Happy Ba สดใส สุขใจ ในสมดุลแห่งชีวิตและการงาน


การสร้างความรู้เป็นกระบวนการทางสังคม คือ เกิดจากการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คน และ ความรู้ ๒ ประเภท เรามักคุ้นเคยกับความรู้ที่อยู่ในตำรา ตามทฤษฎี ซึ่งเป็นความรู้แจ้งชัด Explicit Knowledge แต่รู้จักหรือให้ความสำคัญกับความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน Tacit Knowledge น้อยมาก

Happy Ba สวัสดีค่ะทุกท่านที่สนใจร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันใน “การสร้างพื้นที่ความสุข” ที่คุณศิลาและผู้เขียนซึ่งร่วมกันดำเนิน โครงการองค์กรสุขภาวะด้วยการพัฒนาตนเองจากภายในและการสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรียกสั้นๆว่า Happy Ba

ผู้เขียนปล่อยให้คุณศิลาวุ่นอยู่คนเดียวพักใหญ่ด้วยภารกิจและสุขภาพสายตากว่าจะได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เห็นว่ามีหลายท่านที่สงสัยว่า Ba นั้นคืออะไร งาน หรือ กิจกรรมที่ทำอยู่เข้าเกณฑ์ Happy Ba ไหม

ขอช่วยตอบเป็นการย้ำและเสริมคุณศิลาที่ได้ตอบไปแล้วค่ะ ว่าหากสิ่งที่ทำแล้วมีประโยชน์เกิดความสุขก็ใช่ทั้งนั้น อาจเป็นขั้นเริ่มต้นสร้างความสุขกับตนเองแล้วค่อยๆขยายพื้นที่ หรือ เป็นสิ่งที่ทำอยู่แล้วเป็นกิจกรรมจะกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ ก็ใช่ทั้งนั้น ทำแล้ว คนสำราญ งานสำเร็จ เป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง ทุกคนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติไปด้วยกัน ร่วมทุกข์ ร่วมสุขกัน เชื่อมโยงทุกใจ ทุกความรู้ของแต่ละคน กลุ่มหรือองค์กรเติบโต พร้อมกับที่ผู้ปฏิบัติงานก็เติบโตทางปัญญา นับวันยิ่งเชี่ยวชาญ ลุ่มลึกในสิ่งที่ทำ สามารถสร้างประโยชน์ได้มากขึ้น

ผู้เขียนจะขอกล่าวถึง Happy Ba โดยแยกอธิบายทีละคำ โดยเริ่มที่ Ba ก่อน

 Ba  ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า Place หรือ สถานที่ นี้ไม่ได้มาเดี่ยวๆ และก็ไม่ได้มีความหมายตื้นๆแค่เป็นสถานที่ที่กิจกรรมบังเกิดและดำเนินไป แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมาคู่ เคียงไปด้วยกันกับ การสร้างความรู้ตามวิธีการแบบ SECI ซึ่งเป็นแนวคิดของ ปรมาจารย์ชาวญี่ปุ่นชื่อ ศาสตราจารย์ อิคุจิโร่ โนนากะ  ท่านโนนากะ นี้ได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 20  (Top 20) ด้านการเป็นนักคิดที่ทรงอิทธิพลทางธุรกิจ จากการจัดอันดับของ Wall Street Journal เมื่อปี 2008 เป็นชาวเอเชียคนเดียวท่ามกลางฝรั่งค่ะ

ที่จริงแนวคิดเรื่อง บา (จะออกเสียงสั้นหรือยาวก็ตามสะดวกนะคะ)นี้ เริ่มต้นมาจากนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงมากของญี่ปุ่น คือ คิทาโร่ นิชิดะ Kitaro Nishida   และ ชิมิทซุ Shimitzu ได้นำมาพัฒนาต่อ เราอย่าไปรู้ลึกเลยนะคะว่าคิดมาได้อย่างไร เอาเป็นว่า ท่านโนนากะ เห็นแล้วปิ๊ง เลยเอามาปรับ ด้วยวัตถุประสงค์ในการนำมาอธิบายขยายความ SECI Model ในการสร้างความรู้ หรือ Knowledge Creation ได้แจ่มแจ้งแทงตลอด

พูดง่ายๆ SECI Model  มาแล้วต้องมี บา Ba รองรับ มิฉะนั้นก็จะไม่เข้าใจถ่องแท้ถึงปัจจัยและสภาวะเหมาะสมที่ ความรู้ใหม่ จะถูกสร้างขึ้น เพราะความรู้ใหม่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นในสุญญากาศ ดังนั้นจึงขอเล่าคร่าวๆถึงกระบวนการเซกิ สักนิด

ปรัชญาพื้นฐานของญี่ปุ่นให้ความสำคัญอย่างยิ่งของบุคลิกโดยรวมทั้งหมดของบุคคล ไม่ใช่แค่การคิดและหาเหตุผล หากแต่ต้องลงมือปฏิบัติด้วยกาย กายกับใจนั้นเป็นหนึ่งเดียวกัน เช่น ซามูไรถือว่าการทำจริง A man of action นั้นสำคัญ และ โนนากะยังเชื่อมั่นว่า ความรู้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ ค่านิยม รวมถึงการคาดการณ์และการหยั่งรู้ด้วยความรู้สึก

องค์กรไม่เพียงบริหารจัดการความรู้ แต่ยังสร้างความรู้ ขึ้นมาด้วย และ ที่สำคัญ ทุกคน ในองค์กรนั้นมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ เมื่อได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติย่อมทำให้เกิดความรู้ ความชำนาญในตนเองมากขึ้น เป็น ปัญญาปฏิบัติ จึงให้ความสำคัญกับ ความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน หรือ Tacit Knowledge ซึ่งบางคนอาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่าสิ่งที่ตนทำอยู่ทุกวันนั้นมีตัวความรู้อย่างที่เรียกว่า ใครทำใครรู้ ต้องให้มีคนมาซัก มาถาม หรือให้เล่าสิ่งที่ตนทำออกมาเป็นคำพูด

การสร้างความรู้เป็นกระบวนการทางสังคม คือ เกิดจากการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คน และ ความรู้ ๒ ประเภท เรามักคุ้นเคยกับความรู้ที่อยู่ในตำรา ตามทฤษฎี ซึ่งเป็นความรู้แจ้งชัด Explicit Knowledge แต่รู้จักหรือให้ความสำคัญกับความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน Tacit Knowledge น้อยมาก

ในกระบวนการสร้างความรู้จะใช้ความรู้ทั้งสองประเภทควบคู่กันไป เมื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์ความรู้จะเกิดการเปลี่ยนกลับของลักษณะความรู้ในทุก ๔ ขั้นตอนและหมุนเป็นเกลียวขยายออกไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า เกลียวความรู้ Knowledge Spiral

มีกระบวนการ ๔ ขั้นตอน ที่จะหมุนเกลียวความรู้ได้

  • Socialization การมีโอกาสพบกัน และรู้สึกได้ว่ามีบางอย่างร่วมกัน หรือมีจุดหมายร่วมกัน พบกันในพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย สะดวก สบาย

(ความรู้ในตัวคน ยังเป็นความรู้ภายในตัวคนอยู่ ยังไม่มีการใช้ภาษาพูดกันในขั้นนี้)

 

  • Externalization การเปิดใจแบ่งปัน ความรู้ ความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ที่มีอยู่ภายในของแต่ละบุคคล โดยเผยออกมาให้ปรากฏเป็นที่รับรู้ได้ ใช้สุนทรียสนทนา และ การฟังอย่างลึกซึ้ง

(ความรู้ในตัวคน ถูกทำให้ปรากฏออกมาเป็น ความรู้แจ้งชัด)

 

  • Combination การนำความรู้หลากหลายที่ได้ และการไขว่คว้าหาเพิ่มเติมให้พอแก่การใช้งาน มาช่วยกันเชื่อมโยงจัดระบบและเชื่อมโยงสมาชิกทุกคนให้เข้าถึงความรู้นี้เพื่อนำไปใช้งานได้

(ความรู้แจ้งชัด ถูกจัดระบบ ยังคงเป็น ความรู้แจ้งชัด)

 

  • Internalization การลงมือปฏิบัติตามแนวทางความรู้ที่ถูกจัดระบบให้ เมื่อลงมือปฏิบัติก็จะเกิดการเรียนรู้ แต่ละคนก็จะสะสม เพิ่มพูน ปัญญาปฏิบัติ เกิดชุดความรู้ใหม่ทุกครั้งเมื่อครบวงจรที่เกลียวความรู้ได้หมุนไปตามกระบวนการ เป็นพลังความรู้ความชำนาญขององค์กร และ ของแต่ละบุคคลที่จะซึมซับความรู้เข้าไว้ภายในตนไม่เท่ากัน

(ความรู้แจ้งชัด เมื่อนำไปปฏิบัติ กลายเป็น ความรู้ในตัวคน)

(SECI Model by Nonaka and Takeuchi)

ปรมาจารย์โนนากะ กล่าวว่าผู้คนที่ร่วมกระบวนการทั้ง ๔ นี้ เป็นการร่วมพื้นที่เดียวกัน Shared Space เป็นบริบท Context เพื่อให้ความสัมพันธ์ของแต่ละบุคคลในกลุ่มบังเกิดขึ้นและงอกงามด้วยความรัก ความไว้ใจ ความมุ่งมั่นที่จะฝ่าฟันไปให้ถึงจุดหมายที่มีร่วมกัน พื้นที่จึงต้องเป็นพื้นที่ที่มีพลวัต ไม่หยุดนิ่ง In motion/dynamic เหมาะสมจะบ่มเพาะความรู้และความรู้สึกให้เติบโต งอกงามดี ออกดอกออกผล

 

Ba เป็นเวที หรือ platform ที่แต่ละคนจะมีโอกาสพัฒนาความรู้ของตนเอง และความรู้ร่วมกันของกลุ่ม Collective Knowledge

มี  Ba  ๔ ชนิด ที่สอดคล้องตามวงจรเซกิ

Socialization --> Originating Ba เป็นพื้นที่แห่งการก่อกำเนิด เป็นสถานที่ หรือ พื้นที่ที่ผู้ร่วมวัตถุประสงค์เดียวกันได้มาพบกัน โดยหลักการก็คือ เป็นบริบทที่คนจะมาพบปะแสดงตนว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีเป้าหมายร่วมกับกลุ่ม เกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ (Sympathy &  Empathy) สลายกำแพงแบ่งกั้นระหว่างตนเองกับผู้อื่น เป็นได้ทั้งการมาพบกันแบบ Face to Face หรือ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการติดต่อสื่อสารผ่านโลกไซเบอร์ที่สามารถลดข้อจำกัดด้านระยะทาง

Externalization --> Interacting Ba เป็นพื้นที่ที่การปฏิสัมพันธ์จากการเปิดใจถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึก ประสบการณ์ของตนให้ผู้อื่นได้ร่วมรับรู้ และยังร่วมรับรู้ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ของผู้อื่น นำมาวิเคราะห์และสะท้อนร่วมกับสิ่งที่ตนได้แบ่งปัน เกิดการสร้างความหมายและคุณค่าของสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สุนทรียสนทนา และ การฟังอย่างลึกซึ้ง เป็นหัวใจของบริบทนี้

Combination --> Systemizing Ba/ Cyber Ba เป็นพื้นที่ที่จะเกิดการรวบรวมความรู้แจ้งชัดที่ทุกคนในกลุ่มแสดงออกมา รวมถึง ความรู้อื่นใดจากแหล่งอื่นๆ นำมาจัดระบบ เชื่อมโยง และให้ทุกคนสามารถเข้าถึง ปัจจุบันเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการกระจาย สื่อสาร เชื่อมโยงสมาชิกทุกคน เช่นการใช้ online network, group ware เอกสาร ฐานข้อมูลผ่านระบบ internet, intranet

Internalization --> Exercising Ba เป็นพื้นที่แห่งการปฏิบัติด้วยตนเอง เกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำ Learning by doing เกิดการขัดเกลาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยได้ทักษะ ความชำนาญจากการปฏิบัติงานของตนและการปฏิบัติร่วมกับกลุ่ม

แม้ว่าจะมีการแบ่งประเภทของ Ba แต่การเกิดของ Ba ก็เลื่อนไหลสู่กันแบบไม่มีเขตแดน เช่นเดียวกับกระบวนการเซกิ ที่พอเริ่มต้นก็เคลื่อนตัวไปตามเหตุ-ปัจจัย บางครั้งรวดเร็วจนแทบแยกไม่ออก เราจึงไม่ควรไปซีเรียสโดยพยายามแยกแยะกิจกรรมที่ตนทำอยู่ว่าอะไร เป็นขั้นไหน ขอเพียงว่าตระหนักรู้ว่าหากจะทำงานให้สำเร็จโดยการร่วมมือร่วมใจของทีมงานเราควรคิดถึงอะไร เราควรสร้างสภาพแวดล้อมหรือบริบทอย่างไรเพื่อส่งเสริมให้ทุกคนทำงานไปอย่างมีความสุข

เมื่อได้พบปะกับกลุ่มหรือคนอื่นๆอีกครั้งก็จะเริ่มวงจรของกระบวนการสร้างความรู้ พื้นที่ที่เหมาะสมก็ถูกสร้างขึ้นอีกคู่กัน และ เกลียวความรู้ก็หมุนเคลื่อนต่อไปไม่รู้จบ

 

ปัจจัยมนุษย์นั้นถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำงานให้สำเร็จได้ การทำ KM แนวทางนี้เป็นอย่างที่สถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคมเรียกว่า Human KM และท่านโนนากะใช้คำว่า Knowledge-based Management หรือการบริหารจัดการโดยการใช้ความรู้เป็นฐาน นั่นคือ ใช้ความรู้ทั้งสองประเภท คือ ความรู้แจ้งชัด และ ความรู้ฝังลึกในตัวคน อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ฝังลึกที่อยู่ในตัวคนนั้นมีคุณค่า การให้ทุกคนในกลุ่มหรือในองค์กรมีโอกาสแบ่งปันความรู้ความชำนาญของตนให้เกิดประโยชน์ในงานจึงเป็นการยอมรับคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน ไม่แบ่งแยกชั้น วรรณะ หรือระดับการศึกษาว่าต้องเรียนมาสูงแล้วต้องฉลาดกว่าคนที่เรียนมาน้อยกว่า

แม้ว่าการทำงานท่ามกลางความหลากหลายของคน ของความคิด จะทำให้เกิดความเห็นต่าง เกิดปัญหา เกิดความขัดแย้งมากบ้าง น้อยบ้างตามสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กร แต่หากเราปรับมุมมองใหม่และหาวิธีการทำงานใหม่ สิ่งดีๆนั้นรออยู่ หลายองค์กรมีบทพิสูจน์ความสำเร็จให้เห็นมากมาย ต้องไม่ลืมว่าด้วยความแตกต่างนั้นเองที่สามารถสร้างสิ่งใหม่ที่มีประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการสนธิพลัง(Synergy)

อย่าเพิ่งเครียดนะคะกับข้อมูลความรู้แจ้งชัด มีหลักการตามตำราที่นำมาเล่าสู่กันนี้ แค่รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามค่ะ ขอฝากคำกล่าวของใครไม่ทราบที่ได้พบแล้วชอบมากจนต้องจดไว้ ขออภัยที่ไม่ได้จดชื่อมา

Happiness is not the absence of conflicts,

but the ability to cope with it.

 

หมายเลขบันทึก: 499542เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2012 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

...

มีกี่สายความรู้วิ่งคู่ขนาน
จะพบพานกันเมื่อใดใครใคร่รู้
วิ่งเป็นเกลียวกี่ระลอกออกไปสู่
เป็นความรู้ที่ใช้งานทุกวันคืน

เลือกปิดหูปิดตาและปิดปาก
ทำงานมากทำงานน้อยค่อยค่อยฝืน
จักแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ยั่งยืน
ยิ้มระรื่น Happy Ba อ่ะ ... สวัสดี

...

เมาหัวขนาด ... ขออนุญาตอยู่้น้ำตื้นนะครับพี่นุช

น้ำลึกเชิญท่านอื่นนำหน้าไปก่อน 555

วงจรของ Happy Ba นำพาผู้คนหลอมรวมเป็นสายสัมพันธ์แห่งอุดมปัญญาและกัลยาณมิตรนะคะ..

ขอบคุณHappy Baค่ะพี่นุช

หนูรีนำความสุขที่ดื่มได้มาฝากค่ะพี่

เข้าใจแล้ว เข้าถึง แล้ว ที่เหลือ ต้องพัฒนา Happy Ba ต่อไป ขอบคุณนะครับ

     ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่เกี่ยวกับ Happy Ba ค่ะ ลึกซึ้งนะคะ คงต้องค่อยๆ เรียนรู้ไป และถ้าได้ลงมือปฏิบัติจริงคงจะเข้าใจไ้ด้ลึกซึ้งขึ้น

ผมแอบใส่ คำสำคัญ...Happy Ba ....หลายบันทึกครับ...เป็นคำลึกซึ้งมากครับ...จนแอบจะตัดออกครับ...แต่อาจารย์ศิลาก็ตามไปให้กำลังใจ....ตอนนี้อ่านบันทึกนี้พอเข้าใจขึ้นบ้าง....ถ้าคิดว่าเป็น Happy Ba ...ก็เป็น Happy Ba ..นะครับ

Happy Ba สวัสดีค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn อ้าว ! เมาหัวไปซะแล้ว ใจเย็นๆค่ะ เห็นความสุขที่ดื่มได้ของน้องหนูรีน่าจะแก้อาการได้ ดื่มไปก่อน

...เลือกปิดหูปิดตาและปิดปาก... งั้นก็แปลว่ากระแสจิตแรงน่ะซีคะถึงยังคงลปรร.ได้อยู่ เทคนิคพิเศษ สอนกันบ้างนะคะ ^___^

ช่างแต่งกลอนจริงๆ ความสามารถโดดเด่น ขอบคุณค่ะที่มอบคำกลอนที่ลุ่มลึกเห็นภาพ

กระแสจิตแรงเลยล่ะ พี่นุช Blank ยุวนุช 555

ขอบคุณครับพี่ ;)...

  • พี่นุชครับ
  • มาเชียร์ Happy Ba ครับ

ขอบคุณพี่ใหญ่นาง นงนาท สนธิสุวรรณค่ะที่ให้กำลังใจเสมอ

ดีใจที่ได้ทำโครงการนี้กับกัลยาณมิตรG2Kค่ะแค่เริ่มต้นก็เต็มไปด้วยความเบิกบานนะคะ

นอกจากเครื่องดื่มจะดูน่าชื่นใจดับกระหายยามร้อนได้ยอดเยี่ยมแล้วน้องหนูรี ยังนำเสนออย่างสวยงาม หากได้นั่งดื่มด้วยกันคงแสนสุขใจนะคะ Happy Ba!

ขอบคุณค่ะอาจารย์ชยันต์ เพชรศรีจันทร์ ที่มาช่วยให้Happy Ba มีพลัง ยิ่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันยิ่งงอกงามทั้งความรู้และมตรภาพค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ผศ. วิไล แพงศรี รู้สึกเช่นกันค่ะว่าแนวคิดของท่านโนนากะนี่ลึกซึ้งคงเป็นเพราะมีรากฐานบนปรัชญาแนวตะวันออก จะค่อยๆนำเสนอต่อไปค่ะ

ที่จริงส่วนมากเราก็ทำอยู่แล้วแต่ไม่ได้พิจารณาลึกซึ้งว่ากว่างานสักชิ้นหรือสักโครงการจะสำเร็จลงมีปัจจัยสำเร็จอะไรบ้าง ระหว่างทางมีความงดงามอะไรเกิดขึ้นบ้างแล้วนำกระบวนการมาพูดคุย มาขยายผลวิธีการปฏิบัติงาน Happy Ba ตั้งใจจะเป็นเวทีที่ชวนกันมาลปรร.เรื่องเหล่านี้ค่ะ

ดีใจที่คุณทิมดาบเห็นว่าบันทึกนี้ช่วยให้ความกระจ่างขึ้นได้บ้าง เชื่อมั่นค่ะว่างานของคุณหมอนั้นเป็น Happy Ba อะไรที่ตั้งใจดี ทำเพื่อประโยชน์และความสุขของผู้คน ย่อมเป็นพื้นที่ความสุข สบายๆกับการใช้คำนี้ได้เลยค่ะ กิจกรรมHappy Ba ช่วงนี้ก็ต้องการให้แต่ละท่านพิจารณาแบบreflect ว่างานที่ทำๆไปแล้วหรือกำลังทำนั้นมีมิติความสุขอยู่ด้วยจะได้ยิ่งมีพลังในตัวเองเพิ่มขึ้นและได้ให้กัลยาณมิตรมาเสริมพลังด้วย

แรงจริงๆค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn พี่ตั้งใจตอบความเห็นทั้งหมดช่วงเช้า ตั้งท่าอย่างดี ตอบอาจารย์ได้คนเดียว อินเทอร์เน็ตรุ่งริ่งไปอีกแล้ว โดนกระแสจิตจากอาจารย์นี่เอง ^_____^

ขอบคุณอาจารย์ขจิต ฝอยทอง ที่มาเชียร์ค่ะ งานของอาจารย์เต็มไปด้วย Happy Ba มีเวลาก็มาร่วมวงกันนะคะ

อบคุณทุกท่านที่มาให้กำลังใจนะคะ ซาบซึ้งกับดอกไม้ที่มามอบให้ ได้เต็มแจกัน ^__^แค่ได้เห็นว่ามาเยี่ยมมาเยือนก็ดีใจมากๆเลยล่ะค่ะ

มาเรียนรู้ค่ะ พร้อมนำนกสีชมพูสวนจากต้นตะขบใกล้บ้านมาแจมด้วยค่ะพี่นุช

ขอบคุณค่ะ :)

 

พี่นุชคะ

ขอส่งแรงใจให้ทีมงาน หากมีอะไรที่หนูพอช่วยได้ รบกวนพี่นุชแจ้งให้ทราบได้เลยนะคะ ^__^

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆที่นำมาแบ่งบันนะค่ะ

เจ้านกน้อยสีชมพูสวนนี้คุณปริม...ปริม pirimarj... เก็บภาพได้สุดยอดมากค่ะ ดูๆแล้วหน้าตาเป็นนกต่างประเทศ^___^นะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณน้องมะปราง มะปรางเปรี้ยว มากค่ะ

ทำงานใหม่ให้สนุกและมีความสุขนะคะ คิดถึงเสมอค่ะ

ขอบคุณคุณnoktalayค่ะ ได้ยินแต่ชื่อ ไปถิ่นใต้ก็หลายครั้ง ยังไม่ได้พบกันสักทีนะคะ

ขอบคุณคุณ04 อภิญญา ผาไชย เช่นกันค่ะที่มาร่วมวงด้วยกัน

มาทวนพรวนความคิดในเรื่องBa เพราะทำไปทำมา พูดคำนี้หลายหนเข้า คน(หัวหน้า) ที่ทำงานถามว่า บา อะไร

เพราะผมแจ้งไปว่าจะไปคุยเรื่อง บา ที่อยุธยา ได้เห็นคำว่า Ba หนแรกเมื่อ ปี50 จากบทนำในหนังสือ"ปริศนาแห่ง

ภูมิปัญญาท้องถิ่น" ของคุณนายนุชครับ

หนูชอบคำคมนี้ค่ะ

Happiness is not the absence of conflicts, but the ability to cope with it.

ขอบพระคุณค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท