คน...อะไร ?? คิดโจทย์วิจัยเก่งจัง


ตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้หลายวันแล้ว   แต่คิดอีกทีรอให้เจ้าตัว   ผู้เป็นเจ้าของเรื่องกลับมาอยู่ใน gotoknow ก่อนดีกว่า      จะได้พูดถึงอย่างสบายใจ   (ประมาณว่า...นินทากันซึ่งๆหน้า)     

เรื่องของเรื่องคือเมื่อหลายวันมาแล้ว    เคยปรารถกับคุณไมโตว่า     ตอนนี้เค้าฮิต R2R   จังเลยนะ      วันต่อมาคุณไมโตก็มาบอกว่า   คิดโจทย์  R2R ออกแล้วเรื่องหนึ่งคือ.............ส่วนเราก็ได้แต่ฟังและบอกว่าดีจัง        แล้วพอช่วงบ่ายก็โผล่มาอีก   (มาได้วันละหลายรอบค่ะ...มาหาคนที่คุณก็รู้ว่าใคร)     บอกว่า    คิดโจทย์  R2R   ได้อีกเรื่องแล้วคือ.....................
ตกลงว่าคิดได้วันละสองเรื่อง   นี่ถ้าไม่ติดธุระต้องไปญี่ปุ่น   คงได้มากเรื่องกว่านี้    สงสัยว่าทำไมจึงคิดได้เก่งจัง      คงต้องให้เจ้าตัวมาเฉลยเอง    แต่ในฐานะผู้แอบมอง   จะขอเดา ว่าน่าจะเกิดจาก...
  • คุณไมโตรู้เรื่องระเบียบวิธีวิจัยเป็นอย่างดี  และเก่งสถิติ
  • ผ่านการอ่าน paper มามาก  อ่านเก่งเพราะภาษาอังกฤษแตกฉาน   และจับประเด็นเก่ง
  • มองงานออก   เข้าใจงาน  (ไม่หลงประเด็น)
  • เก่งคอมพิวเตอร์
  • เป็นแฟนพันธุ์แท้   คือทำอะไรทำจริง

ทั้งหมดที่ว่ามานี้   ไม่ได้ชมนะคะ    เล่าให้ฟังด้วยความอิจฉาเล็กๆ  ว่าอยากเป็นแบบนี้บ้างจังเลย.......

 

  
หมายเลขบันทึก: 49774เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2006 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เราต้องหัด...ชำไม...(ทำไม)...คะคุณ nidnoi....

เห็นอะไรก็สังสัยไปหมด...ทำอะไรก็สงสัย...

รับรองโจทย์วิจัยมาแน่นอนคะ....

เชียร์ เชียร์ ลุ้น ลุ้น...คะ...

*^__^*

กะปุ๋ม

เจ้าตัว (หมายถึงคุณไมโต) เพิ่งมานั่งบ่นก่อนขึ้นเครื่องไปโตเกียวเมื่อวานว่า ไม่รู้ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติดีพอ  ที่ผ่านมาเป็นมวยวัด  กำลังอยากหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องนี้  ปะเดี๋ยวเจ้าตัวก็คงมายืนยันเรื่องนี้

สรุปก็คือว่า การรู้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นอย่างดี คงไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้ คิดโจทย์วิจัยออกอย่างง่ายดาย  แต่พอรู้บ้าง ก็คงช่วยได้มาก

ยืนยัน ตามที่อาจารย์ปารมีเขียนไว้ครับ ผมไม่ได้รู้ระเบียบวิจัยมากนัก ที่ผ่านมาเป็นมวยวัดจริงๆ
ก่อนมาได้คุยกับอาจารย์ปารมี ภาควิชาเราน่าจะส่งคนไปเรียนด้าน biostat หรือ ระบาด บ้าง อย่างน้อยก็จะได้พอช่วยเหลือคนที่เริ่มทำวิจัย ในเรื่องการ design experiment ให้เป็นมวยหน่อย ไม่ใช่นึกอยากทำอะไรก็ทำ แล้วสุดท้ายก็แค่ตอบคำถามได้ แต่ไม่สามารถตีพิมพ์ได้ หากเราจะเน้นการทำวิจัยมากขึ้น คงต้องทำแบบเชิงรุก สนับสนุนให้พวกเราคิดโจทย์วิจัยมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างฝ่าย support ให้แข็งแรงเหมือนกัน เมื่อเขาคิดโจทย์วิจัยได้ ฝ่าย support ก็ต้องเข้าไปช่วยในเรื่องการ design experiment งานยากๆ ยกให้ฝ่าย support เป็นคนทำ ขณะเดียวกันก็สอนเขาไปด้วย เขาก็จะได้ไป concentrate กับงานของแล็บ การออกแบบ การวิเคราะห์ การจัดการกับสถิติ มีคนคอยช่วย สิ่งเหล่านี้บอกให้เรารู้ว่าเรายังขาดมืออาชีพด้านทีม support ซึ่งน่าจะมองหาใครสักคนสองคน ส่งไปเรียนด้านนี้
ในมุมมองของผม คิดว่า การคิดโจทย์วิจัยที่ดี เป็นเรื่องยากที่สุด กระบวนการอื่นๆ เป็นเพียงการพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราคิดนั้นเป็นอย่างไร ทำได้จริงในทางปฏิบัติไหม ซึ่งเป็นเรื่องรอง ใครที่อยากตั้งโจทย์วิจัยเก่งๆ ก็ต้องหัดตั้งคำถามบ่อยๆ
ยาขอบ (ผู้เขียนเรื่องผู้ชนะสิบทิศ) เคยเล่าไว้ว่า เขาอ่านหนังสือแต่ละเล่ม เล่มละ 3 ครั้ง แต่ให้มุมมองที่แตกต่าง
     ครั้งแรก อ่านด้วยใจที่เป็นกลาง  ....อ่านให้เข้าใจว่าเนื้อหาเป็นอย่างไร ผู้เขียนต้องการสื่ออะไร
     ครั้งที่สอง อ่านด้วยใจอคติ แย้งมันซะทุกเรื่อง เขาทำมาอย่างนี้ แล้วจะแย้งเขาได้อย่างไร ทำเหมือนที่หลายๆคนทำกับรัฐบาลปัจจุบัน
     ครั้งที่สาม อ่านด้วยใจนิยม  ทำไมเขาช่างดีเลิศประเสริฐศรี ทำอะไรก็ไม่เคยผิด ช่างสมบูรณ์โดยแท้
     ในเรื่องเดียวกัน เมื่อมองได้ทั้งสามมุม หากสามารถเปรียบเทียบกันได้ ก็จะพบว่าอะไรคือความต่าง แล้วตั้งคำถามจากความแตกต่างนั้น
     ผมมาเข้าใจกระจ่างเรื่องนี้ตอนอ่านเรื่อง โจโฉ ที่เขียนโดยอาจารย์ คึกฤทธิ์   ปราโมท ไอ้ความคิดเดิมว่าเล่าปี่เป็นพระเอก ทำดีหนักหนา ก็หายไปเลย โจโฉจากที่เป็นผู้ร้าย กลับกลายเป็นคนดีที่ถูกเข้าใจผิด เป็นการสร้างมุมมองที่แตกต่าง
     เขียนมาซะยาว ซักออกนอกเรื่องแล้ว  เห็นไหมว่าที่คุณนิดหน่อยบอกว่า จับประเด็นเก่ง น่าจะไม่จริงแล้ว เพราะพาออกนอกเรื่องที่คุยกันแล้ว  ในทาง logic บอกว่า ในความจริงถ้ามีความเท็จบนอยู่ แสดงว่าข้อความนั้นไม่เป็นจริง
     เรื่องของเรื่อง เอาเป็นว่า รักในงานที่ทำ ตั้งใจทำมันให้ดีที่สุด น่าจะเป็นคำตอบสุดท้าย ของคำถามนี้ เมื่อเรามีความรักที่ทำให้มองด้วยสายตาสีชมพูแล้ว เราก็จะทำมันอย่างที่อยากทำ ไม่ใช่ทำเพราะต้องทำ ทีนี้สุดท้ายก็เพียงเสริมเข้าไปว่า ลองดูวิธีการอื่น.....
  • จะช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้นไหม
  • จะช่วยให้เราทำได้เร็วขึ้นไหม
  • จะช่วยให้เราประหยัดขึ้นไหม
  • จะช่วยให้ผลการทดสอบน่าเชื่อถือขึ้นไหม
  • จะช่วยให้ชาวบ้านที่ไม่มีความพร้อมด้านเครื่องมือและเทคโนโลยีเหมือนที่ มอ เขาใช้ได้มากขึ้นไหม
  • อื่นๆ อีกมากมาย
     แต่ทั้งหมดนี้ ไม่มีอะไรสำคัญไปว่า ความรักในงานที่ทำ หรอกครับ

คน support แบบที่คุณ mitoฯว่าเนี่ย อยากเป็นให้จังค่ะ เพราะคิดว่าตัวเองมีความรู้อะไรหลายๆอย่างที่มีประโยชน์กับคนจะทำวิจัย และคิดว่าไม่ต้องการแบ่งส่วนในผลงาน จึงเหมาะจะเป็นคนช่วยส่งเสริมอยู่เบื้องหลังมากกว่าลงมือทำโครงการเอง

แต่ดูสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว คิดว่าทำยากจัง แค่ร่วมเขียนโครงการงานวิจัยอยู่นี่ ยังทำไม่เรียบร้อยสักทีเพราะไม่มีเวลาต่อเนื่องในช่วงกลางวันพอค่ะ ทำสนุกนะคะ แต่ไม่สามารถแบ่งภาคได้ค่ะ งานล้นมือมาก งานประจำก็ทำสนุกไม่อยากทิ้ง แต่ก็ทำลายสมาธิในการคิดเขียนอะไรต่อเนื่อง และกินเวลาระหว่างวันมากๆเลย กำลังพยายามหาเวลาแบ่งภาคให้ถูกอยู่ค่ะ  

 

โห!! คุณ Mitoฯ. คห.ดีมากเลยค่ะ น่าจะเป็นบันทึกได้สัก 1 บันทึก --เห็นด้วยอย่างแรง ถ้าภาคเรามีที่ปรึกษาเรื่องสถิติ ได้ดีมากเลย ตัวเองก็เข้าใจไม่ดีนัก อาศัยโปรแกรมทางสถิติ แต่ที่สำคัญอาศัยผู้รู้อยู่ใกล้ ๆ ตัว -(น้องชายนายดำนั่นเอง)--เพราะเขาเรียนโดยตรง กะว่าคราวหน้าคราวหลัง ถ้าทำวิจัยอีก สงสัยต้องใส่ชื่อเขาบ้างแล้ว

เห็นด้วยกะคุณกะปุ๋มค่ะ
ว่าต้องหัดสงสัย..ใคร่รู้คำตอบ
ถ้าสงสัยอย่างเดียว    แล้วเก็บไว้สงสัยว่าจะแย่

เรียน อ. ปารมี
คุณไมโต  เค้ามีมาตรฐานสูงค่ะ   คำว่า "มวยวัด"   ของคุณไมโต   นั้นก็เป็นมวยวัดระดับนายขนมต้ม   เอาชนะมวยระดับเซียนของกรุงหงสาวดีได้สบายมาก  

เห็นด้วยกับความเห็นของทั้งคุณไมโต  พี่โอ๋  และคุณศิริ   ว่าภาคของเราน่าจะมีแผนก support  ที่ว่านี้ให้เป็นตัวเป็นตนให้เห็นชัดเจน   จริงอยู่ว่าคณะแพทย์มีแผนกนี้อยู่แล้ว    แต่ถ้ามีที่ปรึกษาเป็นคนคุ้ยเคยและเข้าใจงานแล็บจริงๆ  มันได้ใจกว่ากันเยอะเลย

 

 

โห...น่าภูมิใจแทนท่านเอื้อ...แห่งพยาธิ มอ. จังเลยคะ...ที่มี team work ที่มีวิสัยทัศน์และรักการพัฒนาองค์กรจังเลยคะ...

ชื่นชมคะ...ชื่นชม

*^__^*

กะปุ๋ม

ที่จริงมีแผนที่จะมีอะไรทำนองนี้ และจะนำเข้าประชุมในกรรมการวิจัยครั้งหน้าพอดี จะนำความเห็นนี้ไปช่วยเสริม

อาจจะขอตัวคุณโอ๋ไปช่วยงาน support นี้ด้วย

ส่วนสถิติ หากใครให้ช่วย ตอนนี้ได้เลยค่ะ ตนเอง และ อ.สมรมาศ ยินดี

 

คุณกะปุ๋ม หมอก็ภูมิใจที่มีลูกภาคเช่นพวกเขาเหล่านี้

  • ขอบคุณครับ สำหรับคำชม
  • ผมอยากจะบอกว่า ผมเป็นผลิตผลของอาจารย์ขจรศักดิ์ ที่สอนกระบวนการคิด กระบวนการทำงานวิจัย และกระบวนการเขียนงานวิจัย แม้ปัจจุบันท่านก็ยังสอนผมอยู่เสมอครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท