จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

e-Trust โจทย์น่าสนใจ


ไม่ได้เขียนบล็อกนานมากครับ อันเนื่องจากสมาธิช่วงนี้มุ่งไปเพียงเรื่องเดียวจริงๆ ครับ คือเรื่องวิทยานิพนธ์ แต่พอเจอโจทย์ที่ทางทีมงาน g2k กำหนดไว้ (บวกกับรางวัลที่โดนใจเสียเหลือเกิน) พร้อมๆ กับวันนี้ไปนั่งฟังการบรรยายเกี่ยวกับ km แล้วใจมันเลยหวนให้คิดอยากเขียนบล็อกขึ้นมาเลยทีเดียว

คำถามถามไว้ว่า ทำอย่างไรให้ประชาชนเชื่อมั่นในการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ?

ก่อนจะได้คำตอบของคำถามนี้ ผมเกิดคำถามใหม่ว่า อะไรบ้างที่ผมสัมผัสกับการให้บริการของรัฐผ่านช่องทางนี้บ้าง ฮิฮิ เริ่มนับนะครับ 1) ที่คุ้นเคยและประทับใจ ลดข้อกังวลผมไปได้เยอะคือ เรื่องทำบัตรประชาชน และใบขับขี่ อันนี้ผมเห็นการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ทำให้ผมสามารถทำบัตรประชาชนได้ทุกที จำได้ว่าหลายปีก่อนต้องรีบไปมาเลเซียเพื่อเก็บข้อมูลวิจัย แต่แล้วใบขับขี่ผมยังไม่ได้แปล แล้วก็ได้คำแนะนำว่าทำเป็น smart card เลยใช้ต่างประเทศได้ด้วย ผมเลยจะไปทำแบบด่วนๆ แต่แล้วพอจะไปทำ อ้าวบัตรประชาชนหายไปไหน ผมก็แจ้นเข้าไปในที่ทำการอำเภอเมืองยะลาทันใด ทั้งๆ ที่ชื่อผมอยู่ อ.ยะรังปัตตานี แต่เวลามันไม่เอื้อแล้วครับ ทำไงได้ลองดูแล้วกัน สุดท้ายก็ทำได้ครับ แล้วใช้เวลาทำทั้งสองบัตรเสร็จอย่างรวดเร็วภายในครึ่งวัน อื้อ น่าประทับใจเหลือหลาย 2) การต่อทะเบียนรถครับ อันนี้ที่สะดวกคือทำที่จังหวัดไหนก็ได้ ที่สำคัญมันเร็วมากขึ้น 3) พาสบอต อันนี้รวดเร็วทันใจเหมือนกันครับ และ 4) เรื่องภาษี (อือ แต่กว่าผมจะเข้าได้)

แต่ถ้าการให้บริการทางภาคเอกชนผ่านระบบนี้ อันนี้เจรไนออกมาไม่หวาดไม่ไหวครับ เลยเกิดคำถามต่อว่า ผมมีความเชื่อมั่นของสองหน่วยงานนี้ต่างกันหรือเปล่า คำตอบคือ ผมคิดว่าผมก็น่าจะหวาดๆ กับทั้งสองภาคนี้พอๆ กันแหละครับ โดยเฉพาะเมื่อหลายเดือนก่อนที่เว็บไซด์ธนาคารหนึ่งโดยแฮกเกอร์จัดการไปเรียบร้อย นอกจากนี้ก็จะแถมมาด้วยอีเมลให้เรากรอก  user และ password มาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งหวั่นๆ กลัวว่าจะเผลอไปตอบเข้าให้

ผมเชื่อว่าระบบอีเล็กทรอนิกส์สร้างความสะดวกให้กับผู้ให้และผู้รับบริการ และถึงอย่างไรวิถีชีวิตของเราคงต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่ๆ ดังนั้นคำตอบที่เกิดขึ้นคือ รัฐต้องเป็นฝ่ายรุกก่อนครับในการเปิดพื้นที่การให้บริการในหลากหลายรูปแบบมากขึ้น จากหนึ่งบริการที่สร้างความประทับใจได้ ก็จะทำให้อีกหลายๆ บริการได้รับความไว้วางใจไปด้วยครับ ขณะเดียวกันเมื่อการบริการทั้งหมดของรัฐผ่านระบบอีเล็กทรอนิกส์แล้ว เชื่อว่าต้นทุนของรัฐเองก็ลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งต้นทุนก็สามารถโอนไปสู่การสร้างความปลอดภัยให้กับระบบได้มากขึ้นเช่นกัน

อีกเงื่อนไขความสำเร็จก็คือ การให้ข้อมูล การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการให้บริการต่างๆ ครับ ข้อมูลที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องวิธีการใช้เท่านั้น แต่รวมถึงข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัย เสถียรของระบบด้วยครับ (อย่าปล่อยให้มีแต่ข่าวตอนเซฟเวอร์ล้มเท่านั้น ฮิฮิ)

อีกหนึ่งประสบการณ์ที่อยากเอามาเป็นหนึ่งคำตอบคือ ผมเข้าไปดูหลายๆ เว็บของหน่วยงานภาครัฐ สิ่งที่เจอคือ เราไม่สามารถหาข้อมูลที่ต้องการได้เลย เหตุผลง่ายๆ เพราะหน่วยงานรัฐมักไม่ได้นำเสนอข้อมูลอย่างครบถ้วน มอบหน้าที่การเผยแพร่ข้อมูลไปเพียงฝ่ายหรือบุคคลเดียว และที่เจอข้อมูลจากเว็บรัฐได้ครบถ้วน ก็ต่อเมื่อหน่วยงานนั้นมีการจัดการความรู้ภายใน มีการเล่านำเสนอเรื่องราวการให้บริการภายในหน่วยงาน ทำให้ผู้เข้ารับบริการสามารถเตรียมพร้อมได้อย่างมั่นใจ

หมายเลขบันทึก: 500321เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2012 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2012 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ท่านสบายดีนะครับ ไม่ได้ f2f กันนานแล้ว

ขอบคุณครับอาจารย์ JJ คิดถึงอาจารย์ครับ ไม่ทราบเมื่อไรจะลงมาทำกิจกรรมภาคใต้ตอนล่างบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท