หาปูในลำห้วย


ออกไปเที่ยวในป่าทีไร มีของกินกลับมาทุกที แต่ไม่ได้เสียตังก์สักกะบาทค่ะ

  วันนี้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เป็นฤดูปลูกข้าวไร่ของชาวบ้าน น้อง ๆ บ้านรังบี้มักจะชวนให้ไปช่วยชาวบ้านปลูกข้าวไร่เสมอ แต่ต้องจัดการงานของตัวเองให้เรียบร้อยก่อน จริง ๆ ไม่ได้ไปช่วยหรอกค่ะ ไปเป็นภาระให้น้อง ๆ มากกว่า เดินก็ช้า ทางชันมาก น้อง ๆ ต้องรอ ของที่แบกไป เช่น ขนม น้ำ น้อง ๆ รับอาสาแบกให้หมด ที่สำคัญคือพักบ่อยมาก เดินได้ประมาณสิบเมตร พี่ ๆ พักอีกล่ะ น้องๆก็ต้องนั่งรออีก น่าจะเรียกว่าไปถ่วงมากกว่าไปช่วยค่ะ...

   ความสุขเกิดขึ้นเสมอเมื่อทำกิจกรรมกับชาวบ้าน กับน้อง ๆ มีเรื่องเล่าให้แลกเปลี่ยนพูดคุยกันเสมอ  ตัวอย่างเช่น

    พี่ ๆ ค่ะ ต้นไม้ต้นนี้บ้านพี่เรียกว่าอะไร บ้านหนูเรียกอย่างนี้นะ เอายอดมาทำเป็นอาหารอะไรได้บ้าง น้อง ๆ ก็จะสาธยายมายาวเลย แล้วน้อง ๆ ก็จะถามกลับว่า ที่หนูเล่าไปเมื่อกี้ พี่จำได้ไหม เล่าให้หนูฟังอีกทีสิ พี่ ๆ ของน้อง ๆ ก็จะเล่าถูกบ้าง ผิดบ้าง ทุกคนก็จะพากันแก้ไขให้ถูกและหัวเราะกันสนุกสนาน (พี่ ๆ แอบนึกในใจ เดี๋ยวเถอะ กลับไปถึงโรงเรียนจะบอกให้ครูสั่งงานให้เลย ฮ่า ๆ)

   สำหรับวันนี้หลังจากปลูกข้าวไร่กันเสร็จแล้ว (บันทึกหน้าจะเขียนเล่าเรื่องการทำไร่ค่ะ) พากันกลับ กลับช้าอีกเช่นเคย แวะพักเรื่อย ๆ ตลอดทาง.... ได้แวะพักที่เถียงนากัน ขณะที่นั่งพักกันอยู่ น้อง ๆ ก็พากันเดินไปที่ลำห้วย ก้ม ๆ เงย ๆ ไม่รู้ทำอะไร จึงเดินไปดู...อ๋อ..หาปูนี่เอง

    : ไม่กลัวปูหนีบมือหรือไง??? 
    : ไม่กลัวหรอกค่ะ หนูรู้วิธีจับปูค่ะ..
    : จับยังไงเหรอ???
    : ต้องจับแบบนี้ค่ะ พร้อมกับยื่นปูมาให้ พี่ ๆ ต้องรีบถอยหนีเพราะกลัวปูจะหนีบ น้อง ๆ พากันหัวเราะชอบใจ
    : ต้องจับด้านหลังค่ะ 
    : แล้วไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรเหรอค่ะ?
    : ไม่ต้องหรอกค่ะพี่ มือนี่แหละ พลิกก้อนหินออก ควานหาตาซอกหิน โพรงหญ้า ในรู เดี๋ยวก็ได้แล้ว

อือ...ทักษะจริง ๆ ทักษะทั้งนั้น


ก้ม ๆ เงย ๆ หาปูในลำห้วย


ตามรูปู แต่น้อง ๆ ต้องระวังด้วยนะค่ะ เผื่อสัตว์ตัวอื่นเข้าไปอยู่ในนั้น


เอ๊ะ ๆ ๆ อะไรอยู่ในนี้นะ ช่วยกันดูหน่อย


นี่ก็พลิกก้อนหิน


ได้ปูลำห้วยแล้ว จับแบบนี้ก็ได้ค่ะ


ตัวนี้ถูกหักขาไปแล้ว


มีปลาด้วยนะเนี่ย...อุตส่าห์จับได้ด้วย

 


วันนี้พอแค่นี้ก่อนดีกว่า เย็นนี้มีกับข้าวกินแล้ว น้อง ๆ บอกว่าจะเอาปูไปต้มแล้วตำน้ำพริก อย่างน้อยก็ดีกว่าน้ำพริกเกลือและปรุงรสด้วยผงชูรสนิดหนึ่ง

 

หมายเลขบันทึก: 499320เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ทักษะ + ความสามารถ นะคะ

ขอบคุณที่แบ่งปันข้อมูล เล่าสู่กันฟังนะคะ

ขอบคุณค่ะคุณพี่Somsri ที่แวะมาเยี่ยมเยียนบันทึกค่ะ

ทักษะและประสบการณ์จากการสืบทอดจากพ่อแม่ทั้งนั้นค่ะ

ปูเป็น ๆ เลย

ห้องเรียนธรรมชาติจริง ๆ เนาะ ;)...

ขอบคุณค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn ปูตัวเป็น ๆ เลยค่ะ มันหนีบมือหนูด้วย ทดลองจับดู

เห็นมีไม้ไผ่ที่มีรอยผ่า ยื่นออกมาก สองอัน ที่ภาพน้องจับปู กำลังสงสัยว่าเค้าเอาไว้ทำอะไรคะ ใช่รอยที่เค้าเอาไม้ไผ่มาต่อกัน แล้วลำเลียงน้ำไปหมู่บ้านหรือเปล่าคะ

ขอบคุณค่ะคุณครูNopparat Pongsuk ไม้ไผ่ที่ว่านั่น คือรางน้ำไหลค่ะ เข้าใจถูกแล้วค่ะ

อย่างนั้นเหรอคะ ชอบมากกกกกกกก......เป็นธรรมชาติมากๆ เลยอ่ะ อยากเห็นเวลาที่มีน้ำไหลลงมา คงจะสวยน่าดู นะคะคุณดอกหญ้าน้ำ แล้วน้ำไหลมาจากน้ำตกเหรอคะ อยากรู้ระบบการทำงานของรางน้ำไม้ไผ่ ว่าเป็นยังไง

  • Happy Ba ท่ามกลางธรรมชาติ หาดูได้ยากมากค่ะ ภาพน่ารัก ๆ แบบนี้
  • อยากได้ไปเป็นตัวอย่าง Happy Ba น่ะคะ รบกวนใส่คำสำคัญว่า Happy Ba เพิ่มอีกคำนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
  • ราตรีสวัสดิ์ค่ะ (มาเยี่ยมคนสุดท้าย ก่อนตาจะปิดค่ะ)

คุณครูค่ะรางน้ำไหลก็ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เหมือนทั่วไปนะค่ะ ไม่ใช่ไหลจากน้ำตก เพราะมันเป็นลำห้วยทั่วไปแหละค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์Sila Phu-Chaya ราตรีสวัสดิ์ค่ะ นอนหลับฝันดีนะค่ะ หนูดเพิ่มคำสำคัญไปแล้วนะค่ะ

  • น่าสนใจมากเลย
  • ดูแล้วมีความสุข
  • เป็นห้องเรียนที่น่าเรียนรู้
  • รออ่านอีกครับ
  • ปูที่อมก๋อยเป็นปูเมืองหรือปูธรรมชาติจริงๆ น่ะ เป็นปูภูเขา เท่าที่ดูจากในรูป

** ที่บ้านแม่ตาด ช่วงนี้ปูเยอะมากๆ ผมก็เลยจับปูขายเกือบทุกวันนะครับ กก.ละ 25 บาทเชียวน่ะ เป็นรายได้เสริมอย่างดีเลยทีเดียว แถมยังช่วยกำจัดศัตรูพืชให้กับชาวนาอีกทางหนึ่งด้วย

ขอบคุณค่ะคุณอักขณิช จับปูมาทำน้ำปุสิค่ะ เก็บไว้กินกับหน่อไม้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท