No.14: Buddha's Brain สมองแห่งพุทธะ


จิตและสมองเป็นคนละส่วนกัน แต่ทำงานร่วมกันเหมือนเป็นหนึ่งเดียวกัน การทำงานของจิตมีผลต่อสมอง และเช่นเดียวกัน การทำงานของสมอก็มีผลต่อจิตด้วย

                            

   Rick Hanson เป็น ดร.จิตวิทยาระบบประสาท ส่วนผู้เขียนร่วมคือ Richard Mendius เป็น แพทย์ระบบประสาท ผมอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว เหมือนอ่านหนังสือธรรมะเลยครับ เพียงแต่ผู้เขียนอ้างอิงหลักฐานทางการแพทย์ ที่เชื่อมโยงเรื่องของการฝึกจิตแนวพุทธ เข้ากับการทำงานของสมองและระบบประสาทได้ดีอย่างน่าทึ่ง

   ผมสรุปย่อๆแบบง่ายๆสบายๆนะครับ ถ้าอยากรู้รายละเอียดต้องอ่านฉบับเต็ม แต่สิ่งที่ผมว่าสำคัญมากยิ่งกว่าก็คือ การฝึกปฏิบัติครับ รู้ไม่ต้องมากแต่ทำได้บ้าง ยังดีกว่ารู้เยอะแต่ไม่ได้ทำนะครับ

   1. การทำงาน(พฤติกรรม)ของจิตมีผลต่อการทำงานของเซลล์สมอง และในทำนองเดียวกัน การทำงานของเซลล์สมองก็มีผลต่อการทำงานของจิต นั่นหมายถึง ถ้าจิตของเราคิดหรือตั้งใจจะทำอะไร (Intention consciouness) ก็จะไปมีผลต่อการทำงานของเซลล์สมอง เชื่อมโยงเส้นใยประสาท และการหลั่งสารเคมีในสมอง และถ้าสมองเราเกิดประสบการณ์การรับรู้เรื่องใดๆ(Experiences via sensory-motor organs) ก็จะไปมีผลต่อการเปลี่ยนสภาวะของจิตด้วย

    การฝึกจิตให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ จะช่วยการทำงานของสมองให้ดีขึ้นด้วย (Train your mind change your brain)

    การให้สมองได้รับรู้ประสบการณ์ที่ดีๆ ก็จะมีผลต่อสภาพจิตใจที่ดีไปด้วย ให้เอาตาไปดูไปอ่านสิ่งที่ดีๆ เอาหูไปฟังสิ่งที่ดีๆ ใช้ปากพูดแต่สิ่งที่ดีๆ  ใช้มือทำแต่สิ่งที่ดีๆ แล้วเดี๋ยวสภาพจิตมันจะดีตามไปเองครับ

   2. การฝึกสติ การฝึกสมาธิ การฝึกสร้างจินตภาพ(ที่ดีตามที่เราต้องการ) การฝึกเจริญเมตตา-กรุณา จะกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมองให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ขอให้ฝึกบ่อยๆ เป็นประจำ จนเป็นนิสัย จะเกิดผลดีต่อสมอง และเพราะสมองเป็นศูนย์บัญชาการทำงานของร่างกาย สุขภาพร่างกายจึงพลอยดีตามไปด้วย

   3. ถ้าเรามีพฤติกรรมหรือความคิดที่ไม่ดี อย่าพยายามไปกด ข่ม หรือเปลี่ยนแปลง เพราะนั่นเท่ากับเรากำลังเอาน้ำมันไปราดไฟ เราเพียงแต่ตระหนักรู้เท่านั้น จากนั้นให้เติมพฤติกรรมหรือความคิดที่ดีลงไป ทำเช่นนี้บ่อยๆ สมองจะเริ่มรับรู้ แล้วสร้างเส้นทางใหม่ขึ้นมาให้เอง เปรียบเสมือนทางน้ำที่เป็นร่องลึก เราอย่าพยายามไปเปลี่ยนเส้นทางมันเลย ขอเพียงสร้างเส้นทางใหม่เพิ่มให้มันไหลเท่านั้น นานเข้าก็จะกลายเป็นร่องลึกขึ้นมาเอง

    นอกจากการปฏิบัติธรรมแล้ว เครื่องมือฝึกจิตอื่นยังมีอีก เช่น การฝึกชี่กง โยคะ งานศิลปะ เล่นดนตรี  เป็นต้น การฝึกกิจกรรมเหล่านี้ล้วนมีผลต่อจิตและสมองอย่างมากทีเดียว และเเน่นอนครับ เมื่อจิตดี สมองดี กายย่อมดีด้วยอย่างไม่ต้องสงสัยเลย ถ้าเป็นเช่นนั้น เริ่มฝึกตอนนี้ได้เลยครับ ... ^_^

คำสำคัญ (Tags): #Buddha's brain
หมายเลขบันทึก: 500964เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2012 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

รู้เยอะ แต่ไม่ ได้ทำ ....  ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ... ยิ่งผลลัพธิ์ คืือ 0 (ว่างเปล่า)

ขอบคุณท่านมากค่ะ

ชอบค่ะ ขอบคุณที่แบ่งปัน

มาสารภาพว่าหนังสือเล่มนี้ผมซื้อมาเป็นปีแล้วยังไม่ได้อ่านเลยครับ

อืมม.... น่าคิดว่าหนังสือใน Kindle นี่ถ้าเราซื้อมาแล้วจะมีโอกาสอ่านมากกว่าหนังสือจริงๆ เพราะหนังสือจริงๆ ถ้าซื้อแล้วไม่ได้อ่านเลยใส่เข้าตู้ มันก็จะมีโอกาสไม่ได้ออกมาจากตู้ (ฮา)

อ่านบันทึกนี้ของคุณหมอแล้วผมบอกตัวเองว่าเดี๋ยวต้องรีบหาโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท