลาพัฒนาพาณิชย์ จาก รพ.อุดรธานี คุณแม้ว หรรษมน ประสาทแก้ว จาก รพ.เวชธานี คุณอัฐพร ระวังสุข จาก รพ.สงขลานครินทร์ คุณสุนทรี นาคะเสถียร จาก รพ.เทพธารินทร์ เป็นต้น

กิจกรรมเริ่มตั้งแต่ 08:20 น. เร็วกว่าที่ระบุไว้ในโปรแกรมคือ 08:30 น. ได้รู้มาว่าฝรั่งเลื่อนเวลาเป็น 08:00 น. แต่เนื่องจากเขาแจ้งเรื่องนี้ในเวลากระชั้นชิด ทางบริษัทโรชฯ จึงไม่ได้แจ้งให้ผู้เข้าประชุมทราบ

คุณ Kathryne A. Riha ซึ่งเป็น Global Healthcare Professional Marketing Manager บอกรายละเอียดของโปรแกรมและบอกว่า Roche มีหลักสูตรอยู่ 3 หลักสูตรเพื่อ address different diabetes care needs คือ HCP focus เน้น optimizing therapy, DE focus เน้น strategic patient engagement และ Retail focus เน้น....

คุณศิริมิตร ส่งไพศาล ซึ่งเป็นผู้จัดการกลุ่มธุรกิจ Diabetes Care ของ Roche Diagnostics ประเทศไทยและปัจจุบันได้รับ promotion เป็น Head of Sub-Region South-East-Asia for APAC Diabetes Care กล่าวต้อนรับ พูดถึงปัญหาของโรคเบาหวาน ความสำคัญของการจัดการตนเอง ACCU-Chek vision นอกจากจะมีเครื่องมือแล้ว ยังมี solutions และ tools ที่ช่วยให้การควบคุมเบาหวานบรรลุเป้าหมาย...

ช่วงแรกมีกิจกรรมสั้น ๆ ให้ผู้เข้าประชุมได้ทำความรู้จักกัน (แต่ไม่ทั่วถึง) ดิฉันได้รู้จักกับพยาบาลชายคนหนึ่งจากอินโดนีเซีย แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้พูดคุยกันอีก เพราะทีมผู้จัดการประชุมเขาจัดให้พวกเรานั่งเป็นกลุ่มตามประเทศ ซึ่งประเทศไทยมี 3 กลุ่ม เราไม่มีรายชื่อของผู้เข้าประชุมทั้งหมด 

เราได้รับเอกสารประกอบการประชุม 2 เล่มคือ Participant’s Guide และ Diabetes Education Practice Reference Guide ซึ่งถูกเตรียมมาอย่างดี อีกเรื่องที่เขาทำอย่างเป็นเรื่องเป็นราวคือช่วงที่พักรับประทานอาหารว่างตอนสาย เขาจัดให้มีการถ่ายภาพหมู่โดยช่างภาพจริง

ในการประชุมวันนี้วิทยากรได้แนะนำตนเองและถาม participants บางส่วนว่าคาดหวังจะได้อะไรจาก workshop ครั้งนี้ แล้วเขียนไว้บน flip chart ในวันนี้เราได้เรียนรู้ว่าการสร้าง patient engagement จะต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง หลักการของ adult learning, growth stages จาก unconsciously incompetent จนถึง unconsciously competent, learning styles, DISC behavioral styles, communication process, 5 whys….นำความรู้เหล่านี้ไปเชื่อมโยงกับเรื่องของ SMBG โดยเฉพาะ Structured Testing, Pattern Management และ tools ต่าง ๆ เช่น SmartPix, Accu-Chek 360 องศา

ฝรั่งสอนตรงตามเวลา บางช่วงสอนคนเดียว บางช่วง 2 คนช่วยกัน ดูเหมือนเขาวางแผนมาแล้วอย่างดี มีการส่งต่อและรับลูกกันได้เหมาะ บางช่วงก็แสดง role play

 

วิทยากร 2 คน

 

นอกเหนือจากการให้ content ต่าง ๆ แล้ววิทยากรได้ตั้งคำถามให้ participants นึกย้อนถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนเองว่าได้ใช้เทคนิควิธีการอะไร อย่างไรกันบ้าง มีกิจกรรมให้กลุ่มช่วยกันเรียง cards ตาม D, I, S หรือ C style และมี case ผู้ป่วยให้พวกเราช่วยกันวิเคราะห์และแก้ปัญหา

 

 

ทำกิจกรรมกลุ่ม เสื้อขาวคือคุณศิริมิตร ส่งไพศาล

 

สุดท้ายของการประชุมวันนี้ (ประมาณ 17:00 น.) มีคำถาม action plan ว่าเราจะเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้ไปใช้ต่ออย่างไร (ในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยและในการปฏิบัติงานของตนเอง) ดิฉันกับหมอฝนวางแผนจะเอาความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ในงานมหกรรม KM เบาหวานปีนี้ หมอฝนจะคิดออกแบบการนำความรู้เกี่ยวกับ กระทิง หมี เหยี่ยว และหนู มาใช้แทน DISC

ทีมผู้จัดการประชุม วิทยากร และ participants มีนัดเจอกันที่ล็อบบี้ของโรงแรมในเวลา 18:00 น. เพื่อไปชมสถานที่บางแห่งและล่องเรือรับประทานอาหารเย็น ดิฉันและหมอฝนไม่ได้ไปร่วมด้วย เราไป check-in ที่โรงแรม Holiday Inn ที่อยู่ติดกัน แล้วเดินเที่ยวแถวใกล้ ๆ เดินไปนิดเดียวก็ถึงห้างเซ็นทรัลชิดลม ดูข้าวของไปเรื่อย ๆ เพราะไม่ได้วางแผนว่าจะซื้ออะไร แต่ดิฉันก็ได้ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ 3 ผืนและเล็ก 1 ผืน เรากินอาหารเย็นที่นี่เป็นก๋วยเตี๋ยวผัดไทยและเกาเหลาหมู

กลับถึงห้องพักที่โรงแรม อาบน้ำเสร็จ เอางานที่ยังค้างอยู่มาทำ แต่ก็ทำได้ไม่มาก เพราะวันนี้นั่งนานทั้งวันจนรู้สึกเมื่อยขา ที่โรงแรมมีอินเทอร์เน็ตให้ใช้ฟรี ความเร็วพอใช้ได้ แม้จะอยู่ริมถนนแต่ภายในห้องพักก็เงียบไม่ได้ยินเสียงรถจากภายนอก แต่ได้กลิ่นบุหรี่อ่อน ๆ เข้ามาบ้าง ดิฉันเข้านอนตั้งแต่ยังไม่ถึง 23 น.

วัลลา ตันตโยทัย

 

หมายเลขบันทึก: 500965เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2012 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2012 07:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 self-monitoring of blood glucose  เป็นกระบวนการที่ดี นะคะ

 

ขอบคุณมากค่ะ

ตรงใจค่ะ แต่รายละเอียดน้อยไปนิด อยากให้อาจารย์นำไปใส่ในหลักสูตรที่ทางสมาคมจัดในเดือนตุลาคมค่ะ จะเข้าrevise ใหม่อีกรอบ ค่ะ

เรียนคุณ pranee420 โปรดติดตามกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องนี้ในงานมหกรรม KM เบาหวานช่วงปลายปีนี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท