วรรณกรรมวิจารณ์: ทฤษฎีการรับรู้ของผู้อ่าน : Gerald Prince: ผู้อ่าน (narratee)คืออะไร ตอนที่ 3


วรรณกรรมวิจารณ์: ทฤษฎีการรับรู้ของผู้อ่าน : Gerald Prince: ผู้อ่าน (narratee)คืออะไร ตอนที่ 3

                Gerald Prince ถามคำถามขึ้นมาว่า---ทำไม และเมื่อเราศึกษานวนิยาย เรามักจะมีความเจ็บปวดในการแยกแยะระหว่างผู้แต่งที่มีแตกต่างกัน เช่นผู้แต่งที่รู้ทุกเรื่องราวกับเป็นพระเจ้า ผู้แต่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ผู้แต่งที่ไม่ปรากฏตัวออกมาโดยตรง ฯลฯ แต่ไม่เคยถามว่าผู้อ่านชนิดไหนที่คนแต่งเขียนถึงหรือตั้งใจจะสื่อความหมายไปถึง Prince เรียกผู้อ่านประเภทนี้ว่า narratee แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องไม่สับสนระหว่างผู้อ่านที่เป็น narratee กับผู้อ่านที่เป็น reader.

                ผู้แต่ง (narrator) อาจบ่งชี้ผู้อ่าน (narratee) ในเทอมของเพศสรีระ เช่น ถึงคุณนายที่เคารพ หรือชนชั้น เช่น ถึงสุภาพบุรุษ หรือสถานการณ์ เช่น ถึงผู้อ่านในเก้าอี้โยก หรือเชื้อชาติ เช่น คนขาว หรืออายุ เช่นคนที่มีวุฒิภาวะ อย่างไรก็ตามเห็นได้ชัดเจนว่าผู้อ่านที่เป็น reader อาจไม่เหลื่อมทับหรืออาจเหลี่ยมทับบุคคลที่เสนอโดยผู้แต่ง (narrator) ก็ได้  เช่นผู้อ่านจริงๆ (actual reader)อาจเป็นชายชาวนาที่กำลังงานในท้องทุ่งก็เป็นได้ ดังนั้นเราจำเป็นที่จะแยกแยะระหว่างผู้อ่านที่เป็นจริง (virtual reader) ซึ่งหมายถึงผู้อ่านที่ผู้แต่งมีอยู่ในใจขณะเขียนนวนิยาย กับผู้อ่านในอุดมคติ (ideal reader) ซึ่งหมายถึงผู้อ่านที่เฉลียวฉลาดอย่างถึงที่สุดที่เข้าใจและติดตามผู้แต่งไปทุกที่ทุกเวลา

                ประเด็นปัญหาก็คือว่าแล้วเราจะบ่งชี้ผู้อ่านชนิดต่างๆได้อย่างไร สมมติว่าในนวนิยายเรื่องหนึ่งตัวละครกล่าวว่า พระสงฆ์ที่ไม่เป็นพระอรหันต์ก็ยังอยู่ในโลกียวิสัย นับประสาอะไรกับเราเล่า เราเข้าใจว่าผู้อ่านในที่นี้เป็นบุคคลผู้ซึ่งรู้จักกับความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์ แม้ในหมู่ผู้ละกิเลสแล้วก้ตาม ดังนั้นในเรื่องที่เขียนจึงมีสัญญาณหลายอย่างทั้งทางตรงและทางอ้อมให้เรารู้ว่าผู้อ่าน (narratee) หมายถึงใคร โดยนัยนี้ผู้อ่าน (narratee) อาจถูกโจมตี สนับสนุน ตั้งคำถาม เป็นห่วงเป็นใย ฯลฯ โดยผู้แต่งซึ่งจะเป็นเผยให้เราเห็นถึงบุคลิกลักษณะของอ่านทีละเล็กทีละน้อย อย่างไรก็ดีบางครั้งผู้อ่านอาจเป็นตัวละครในเนื้อเรื่องด้วยก็ได้ เช่น พันหนึ่งทิวาเป็นต้น ถ้าผู้ฟังนิทานในเนื้อเรื่องหลับ คนเล่าก็จะถูกฆ่า แต่ที่คนเล่าไม่ถูกฆ่าก็เพราะคนฟังสามารถทนรอฟังได้ถึงหนึ่งพันคืนนั่นเอง

บรรณานุกรม

Raman Selden.(1989). A Reader’s Guide to Contemporary Literary Theory. Harvester Wheatsheaf:New York. 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 498363เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2012 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2012 08:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ก็พยายามทำความเข้าใจว่า เราเป็นผู้อ่านที่ถูกจัดอยู่ในประเภทไหนค่ะ

จริงๆแล้วประเด็นเรื่องความแตกต่างระหว่างผู้อ่านนั้นเป็นประเด็นที่ไม่ค่อยได้รับการอภิปรายถึงในนักทฤษฎีุรุ่นหล้กๆเลยครับ ยกเว้น Iser ลองอ่านบทความต่อไปสิครับ น่าจะได้รับความกระจ่างขึ้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท