พระนางพญา พระซุ้มกอ “เนื้อมาตรฐาน”เป็นที่นิยมนั้น ดินดิบ หรือ ดินเผากันแน่


เปิดหนังสือดูไปเรื่อยๆ อ้าว พระนางพญาในหนังสือ องค์งามเนื้อดินดิบทั้งนั้นนี่นา

พระนางพญา พระซุ้มกอ “เนื้อมาตรฐาน” เป็นที่นิยมนั้น ดินดิบ หรือ ดินเผา กันแน่

 

ตั้งแต่ผมเข้ามาในวงการพระเครื่องประมาณห้าปีที่แล้ว ก็ได้รับข้อมูลว่าพระเครื่องเนื้อดินส่วนใหญ่ ทำจากดินเผา

 

ที่ก็เข้าตามหลักการสร้างความแข็งแกร่งให้กับดินเหนียว ที่ใครๆก็ทราบกันดี ว่าทำได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด มาตั้งแต่สมัยโบราณ

 

และผมก็เชื่อตามหลักการนี้มาตลอด พัฒนาการความรู้ ความเข้าใจ โดยใช้หลักการของดินเผา และการผุกร่อนของดินเผามาตลอด

 

อะไรที่ออกนอกกรอบ ตีเก๊ไปเลย

 

ทำให้ผมได้ตีเก๊พระกลุ่มหนึ่งออกไปจากระบบการหยิบ และการจัดระดับความสวยขององค์พระ

 

และมีพระจำนวนมาก สำรองการตีเก๊ไว้ก่อน เพราะแม้จะพิมพ์ถูกต้อง แต่เนื้อไม่กร่อน “น่าจะเก๊” คิดไว้ว่าอย่างนั้น มาเป็นเวลาหลายปี

จนกระทั่งเมื่อประมาณ 3 เดือนที่ผ่านมา ผมได้คัดกรองพระผงสุพรรณ “ดินดิบ” จนชัดเจน และเริ่มเข้าใจว่า

 

พระดินดิบนั้นมีที่มา การสร้าง มวลสาร และการพัฒนาการอย่างไร

 

จะสังเกตว่าแท้ไม่แท้ ให้ดูอะไรบ้าง

 

จนชัดเจนในหลักการ

 

และเมื่อเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา ผมได้รับการร้องขอจากพรรคพวกให้หาพระให้สักองค์ ที่ผมจำได้ว่ามี แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน

 

ค้นไปค้นมา ก็ไปเจอพระเนื้อว่านผสมดินดิบ ศิลปะทวาราวดี ความเก่าแบบได้ที่ทุกด้าน

 

ที่สรุปว่าเก่าแน่นอน

 

ทำให้ผมเริ่มเข้าใจว่า ดินดิบน่าจะเป็นองค์ความรู้ทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะผงสุพรรณเสียแล้ว

 

จึงนำพระศิลปะทวาราวดี ศิลปะลพบุรีเนื้อดินที่เคยตีเก๊ เพราะไม่มีคราบผุ มาดูอีกครั้งหนึ่ง

กองเต็มโต๊ะทำงาน เป็นร้อยๆองค์

 

ดูทีละองค์ๆๆๆ

 

ก็ได้เห็นคราบน้ำว่านมากบ้างน้อยบ้างในแทบทุกองค์

 

เอาละวา งานนี้ ได้ความรู้ใหม่แล้ว

 

ไปไหนจงใจพกแต่พระทวาราวดีดินดิบแก่ว่านองค์นี้ประจำ

 

เดินไปที่ไหนก็เจอดินดิบผสมว่าน

 

เจอทุกวัน หยิบทุกวัน ตื่นเต้นมาก

 

หยิบไปหยิบมา เริ่มสงสัยว่า

 

อ้าว.... ทำไมมีแต่พระดินดิบ ดินเผาทำไมไม่มี หาแล้วหาอีกก็ไม่มี

 

ทำไมๆๆๆๆๆๆ

 

และเมื่อสองวันก่อน ได้รับเชิญจากอาจารย์วรรณิภา ให้ไปรับพระบริจาค พระหูยานลพบุรีเนื้อดิน ที่ผมยังไม่มีในชุดเบญจภาคีเนื้อดิน

ท่านอาจารย์วรรณิภา ได้แยกพระชุดเนื้อดินดิบ กับพระอื่นๆ ไว้ให้ผมได้ชม

 

ผมนั่งส่องไปก็งงไป เพราะพระของท่านมีแต่ดินดิบ แบบ “พระแท้ดูง่าย” ทั้งนั้น

 

ผมก็ไปหลงคิดว่าท่านชอบแบบนั้นเอง ไม่คิดมากกว่านั้น

 

หลังจากถ่ายรูปแล้วก็นำมานั่งดูอีกสองวัน ก็ยิ่งงง ว่า

 

ทำไมมีแต่พระดินดิบ ไม่ว่าจะเป็น พระซุ้มกอ พระนางพญา ฯลฯ

และเนื้อพระของท่านชัดเจนมาก และปฏิเสธไม่ได้

 

เนื้อดี พิมพ์ดี แท้ดูง่ายแน่นอน

 

วันรุ่งขึ้นผมก็ไปเดินตลาดพระอีก ก็เจอพระซุ้มกอดินดิบอีก

เลยเริ่มสงสัยว่าตัวเองเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า

 

นำพระซุ้มทั้งชุด ทุกเนื้อทุกพิมพ์ เกือบสองร้อยองค์ที่มีมาดู

อ้าว ดินดิบหมดเลย ตายละวา เก๊ยกกรุซะละมั้ง

 

เลยไปเอาตำราพระมาเปิด

อ้าวเหมือนกันเลย ดินดิบทั้งนั้น เนื้อมันฉ่ำ น้ำว่านคลุมทุกองค์

 

เปิดหนังสือดูไปเรื่อยๆ อ้าว พระนางพญาในหนังสือ องค์งามเนื้อดินดิบทั้งนั้นนี่นา

ไม่ได้ต้องเอาถาดพระนางพญามาดู

 

ปรากฏว่าเป็นดินดิบหมดเลย

 

งานเข้าละคราวนี้ เอาไงแน่

 

ที่เข้าใจมา ก็คิดว่าเป็นดินเผา แต่วันนี้หาดินเผาไม่ได้สักองค์ มีแต่ดินดิบคลุมด้วยน้ำว่านมันฉ่ำ

 

เลยรีบถามเพื่อนๆในเวบ ตั้งแต่ตีสามหลังจากดูมวยชิงเหรียญทองโอลิมปิค แต่ทุกคนก็เหมือนจะว่าผมบ้า เข้าใจอะไรผิดไปหรือเปล่าทั้งนั้น

 

ผมขอให้ใครมีพระดินเผา ช่วยโพสต์ให้ดูหน่อย ก็ไม่มี

 

ผมเลยมานั่งบ่นนี่แหละครับ

 

แต่วันนี้ ผมมั่นใจว่าพระซุ้มกอกำแพง และนางพญาพิษณุโลก เนื้อมาตรฐานนั้น

 

ดินดิบแน่นอน แต่จะมีเนื้อดินเผาหรือไม่ ยังไม่เคยเห็นครับ

 

หมายเลขบันทึก: 498369เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2012 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2012 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ที่เรียกกันว่าดินดิบนั้น แท้ที่จริงเป็นการเผาด้วยอุณหภูมิต่ำ หรือที่เรียกว่า เผาแบบพอสุก คือ พอให้ทรายแก้วที่ผสมอยู่ในเนื้อดิน ละลาย ออกมาเคลือบผิวด้านนอกของเนื้อดิน หรือ ละลาย กระจากยึดเนื้อดินไว้เป็นโครงสร้างภายใน โดยมากจะเป็นการเผาแบบสุมฟอน หรือ เผานอกเตา หากให้อุณหภูมิที่สูงตั้งแต่ประมาณ 450 องศาเซลเซียสขึ้นไป ดินจะเริ่มสุก และหลอมละลาย กลายเป็นเนื้อเดียวกันกับทรายแก้ว หากเผาในเตาที่ควบคุมอุณหภูมิ ให้อุณหภูมิ 900-1100องศา เนื้อดินจะแกร่ง ขนาดขีดกระจกให้เป็นรอยได้ เช่นพระสกุลลำพูน หากนำดินดิบมาผสมน้ำว่า น้ำอ้อย อย่างไรก็ตาม เนื้อดินจะไม่สามารถเกาะตัว ยึดติดแน่น ตามกาลเวลาได้ เมื่อผ่านกาลเวลานานเข้า ความชื้น ความร้อน จะทำให้ดินแยกออกจากกัน ยิ่งถ้าเป็นเนื้อดินเผาแกร่งๆ เนื้อสำริดแกร่งๆ ชิน เหล็ก ที่ถูกฝังในดินเป็นเวลานานแล้วก็ตาม หากเมื่อทำการขุดพบ แล้วนำขึ้นจากหลุมขุด เพียงแค่หยิบจับแรงๆ ก็ยุ่ยคามือ หรือวางผึ่งลม เนื้อก็จะแยกแตกรานทันที

ถ้าเผาขนาดนั้น น้ำว่านจะไม่กลายเป็นเถ้าหรือครับ หรือสูงสุดขนาดไหนที่สารอินทรีย์จะยังไม่กลายเป็นเถ้าถ่าน ขอข้อมูลด้วยครับ

 

ขอบพระคุณครับ

ก่อนอื่นต้องขออภัยอาจารย์ด้วยครับ ที่เสนอความเห็น ไม่ได้มีเจตนาอื่น นอกจาก เสนอข้อมูลใหม่ๆในสิ่งที่ได้เรียนรู้และปฏิบัติมาครับ พระเนื้อดินเผา ทำจากดินเผา ซึ่งต้องปรึกษาช่างเครื่องปั้นดินเผาใช้เวาลาในการศึกษาและทดลองนาน กว่าจะได้ความรู้และประสพการณ์ เอาพอสังเขปนะครับ การเผาดินอุณหภูมิต่ำพอสุก ก็เช่น อิฐมอญ ในสมัยทวารวดี จะนำดินที่ขุดคูเมืองมาทำกำแพงเมือง ดินดานเนื้อละเอียดที่คนเหยีบย่ำไม่ถึงจึงนำมาทำพระพิมพ์ ส่วนการเผาอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 900 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะเรียกว่า กระเบื้อง หรือ เซรามิก ซึ่งต้องใช้เนื้อดินขาว กระดูกสัตว์ และ หินบางชนิด บดผสม เผาในเตาควบคุมความร้อน อย่างลูกถ้วยบู๊ชชิ่งไฟฟ้าแรงสูง ต้องเผาถึง3000องศาเซลเซียส เพื่อให้ส่วนผสมประสานเป็นเนื้อเดียวกันจนมีคุณสมบัติเป็น ฉนวนไฟฟ้า อาจใช้เวลา 3 - 7 วัน ในการเผา ส่วนกระเบื้องถ้วยชาม ทั่วไป จะประมาณ 1100 - 1800 องศาเซลเซีส ใช้เวลาประมาณ 1 - 2 วัน อิฐมอญ ฐานเจดีย์ในสมัยทวารวดี และ ฐานปราสาทอิฐขอมสมัยก่อนเมืองพระนครก็เช่นกัน จะเผาสองครั้ง เผาครั้งแรก พอสุก ผิวจะหยาบ สาก เป็นเม็ดเล็กๆ กระด้าง แล้วนำมาเรียงก่อเป็นสถาปัตยกรรม โดยไม่สอปูน จากนั้น จึงทำการสุมไฟ เผาครั้งที่สอง ให้ทรายแก้วหรือ ซิลิก้าองค์ประกอบในเนื้อดิน หลอมละลายประสานเป็นเนื้อเดียวกัน จึงดูเรียบเนียนแน่น ส่วนพระเนื้อดินที่เผาพอสุกนั้นคติเดิมที สมัยทวารวดี และ ศรีวิชัย จะผสม กระดูก อัฐิของพระอริยะ ที่มรณะภาพ ลงไปด้วย หากส่องตามผิวพระที่หลุดล่อน กระเทาะออก จะพบ จุดขี้เถ้า สีเทา-ดำ อยู่ประปราย การผสมว่านต่างๆ และแกลบข้าวในเนื้อพระเป็นความเชื่อ หรือ อุปเท่ห์ ที่ผสมสิ่งเป็นมงคล แต่เมื่อเผาไปแล้ว อินทรีย์วัตถุได้ใหม้ เกิดเป็น รู ร่อง ช่องว่าง ทำให้เกิดรูพรุนภายในองค์พระ เกิดเป็น ทรัส หรือโครงส้างรวงผึ้งเล็กๆทั่วไป ทำให้การยึดตัวของชิ้นงานดีขึ้น ไม่เปราะ แตก หัก ราน ง่าย ส่วนดินที่ใช้ในการสร้างพระ ดินทางภาคเหนือ เช่น ลำพูน กำแพง สุโทัย เป็นดินตะกอนภูเขา แร่ธาตุ ซิลิก้า ยิปซั่ม แมงกานีส เหล็ก ฯลฯ มีเยอะ และเมื่อเผาในเตา ควบคุมความร้อน ซิลิก้าจุดหลอมเหลวต่ำกว่าดิน สุกก่อน ไหลออกมาเคลือบนอก จากนั้น ดินเริ่มสุกออกจากภายใน สู่ภายนอก ในชิ้นงานพระเครื่อง เนื้อดินเผาที่แตก หัก กระเทาะ จะเห็น ใส้ดิน เป็น สีเทา-ดำ เมื่ออุณหภูมิได้ที่ประมาณ 450 - 500 องศาเซลเซียส ผิวของเนื้อดินภายนอก จะมีสี ดำ -เทา แกมแดง หรือที่เรียกกันว่า เนื้อผ่าน ซิลิก้าได้ไหลเข้าไปละลาย หลอมรวม กลายเป็นเนื้อเดียวกันกับดิน อินทรีย์วัตถุที่ผสมในดิน ได้ใหม้ เกิดเป็นช่องว่าง ทำให้เกิดโครงสร้างภายในเป็น ทรัส (โครงสร้างรวงผึ้ง) จึงทำให้ชิ้นงาน แข็ง ไม่เปราะ แตกง่าย ที่เผาแล้วผิวเนื้อขาว นั่นคือ มีแร่ยิปซั่มเยอะ ที่เผาแล้ว เขียวมอย คือ อุณหภูมิสูง ประมาณ 900 - 1100 องศาเซลเซียส หากเกินกว่านี้ดินจะใหม้ หมดสภาพ ลองถามช่างปั้นหม้อที่ด่านเกวียน พวกนี้เก่งในการสังเกตุสีไฟในเตา สีของชิ้นงานที่ถูกเผาเก่ง เมื่อพระถูกฝังลงในกรุ หรือจมดินมานานหลายร้อยปี - พันกว่าปี ไม่ว่าดิน ชิน หิน สำริด หรือ โลหะอื่น คาร์บอนในดินจะแทรกซึมเข้าไปในเนื้อ ยิ่งถ้าเป็นเนื้อดิน ซิลิก้าที่ผุกร่อนตามกาลเวลาความร้อนของเปลือกโลก ความชื้น ทำให้ดินขยายตัว หรือ ช่องรูเล็กๆที่อินทรีย์สารใหม้ไป จะกักเก็บ คาร์บอนเหล่านี้ไว้ ดังนั้น หากอยากทราบว่าพระกรุนี้ แท้ หรือเก๊ มีวิธีพิสูจน์ง่ายๆอีกอย่างหนึ่งคือ จุ่มน้ำ แล้วดม จะได้กลิ่น ไอดิน เหมือนฝนตกในหน้าร้อน ชะเอาฝุ่นละอองผิวดินที่ถูกแดดเผา ซึ่งของเก๊ ไม่ได้ฝังกรุ ฝังดิน เผาใหม่ ซิลิก้ายังไม่เปราะแตก ไอดินไม่สามารถแทรกเข้าได้ น้ำจะไม่สามารถซึมเข้าไปทำปฏิกิริยาภายใน จึงไม่มีกลิ่น ระเหย ออกมา ส่วนดินตั้งแต่ พิษณุโลกลงมายันกรุงเทพ โดยมาก เป็นดินตะกอนปากแม่น้ำ เผาแล้ว เปราะ แตกง่าย ดังนั้น ช่างโบราณจึง คัดดิน นำมาหมัก ปั้นเป็นก้อน แล้วใช้ไม้แผ่นขนาดไม้โปร ค่อยๆขูดผิวดิน คัดดินเนื้อละเอียด แยกจาก อินทรีย์วัตถุและสิ่งเจือปน จากนั้นจึงนำมาคลุก ทรายแก้ว(ซิลิก้า) และ กรวด เล็ก ใหญ่ (เหมือนเทพื้นคอนกรีต ช่วยในการรับแรงไม่แตกหักง่าย) จากนั้น นำไปกดพิมพ์พระ รอยตัด ด้นข้าง ของพระ นางพญาพิษณุโลก ไม่ใช่รอยตัดกาบหมาก ที่เซียนพระ มั่ว หรือโมเมเรียกกัน หากแต่เป็น รอยตัดแล้วกรวด ครูด หรือ สไลท์ เป็นรอย เป็นร่อง เมื่อเผาแล้ว เม็ดกรวด ดันขึ้นปูดที่ผิวพระ โปนคาบ่อ หลุดออกจากบ่อ ที่ผิวพระ นี่คือหนึ่งในจุดตายที่ดูพระกรุนางพญาเนื้อดินเผาพิษณุโลก และยัง นำเทคนิคนี้มาดูมวลสารที่ผิวสมเด็จวัดระฆังได้ด้วย ส่วน ดินหน้านา ดินจอมปลวก ดินอื่นๆ ลองสอบถามอาจารย์ที่สอนเครื่องปั้นดินเผา หรือ ช่างปั้นดินเผา ช่างเซรามิก กระเบื้อง ดูครับ สำหรับ พระกรุ พระโบราณ อมราวดี ทวารวดี ศรีวิชัย - อยุธยา นอกจากจะดูพระเครื่องเป็นแล้ว ต้องใช้องค์ความรู้อื่น ประกอบการพิจารณาด้วย เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วิวัฒนาการของลวดลาย(ประวัติศาสศิลป์) ปรัชญา การเมือง การปกครอง เทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผา โลหะวิทยา ฯลฯ จึงจะครอบคลุม และ สมบูรณ์

ขอบคุณมากเลยครับ ขอนำข้อมูลไปใช้นะครับ

ตามที่ผมได้ส่งเมล์ให้อาจารย์ไปเมื่อวาน ผมหากระทู้นั้นไม่เจอครับ เป็นการเซิสหารูปพระทวารวดีแล้วเจอกระทู้อาจารย์โดยบังเอิญ ผมอยากจะส่งภาพ พระทวารวดี ศรีวิชัย ฯลฯ ให้อาจารย์ได้ชม และ แลกเปลี่ยนความรู้ด้านโบราณคดี โดยเฉพาะ พระพนัสบดีที่อาจารย์มีเหมือนของผม รบกวนหลังไมล์ครับ ถ้าว่าง 081-6555357 ช่างยาว หัวหน้าฝ่ายช่างกล เขื่อนทดน้ำบางปะกงครับ ในรูป ปางที่หายากที่สุด ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ในคาถาพาหุง บทที่สาม สมัย ทวารวดี ขึ้นที่เนินธาตุ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรีครับ

พระดินเผาครับ มีไม่กี่กรุครับ เช่น มหาวัน เตาทุเรียง และนาดูนครับ

ขอบพระคุณทั้งสอง ท่านสำหรับความรู้ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท