R2R เป็นวิจัยเชิงศึกษาได้ไหม?


2 – 3 วันมานี้ พี่เพ็ญแข ได้รับการจุดประกาย.... อยากจะทำงานวิจัยขึ้น จากการที่ภาคเราได้รับรางวัลประกวดผลงานวิจัย ในงานประชุมวิชาการประจำปีคณะแพทย์ ครั้งที่ผ่านมา จากวารสารสายใยพยาธิ 
พี่เพ็ญมีความตั้งใจจริงค่ะ อยากจะนำความผิดพลาดที่พบทั้งหมดในหน่วยรับสิ่งส่งตรวจ ในแต่ะละวันมารวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอเป็นงานวิจัย.....
 ผู้เขียนก็ไม่ค่อยถนัดเท่าไรนัก แต่ได้ลองค้นจาก internet พบว่ายังไม่มีการศึกษา และได้ลองแนะแนวทางโดยการทำวิจัยเชิงศึกษา หรือศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผิดพลาดเป็นต้น และได้นำตัวอย่างการทำวิจัยในรูปแบบการศึกษา...หรือ ปัจจัย...ที่มีผลต่อ... จากวารสารที่ผู้เขียนมีอยู่ มาให้ดูเป็นแนวทาง.. 
อีกทั้งนายดำ ยังได้ช่วยแนะนำว่า ถ้าหากต้องการจะทำงานจริง  ๆ ต้องอ่านให้เยอะ และอาจต้องหาเวลาลองเข้าไปค้นในห้องสมุดดูบ้าง..
 การศึกษาต้องทำแบบระมัดระวัง เพราะการศึกษาแบบนี้ก็อาจก่อให้เกิดชนวนขึ่นได้ เป็นต้นว่า....ศึกษา....
  • ช่วงเวลาที่พบความผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นช่วง เช้า กลางวัน และเย็น (แบบนี้ไม่น่าจะเจ็บตัวเท่าไร) และจากการที่เราคาดเดาว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นช่วงเช้า แต่จากการที่พี่เพ็ญ รวบรวมพบว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายใน 1 เดือนกลับเป็นช่วง 11 โมง ถึงบ่าย 2 โมง ก็นับว่าผิดคาดไป แต่ก็ชักน่าสนใจขึ้นแล้วล่ะ
  • รวบรวมความผิดพลาดที่พบทั้งหมดอย่างละเอียด มารวบรวมและวิเคราะห์ 
  • นำความผิดพลาดที่ หลุด จากเรา แต่ "ไม่หลุด" ที่หน่วยอื่น ๆ มาศึกษาวิเคราะห์ด้วย เพื่อเป็นการแสดงเจตนาบริสุทธิ์ใจ ศึกษาเขา ศึกษาเรา
  • การศึกษา ต้องอย่าหาว่าใครถูก หรือผิด เป็นอันขาด แต่ต้องค้นหาสาเหตุและความเป็นไปได้ในการแก้ไขความผิดพลาด
 

การศึกษาคงเป็นแบบ Retrospective ใช้ระยะเวลาย้อนหลังสักประมาณ 1 ปี

 ไม่ทราบว่าใครพอมี Idea ดี  ๆ อีกบ้างค๊ะ

 แต่จะว่าไปการศึกษาโดยนำ ปัญหา ที่เกิดขึ้นมาทำเป็น วิจัย

แม้ในเชิงศึกษา ก็น่าจะเป็น “R2R” ได้ ?   

หมายเลขบันทึก: 50021เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2006 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
โป๊ะเช๊ะ  ใช่เลยครับ นี่เป็นอีกตัวอย่างของการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้ว มาจัดหมวดหมู่ให้เป็นกลุ่มใหม่ ที่น่าสนใจขึ้น แล้วตอบคำถามได้ชัดเจน ตรงประเด็น
ลองค้นข้อมูลดูว่ามีที่ไหนเขาทำงานลักษณะที่ใกล้เคียงนี้หรือเปล่า ถ้ามีก็เอามาเทียบเคียงดูว่าเราจะจัดกลุ่มข้อมูลเหมือนเขาหรือไม่เพื่อให้เปรียบเทียบกันได้ แต่ถ้าไม่มี ก็คิดขึ้นเองเลยครับ ว่าจะจัดกลุ่มอย่างไรจึงจะเหมาะสม
อาจทำในลักษณะเก็บข้อมูลในภาพรวม แล้วนำเสนอในภาพรวม อย่างเช่น ข้อผิดพลาดที่พบย้อนหลังไป 1 ปี หรือจะทำในลักษณะเปรียบเทียบกับข้อมูลปีอื่นๆ อย่างเช่นย้อนหลังไป 2-3 ปี ดูว่าแตกต่างหรือไม่ หรืออาจจะทำย้อนกลับไปหลายๆปี เพื่อใช้บอกแนวโน้มในอนาคตก็ได้ ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด
ยินดีด้วยครับ กับโครงการใหม่ ใสปิ๊งเชียว
ลองดูตัวแปรที่จะใช้ในการนำเสนอ ว่ามีอะไรน่าสนใจมั้ย ไม่ว่าจะเป็น
  • ward/คลินิก
  • เวลาในการส่ง
  • ข้อผิดพลาดที่พบ
  • ความร้ายแรงของข้อผิดพลาดเหล่านั้น
  • lab ไหนที่มักถูกส่งผิด
  • อื่นๆ
หรืออาจจะ crosstab ข้อมูลดูว่าตัวแปรเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
โปรเจ็คนี้น่าสนใจครับ แล้วจะคอยติดตามความก้าวหน้านะ
     เวลาเปรียบเทียบข้อมูล อย่าลืมคำนวณค่า p-value ออกมาด้วย ข้อมูลลักษณะนี้มักใช้ค่าทางสถิติเป็น chi square แล้วหาค่า p-value ของค่า chi square
     เริ่มดูเหมือนยากแล้ว แต่จริงๆ ไม่ยากครับ
      ลองรวบรวมข้อมูลใส่ใน file excel ให้ colume คือ ตัวแปรที่เราสนใจ แล้ว row คือ record ที่เราบันทึกไว้ โดยให้ 1 record บันทึกไว้เพียงแถวเดียว
     จากนั้นหิ้ว file นี้ไปปรึกษาอาจารย์ปารมี หรืออาจารย์สมรมาศครับ
     ใช่ไหมครับอาจารย์ ?

คุณ mitocondria แบบนี้เขาไม่เรียกว่า "มวยวัด" แล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

จากประกายเปลวเทียนเล็ก  ๆ ตอนนี้เป็นประกาย "เพลิง" แล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ ให้พี่เพ็ญมาอ่านแล้วด้วยค่ะ

การทำงานวิจัยที่ผลของข้อมูล อาจมีผลกระทบต่อหน่วยงานอื่น อาจต้องทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทำได้ค่ะ แต่คงต้องเลือกจุด และ ตั้งคำถามให้ดี ที่ก่อให้เกิดผล win-win 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท