HA Forum ครั้งที่ 9 : ..บรูณาการงานและชีวิต


KM

9th HA Regional Forum

เรียนรู้บูรณาการงานกับชีวิต

26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555   

ณ โรงแรมพูลแมน  ขอนแก่น ราชาออติค

หัวข้อ เรื่อง     “บรูณาการงานและชีวิต”

วิทยากร      โดย       ดร.นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ,

ผู้จดบันทึก โดย       นางสาวกัญญา  วังศรี   (พยาบาลชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลศรีนครินทร์)

อาจารย์เกริ่นนำและพา วิเคราะห์สถานการณ์งานกับชีวิต

“ปัจจุบัน “งานกับชีวิต”   พวกเราจะปฏิเสธกันไม่ได้ว่า  พวกเรามีการติดตามความเคลื่อนไหวทางสื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสื่อทาง Facebook  สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้     

เมื่อพูดถึงงานทุกวันนี้  มีการกำหนดเป้าหมาย และมีความซับซ้อน ยากต่อการจับต้องได้   ทำให้เกิดปัญหา 

  • งานล่าช้า  
  • หมอไม่ออก OPD  
  • พอกลับบ้าน  สามีก็บ่นว่า   HA  หรือ  Husban away  กันแน่   

อาจารย์นำพวกเรา...ทบทวนเรื่องราวของงานกับชีวิตกัน

 

บูรณาการงานกับชีวิต

ชีวิตเรา

“อันตัวเรา  ล้วนมีหน้าที่ในสังคม    ทั้งงานส่วนตัว และทำงานที่ต้องร่วมกันทำกับส่วนรวม 

ทั้งสองส่วน...มักกำหนดเป้าหมาย  

ตัวชี้วัด...มากำกับการทำงานของตนและกลุ่ม   

ที่สำคัญ..มักนำเอาตัวชี้วัดมากำหนดเป็นเป้าหมาย 

เมื่อทำงานเสร็จแล้ว  ควรเขียนเป็นเรื่องเล่า   “ทำแล้วเขียนเรื่องเล่า และสิ่งที่ทำให้บรรลุเป้าหมายจนสำเร็จ” 

“สำหรับการกำหนด และการทำตามกำหนดนั้น มักเกิดจากศรัทธา  ความตั้งใจ คนเราต้องมีมีสติ และทำตามที่ตั้งใจไว้” 

 

กรณีตัวอย่าง

เรา   :        เป้าหมายของเราต้องการเดิน  ได้ออกกำลังกาย 

สามล้อ  :  เป้าหมายของสามล้อ คือ มีผู้โดยสาร อย่างน้อย 1 คน เพื่อให้มีรายได้จุนเจือครอบครัว 

จากเหตุการณ์   “เมื่อเรากับสามล้อมาเจอกัน  เราจะบูรณาการงานกับชีวิตอย่างไร? 

“สำหรับการบูรณาการงานกับชีวิตนั้น  เราได้คำตอบ คือ  ชีวิตเป็นของเรา ทำสิ่งใดทั้งเรื่องส่วนตัวและส่วนรวม  เราอาจต้องมองข้ามเป้าหมายของตนเองไปก่อน  และต้องช่วยให้คนอื่นบรรลุเป้าหมายยิ่งใหญ่ ให้ได้ผลดี”

 

งาน

“งานมีเป้าหมายหลายอย่าง   ขาดความลงตัวงานกับชีวิต   สาเหตุเกิดจากสภาวะแตกแยกในสังคมสมัยใหม่  ชีวิตถูกซอยแบ่งเป็นส่วนๆ  

ตัวอย่างเช่น...

ชีวิตคนเรา..ถูกแบ่งแยกโดยสังคม  

นักเรียน..ถูกแบ่งแยกโดยระบบการศึกษา  

สังคมปัจจุบันสร้างความแตกแยกไม่มากก็น้อย   

ชีวิตข้าราชการ...ดีใจวันศุกร์ – เศร้าใจวันจันทร์”

 

“ตัวอย่างการบูรณาการงานกับชีวิต   เราจากที่ทำงานมาประชุมวิชาการ  มีเวลาว่างได้เข้าห้างซอปปิ้ง  ได้ซื้อของ ก็เหมือนกับว่าเราได้ซื้อสินค้าที่เราชอบเพื่อเยียวยาความต้องการทางด้านจิตวิญญาณของเรา

แต่เมื่อเรานำกลับบ้าน  ก็รู้สึกผิด  เพราะสิ่งที่เราซื้อไม่จำเป็นเท่าไหร่  ของเดิมมีอยู่แล้ว  เขาไม่อยากให้ซื้อ  

เราอาจมีข้ออ้าง....  เพราะเราเหนื่อย เลยหาทางออก  Shopping   เข้า Spa นวดเท้า นวดหน้า ได้เป็นเจ้าหญิง” 

“บุคลากรทางการแพทย์ ได้ทำงานได้บุญด้วย   ได้เงินเดือนด้วย  แต่เราก็ยังไม่พอใจในชีวิต  เพราะผู้ป่วยมาใช้บริการมากเกินไป  คนมาเข้าเยี่ยมก็เครียด  ล้วนส่งผลถึงคุณภาพงานกับชีวิตไม่สมดุล เราจะทำให้งานเรามีคุณภาพอย่างยั่งยืนได้อย่างไร?

 

ระบบแปลกแยก

“บางระบบงานมีหลายช่วง  มีช่องว่าง  งานแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ  ก็ไม่รู้ นี่คืออะไร ขาดความเชื่อมโยง  ปัญหามักเกิดจากคนส่วนน้อย “คิด” คนส่วนใหญ่ “ทำ” เน้นความชำนาญเฉพาะ เน้นประสิทธิภาพและวัดผลงานเชิงปริมาณ   ซึ่งเรามักพบเห็นในส่งคม   คนคิดไม่รู้เรื่องแต่ให้เราทำ  “คิดไม่เข้าท่า” คนไม่ได้คิดแต่ต้องทำ  ทำส่วนไหนคิดมา  เช่น  ยาแลกไข่ 

 

Modern Organization and Mechanisms Management

“จะเห็นว่าสังคมให้คุณค่าของแต่ละคนแตกต่างกัน   เนื่องจากงานต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะ ถ้าทำไม่เป็นก็เป็นเบี้ยล่าง    ดังนั้นคนจึงถูกให้ค่าไม่เท่ากัน  บางคนมีค่ามาก และบางคนมีค่าน้อย นั่นเอง”

 

“แต่องค์กรสมัยใหม่มีประโยชน์ แต่ก็มีภาวะแทรกซ้อน  อยู่ที่สติปัญญาที่จะทำความเข้าใจ องค์กรเป็นเครื่องจักรกล ทำหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องเฉพาะฟันเฟืองที่ไหลเข้ามาให้เห็นนั่นเอง”

“องค์กร มีชีวิต มีมิติเดียว   แต่คน ทำตัวเป็นเครื่องจักร  ทำสิ่งเดียวหน้าที่เดียวซ้ำๆ ให้ทำงานโดยไม่ให้คิด ไม่ต้องรู้สึก  งานไม่มีคุณภาพ หรือ ความหมายมากไปกว่าการหารายได้”  

ดูตัวอย่างชาลี  แชปปริน  ขันน็อต 2 ตัวผ่านสายพาน  เขาทำบทบาทเดียว ซ้ำ ๆ  จนกลายเป็นบ้า  ทำท่าค้างไว้” 

“ปัจจุบัน  องค์กรต่างๆ  กำหนด  Safety Zone  งานแยกส่วนอย่ายุ่งกัน  งานก็ถูกแปลกแยกสลาย  ปี ๆ ก็พาบุคลากรไปทำ OD รักกัน ๆ  2 – 3 วัน  เมื่อกลับมาทำงานก็ขัดแย้งกันเหมือนเดิม”     

 “บุคลากรทางการแพทย์ก็สำคัญ  เข้าไปในชุมชน   มองใครก็ว่าเขาเป็นโรคไข้เลือดออกเพราะมียุงลาย มีหมาก็กลัวเป็นโรคพิษสุนัขบ้า”  เป็นต้น

มิติเดียว

“รัฐบาลทำให้เรามองแต่ความเป็นวิชาชีพแบบ  Professional  เป็นเหตุทำให้เรามองความสัมพันธ์คนอื่นในแง่มุมอื่นไม่เป็น   ทำงานโดยไม่ต้องคิด ให้เราทำ ไม่ต้องให้เรารู้สึกอะไร  ความเป็นเหตุเป็นผลมาก จะทำโครงการอะไรก็ต้องมีหลักการและเหตุผล   ไร้เหตุผลมากก็ไร้ความรู้สึก  ไม่อยากทำ แต่เป็นหน้าที่  ทำงานได้รายได้ไปแล้วไปแสวงหาความสุขที่อื่น”

สังคมปรนัย    

ชีวิตเราอยู่ในกรอบสำเร็จรูปจนเป็นนิสัย    กล่าวคือ    

  • แบบเรียนสำเร็จรูป
  • คำถามสำเร็จรูป
  • วิธีคิดสำเร็จรูป
  • คู่มือการทำงานสำเร็จรูป
  • ประมวลผลสำเร็จรูป
  • ชีวิตสำเร็จรูป

“ทำไมคิดอะไรมาก ทำ ๆ ไป”   เป็นการลดศักยภาพ ก่อให้เกิดการแตกแยกมากขึ้น”

“ระบบราชการ  ทำลายความคิดที่เป็นของเรา  แม่แต่ข้าราชการใหม่ก็คิดว่า  ถ้าเราเสนอความคิดแล้ว  ส่วนใหญ่มักได้รับมอบหมาย  ก็ไม่อยากคิด เพราะอาจจะเพิ่มงาน  ดังนั้นในระบบราชการจึงไม่มีโอกาสได้แสดงความคิดสร้างสรรค์เท่าที่ควร  ”  

“การแสดงนวัตกรรม  การนำเสนอผลงานต่าง ๆ ในองค์กร  แสดงว่ายังองค์กรนั้นมีความคิดสร้างสรรค์อยู่   ดังนั้น  โรงพยาบาลควรสนับสนุนให้ทำโครงการพัฒนางาน และสร้างนวัตกรรมกันเยอะๆ   เพราะความปรนัยทำให้เราทำงานโดยไม่ต้องคิด  วันหยุดหากยังไม่มีจินตนาการอะไร    ก็อาจมีการบ้านในวิชาวาดเขียน  อาจทำให้เราสามารถวาดภาพวิวที่สวยงามภาพหนึ่ง    ความปรนัยก็จะหมดไป   เพราะทำให้คนกลับมาใช้ความคิด  ความคิดสร้างสรรค์ก็เกิดสร้างสรรค์งานต่าง ๆ มากมาย”   

 

เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย

การเกิด 

“การเกิดเป็นความมหัศจรรย์ของชีวิต  เป็นความฝัน  เป็นความหวัง  เป็นการเริ่มต้น ต้องการให้เติบโตไปด้วยกัน   เป็นความรักที่ไม่มีเงื่อนไข  และท้ายสุดคือ  การเกิดเป็นจิตวิญญาณความเป็นแม่

แต่ในมุมมองของผู้ใช้บริการนั้น   การเกิด  คือ  ความเป็นแม่   ซึ่งพวกเรา ไม่เคยถามหาว่าเขาเป็นอย่างไร ลูกเขาเป็นอย่างไร  เช่น   หัวใจไม่แข็งแรง  คลอดลูกไม่ได้  เป็นคนไร้สมรรถภาพ เป็นต้น”

คนคลอด

“ระหว่างการคลอด  ผู้ป่วยต้องการญาติใกล้ชิดดูแล  และมักจะเลือกแม่ ไม่เลือกสามี  เพราะแม่มีประสบการณ์ที่ดีในการดูแลลูก  เช่น 

คุณแม่ของแม่ต้อย ( อ ดวงสมร )ให้แม่ต้อยดื่มน้ำชายผ้าถุงแม่ 

ท่านบอกว่า...จะได้คลอดลูกง่าย”  

ดังนั้นการคลอดแม้จะมีความหมายของงานเล็กๆ ที่เราสามารถทำได้ก็ต้องรีบทำ  ถ้าทำไม่ได้ก็ให้ทำเรื่องอื่น 

อาจทำเป็นโครงการ  เช่น  แม่ไม่คลอดลูกอย่างโดดเดี่ยว  หรืออาจจัดเตรียมเรื่องเล่าระหว่างรอคลอดเอาไว้ให้ก็ได้   เพราะบางทีผู้ป่วยอาจมีเรื่องน่าเบื่อ แต่ถ้าเรามีเรื่องเล่าซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น   

ซึ่งจะเห็นได้ว่า  “การคลอดนับเป็นวินาทีที่ยิ่งใหญ่ เป็นวินาทีแห่งชีวิตที่หล่อเลี้ยงภายในจิตใจมากกว่าได้ 2 ขั้นเสียอีก”

 

การแก่    

“ความแก่  เป็นปัญหาภาวะจิตใจกับความหมายเชิงลบ หรือ หมดศักยภาพ  หากแต่ การแก่ เป็นภาวะการสูงวัย   

 ซึ่งไม่ได้มีหมายความถึง ... การดูแลต้องสิ้นสุด  หรือ ขาดหายไปเป็นหย่อม ๆ เนื่องจากสภาวะทางร่างกายมีความเสื่อมไปข้างหน้า  หากแต่เราต้องจัดโอกาสให้ผู้ป่วยได้สะท้อนภูมิปัญญาและการแสวงหาคุณค่าทางจิตวิญญาณ  การฟื้นฟูและเยียวยาความสัมพันธ์ทางสังคมมีหลากหลาย  และการเตรียมตัวเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิตที่สมบูรณ์”

 

 

การเจ็บป่วย

โรค  ความเจ็บป่วย  ความทุพลภาพ

การขยายกรอบสิทธิเรื่อง...ความเจ็บป่วย

 

การตายอย่างสงบสันติ

  • การตายที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ดี
  • การตายอย่างสันติกับความอ่อนโยนต่อชีวิต
  • การตายกับความหมายของชีวิต

ดังนั้น   เกิดแก่เจ็บตาย-----จึงมีความหมายในแต่ละช่วงของชีวิต

 

 

แก้ว...

 

 

หมายเลขบันทึก: 500312เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2012 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2012 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท