จัดกลุ่มข้อมูล อีกแนวทางในการทำงานวิจัย


การจัดกลุ่มข้อมูลที่เรามีอยู่ใหม่ คัดเลือกกลุ่มที่น่าสนใจ ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกในการเขียนงานวิจัย แบบ R2R แบบที่ไม่ต้องไปทำ experiment ใหม่
     ผมเคยเล่าให้ฟังว่า ในหน่วยงานของผม อุดมไปด้วยข้อมูลที่มากมายเหลือเกิน พวกเราก็เดินเข้าออกในหน่วยงาน ผ่านข้อมูลเหล่านี้ ถ้าถามว่ารู้มั้ยว่า วันๆทำอะไรไปเท่าไหร่บ้าง ทุกคนตอบได้ อย่างเช่น
  • เดือนนี้ตรวจโรคเอดส์ไปกี่ราย ได้ผลบวกกี่ราย
  • ปีก่อนทั้งปีตรวจไวรัสตับอักเสบไปกี่ราย มีผลบวกกี่ราย
  • แต่ละเดือนที่ผ่านมามีไข้เลือดออกเพิ่มขี้นมากน้อยขนาดไหน
  • ปริมาณแอลกอฮอล์ในผู้ป่วยที่ส่งมาในแต่ละปีแตกต่างกันมั้ย
  • ผู้บริจาคเลือดมีผลการตรวจ ไวรัสตับอักเสบบี และ ซี แตกต่างกันหรือไม่ในแต่ละปี
  • แนวโน้มของปริมาณน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเป็นอย่างไร ในแต่ละปี
  • อื่นๆ อีกมากมาย
     ข้อมูลเหล่านี้ลอยไปลอยมาในอากาศ ถามว่าจะเอามาใช้เขียนงานวิจัยได้ไหม ตอบเลยครับว่าได้ แต่คุณต้องจัดหมวดหมู่ของข้อมูลให้น่าสนใจ และมีความถูกต้องของระเบียบวิธีวิจัยก่อน ไม่ใช่การกวาดใส่ถุงแล้วก็นำมาแร่ขาย แต่คุณต้องคัดแยกของในถุงออกเป็นกองๆ แต่ละกองมีประเภทของมัน แล้วค่อยนำเสนอออกมา
    ผมยกตัวอย่างงานที่ผมทำไปแล้วดีกว่านะครับ จะได้มองเห็นภาพต่างๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น
     การตรวจไวรัสตับอักเสบ บี เป็นเรื่องปกติในห้องปฏิบัติการอยู่แล้ว ถ้าถามว่ากลุ่มตัวอย่างตรวจเป็นใครบ้าง บอกได้เลยครับว่าสารพัด แล้วแต่หมออยากจะส่ง ตั้งแต่คนที่เป็นตับอักเสบ มีอาการทางตับ มาตรวจสุขภาพ มาฝากครรภ์ จะฉีดวัคซีน หรือแม้แต่กระทั่งเพื่อนบอกให้มาตรวจ ผลการตรวจเหล่านี้มันก็จะกองๆ รวมกันอยู่ในถุง ซึ่งเอาไปใช้ประโยชน์ได้ค่อนข้างน้อย เพราะในงานวิจัยจะต้องสามารถกำหนดเฉพาะเจาะจงลงไปได้ว่า ผลอะไร ของกลุ่มไหน เป็นอย่างไร เป็นต้น ทีนี้เมื่อเราแยกเป็นกลุ่มแล้ว เราก็มาคัดเลือกดูได้ว่ากลุ่มไหนน่าสนใจจะนำเสนอ
     ในที่นี้ผมเลือกเฉพาะกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ณ คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นตัวแทนของคนปกติทั่วไป แล้วมาดูว่า ความชุกของการพบ HBsAg positive เป็นอย่างไร แยกกลุ่มอายุของหญิงฝากครรภ์เหล่านั้นเปรียบเทียบกันซิว่า กลุ่มอายุขนาดไหน มีความชุกแตกต่างกันหรือไม่ ข้อมูลอาจเป็นเพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่งก็ได้ แต่ผมคิดว่าถ้าจะให้สมบูรณ์กว่านั้น ก็น่าจะนำเสนอข้อมูลย้อนหลังกลับไป 10 ปี เพื่อให้สามารถบอกแนวโน้วได้ ว่าความชุกของ HBsAg ในหญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มเป็นอย่างไร
     ลองดูตัวอย่างข้างล่างนี้นะครับ อาจจะเข้าใจเพิ่มขึ้น

<div>     ดังนั้นการจัดกลุ่มข้อมูลที่เรามีอยู่ใหม่ คัดเลือกกลุ่มที่น่าสนใจ ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกในการเขียนงานวิจัย แบบ R2R แบบที่ไม่ต้องไปทำ experiment ใหม่ </div>

หมายเลขบันทึก: 50015เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2006 07:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คุณ Mitochondria คะ

นอกจากเราจะทำการศึกษาย้อนหลังแล้ว กะปุ๋มว่าเราน่าจะนำมา...ทำเป็น predictive ด้วยก็น่าจะดีนะคะ...ทำนายถึงอุบัติการณ์...เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์แนวโน้ม...และวางแผนต่อการเตรียพร้อม...หรือว่าอย่างไรดีคะ...

จริงๆ...เรามีอะไรน่าเล่น น่าทำ น่าใฝ่รู้หาคำตอบได้เยอะนะคะ....กะปุ๋มชักรู้สึกสนุกไปด้วยแล้วสิ...

*^__^*

กะปุ๋ม

 

 

     การศึกษาแบบ ย้อนกลับ หรือ retrospective นั้นในห้องแล็บมักจะทำได้ง่ายเพราะข้อมูลมีอยู่แล้ว แต่สำหรับหน่วยงานภายนอกที่ไม่ได้เก็บข้อมูลไว้ ก็อาจจะใช้วิธีการให้ตอบแบบสอบถาม หรือว่าสัมภาษณ์ก็ได้ ซึ่งวิธีการนี้มีข้อจำกัดเหมือนกัน เนื่องจากถ้าจะถามว่าเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว คุณสูบบุหรี่กี่ซอง การตอบก็คงเป็นเพียงแค่ค่าประมาณ ดังนั้นการใช้ข้อมูลแบบ retrospective จึงมีข้อจำกัดในการใช้ แต่ไม่ได้มีข้อจำกัดในการเขียน คนที่จะนำข้อมูลไปใช้จึงควรต้องระวังหลุมพลางเหล่านี้ไว้ด้วย

     ส่วนการศึกษาไปข้างหน้า หรือ prospective จะช่วยลดปัญหาเรื่องเหล่านี้ลงไปได้พอสมควร แต่การศึกษาแบบนี้มักต้องใช้เงินสูง ใช้เวลาในการเก็บตัวอย่างมากกว่า เพราะเหมือนต้องเริ่มต้นเก็บต้วอย่างกันใหม่หมด แต่ข้อมูลที่ได้ก็มีความถูกต้องมากขึ้น

     จะออกแบบการทดลองเป็นแบบไหนก็ได้ครับ แล้วแต่ความเหมาะสม ขอเพียงแต่เริ่มต้น นับ หนึ่ง เท่านั้นครับ แล้ว สอง สาม สี่ ห้า ก็จะตามมา ถ้าไม่เริ่มนับหนึ่ง แล้วเราจะมี สิบ ยี่สิบ ได้อย่างไร ของพวกนี้ฟังดูเหมือนยุ่งยาก แต่จริงๆแล้ว ไม่ยุ่งหรอกครับ ใหม่ๆ ก็ไม่ต้องไปสนใจมันมาก ขอเพียงให้หาคำถามวิจัยให้ได้ก่อน เรื่องพวกนี้ใช้วิธีปรึกษาผู้รู้ หรือว่ามี ทีมงาน support ช่วยเหลือ แล้วค่อยเรียนรู้จากทีมงาน ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ก็จะได้ทั้งผลงานวิจัย และความรู้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ขอเพียงมีความสนใจจริง ใฝ่รู้ และตั้งใจที่จะรู้อย่างจริงจังเท่านั้นเอง

  • เยี่ยมเลยครับ
  • นึกว่าอดอ่านเรื่องแล้วครับ
  • ขอบคุณมากครับผม
ขอบคุณครับ คุณขจิต ที่แวะเข้ามาทักทาย คิดถึงคุณขจิตเหมือนกันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท