drrakpong
นายแพทย์ รักษ์พงศ์ เวียงเจริญ

ความคาดหวังสำหรับโรงพยาบาล ที่จะผ่านการรับรอง HA


"..ความเสี่ยงที่ชัดเจน ต้องได้รับการจัดการที่รัดกุม.." อ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล

              เมื่อหลายเดือนก่อน มีโอกาสได้พบ อาจารย์อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผอ.สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล หรือ สรพ. ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่รับรองกระบวนการคุณภาพของสถานพยาบาลในประเทศไทย หรือ HA เมื่อครั้งที่อาจารยืมาร่วมเป็นวิทยากรนำการทำกิจกรรม Provincial KM ให้กับโรงพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี

         ผมได้ตั้งคำถาม ถามอาจารย์อนุวัฒน์ ว่า สำหรับโรงพยาบาลที่ขอรับการประเมินเพื่อการรับรอง ( Accreditation )  เป็นครั้งแรก อาจารย์คาดหวังอะไรที่จะเกิดขึ้นในโรงพยาบาล ขอสรุปสักหนึ่งประโยค

         อาจารย์หยุดคิดนิดนึง แล้วตอบว่า

       "...ความเสี่ยงที่ชัดเจน ต้องได้รับการจัดการที่รัดกุม...."

        ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญสำหรับโรงพยาบาลที่ต้องคิดว่า ได้ทำให้เกิดผล มากน้อยเพียงใด สำหรับความเสี่ยงในการดูแลรักษาผู้ป่วย

        มีวลีสำคัญในประโยคนี้ คือ "ความเสี่ยงที่ชัดเจน" และ "การจัดการที่รัดกุม" ซึ่งอาจจะยากตั้งแต่วลีแรก สำหรับโรงพยาบาลที่ยังวางระบบบริหารความเสี่ยงไม่สมบูรณ์พอ ทั้งเชิงรับ และเชิงรุก รวมถึงความรู้ความเข้าใจในด้านการจัดการและป้องกันความเสี่ยงของบุคลากรในโรงพยาบาล ที่จะสร้างความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการ

       ความเสี่ยงที่ชัดเจน ถ้ามองแค่เชิงรับ คือ จากรายงานอุบัติการณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีข้อมูลเข้ามามากมาย ถ้าโรงพยาบาลได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดลำดับความสำคัญ บอกได้ว่าความเสี่ยงเรื่องใด ด้านใด เป็นความเสี่ยงสำคัญของโรงพยาบาล ของกลุ่มผู้ป่วย และของหน่วยงาน ถ้าโรงพยาบาล หรือ PCT หรือระดับหน่วยงาน แสดงให้เห็นว่าตัวเองนั้น มีความ "ชัดเจน" ในความเสี่ยง ในกระบวนการดูแลผู้ป่วยหรือกระบวนการทำงานในแต่ละระดับ รู้ถึงระดับบุคคล คือ บุคลากรในหน่วยงานนั้น "ชัดเจน" และ "ตระหนักรู้" ว่าความเสี่ยงนั้น มีอยู่รอบตัวของเขาจริง และอะไรเป็นความเสี่ยงสำคัญ ลำดับก่อนหลัง เพื่อจะได้คิดต่อ เพื่อการจัดการที่รัดกุม  

     งานแรกที่โรงพยาบาลต้องทำ คือ ทำให้คนคิดได้ว่า "ความเสี่ยงที่ชัดเจน" ของเขาคืออะไร  ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับหน่วยงาน ระดับทีมคร่อม/PCT และแม้แต่ทีมนำของโรงพยาบาล

     ส่วนวลีที่สอง "การจัดการที่รัดกุม" อาจจะดูเหมือนยาก แต่ถ้าใช้การพินิจพิเคราะห์ที่เหมาะสม อาจหาคำตอบได้ไม่ยาก ไว้ต่อคราวหน้าก็แล้วกันนะครับ

 

 

 

( ไม่ค่อยได้เขียน Blog ยังไม่ไหลลื่น เพิ่งกลับมาเขียน ตามคำเรียกร้อง )

คำสำคัญ (Tags): #ha#ความเสี่ยง
หมายเลขบันทึก: 500332เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2012 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ความเสี่ยงที่ชัดเจน ต้องได้รับการจัดการที่รัดกุม...."บริหารความเสี่ยง"...ไม่มีปัญหา...เกิดการพัฒนาแน่นอนนะคะ

ขอบคุณค่ะ

อ่านสนุกน่าติดตามค่ะ การวางระบบอะไรตอนแรกก็ยากทั้งนั้น แต่ถ้าให้โอกาสคนหน้างานได้ช่วยคิด ได้เสนอแนะวิธีการทำงาน แล้วผู้บริหารนำมาบูรณาการบริหารจัดการให้เกิดสิ่งที่คนทำงานเสนอ งานที่เป็นฟันเฟืองเล็กๆเพื่อจะหมุนเฟืองหลักจะไปได้เร็วกว่าการสั่งแบบ Top-Down นะคะ โดยเฉพาะในคนที่ทำงานมานานๆ เป็นขุมทรัพย์ที่หากไม่ค้นหาบางทีเราก็จะไม่ได้ใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่แล้วอย่างเต็มศักยภาพนะคะ แลกเปลี่ยนจากประสบการณ์ตรงที่ท.สงขลานครินทร์ค่ะ

  • ตามมาเชียร์คุณหมอ
  • คนเมืองกาญจน์บ้านเรา
  • เพิ่งทราบว่าอาจารย์อนุวัฒน์ไปโรงพยาบาลพหลฯมา
  • สรุปว่า อะไรคือความเสี่ยงของโรงพยาบาลบ้านเราครับ
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท