การนิเทศติดตามการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 2 / 2


      บันทึกต่อจาก การนิเทศงานในช่วงเช้าที่ รพ.สต.รังกาใหญ่  สำหรับช่วงบ่ายนั้นเราก็ได้  มานิเทศ  รพ.สต. หนองจิก  ซึ่งอยู่ห่างจากที่แรกประมาณ 15 กม. เป็น รพ.สต.ขนาดใหญ่  ช่วงบ่ายผู้รับบริการบางตาลงแล้ว  เจ้าหน้าที่อยู่พร้อมหน้า  

หัวหน้า รพ.สต.คือพี่อิ๋ว (กระโปรงดำข้างแพทย์อธิคม)   มีพี่นาง  สังวาลย์  (กระโปรงลายดอกไม้ขาวดำ) เป็นหัวหน้าทีมในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง   อีก 2 ท่านคือน้อง รัตน์ และน้องตา  ( ยืถัดจากพี่อิ๋ว ตามลำดับ )  เป็นกำลังแข็งขันในการดูแลผู้ป่วย  ที่นี้แทบจะไม่มีจุดบกพร่อง  ในการให้บริการบน รพ.สต.เลย  ด้วยความพร้อมของบุคลากร  ที่ทุ่มเททั้งกำลังกายใจจึงน่าจะเป็น รพ.สต.ต้นแบบได้อย่างสบาย  

       เริ่มต้นการนิเทศนั้น  พี่นางได้นำประวัติผู้ป่วยที่เป็นปัญหาว่า  การให้ยานั้นถูกต้องเหมาะสมหรือยัง  มาให้แพทย์อธิคมทวนสอบ  ซึ่งจุดนี้ถือว่า เป็นสิ่งที่ดี ที่ จนท.รู้สังเกต ความผิดปกติของคำสั่งการรักษาของแพทย์  ให้สอดคล้องกับผลการตรวจเลือด  การตรวจร่างกาย  เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ดีขึ้น  

    จากนั้นเราก็ได้ไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ขาดนัดบ่อย  รายแรกนี่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน  คุมไม่ได้  Hba1c =12.6%  ซึ่งถือว่าสูงมากการควบคุมได้มีเลย  รายนี้โหดมาก  แกไปอยู่ที่ทุ่งนา  ในตอนแรกนี่แวะไปที่บ้านแล้วญาติบอกอยู่ทุ่งนาตลอด  แพทย์อธิคมจึงบอกว่าตามไปทุ่งนาเลย ( ว๊าย...ชลัญคิดในใจ แกไม่สงสาร pks เลยนะ อธิคม )  

ทางเข้า รถเข้าไปไม่ถึง  คิดดูสภาพชลัญ  เฮ้ย 

สอบถามได้ความว่า  ทำงานเพลินลืมกินยาบ่อยๆ  แพทย์ อธิคม จึงเน้นให้กินยาให้ครบ  ให้กำหนดตัวเองให้ได้ ว่าจะกลับไปติดตมอาการเมื่อไร  ผู้ป่วยบอกขอเวลา 2 สัปดาห์เพื่อ  จัดการธุระให่เสร็จ  แล้วจะกลับไปติดตามอาการ ตอนนี้ยายังไม่หมด  เมื่อตกลงตามนี้แพทย์ก็มอบหมายให้ พี่นางและน้องตาติดตามต่อ  

      รายที่ 2 นี่  อยู่ในหมู่บ้าน  แต่สภาพ โหย เนานหนอนมาก  นอนเป็นผัก ตั้งแต่  อายุ 28 ปี  สาเหตุน่าจะเกิดจาก  arrhythmia แล้วทำให้สมองขาดออกซิเจน  (คล้ายๆกับโรคไหลตาย)  ไปดูแล้น่าสงสารมาก  

มีแผลกดทับแย่มาก  แพทย์อธิคมก็ได้ไปให้คำแนะนำในการดูแล และฝากให้  จนท.รพ.สต. ติดตามในเรื่องใบรับรองแพทย์ เพื่อออกบัตรผู้พิการ  แพทย์จะออกไว้ให้ในวันจันทร์  ชลัญรับหน้าที่ในการประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการรับใบรับรองแพทย์  

      แต่ที่น่าสงสารสุดคือ  ผู้ป่วยมีลูกอีก 1 คน  ภรรยานั้นอายุ 25 ปี  หน้าตาน่ารัก  ดีมาก เลยอยู่ดูแลสามีตลอด  แต่ที่สำคัญคือ  น้องไม่มีอาชีพอะไรเลย  ยายแม่ของผู้ป่วยเองก็เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง  รายได้ก็ได้จากการรับจ้างเล็กๆน้อยๆ  และ เงินผู้สูงอายุเดือนละ 500 บาท  เท่านั้น กับ 4 ชีวิต ถือว่าเป็นรายได้ที่กระท่อนกระแท่นพอสมควร  โดยเฉพาะเด็กวัย 5 ขวบนั้น บางวันไม่มีค่าขนมไปโรงเรียน  

     แพทย์อธิคมจึงมาคุยกับชลัญว่าเราจะช่วยเขาอย่างไร  ชลัญเสนอว่าคงจะต้องส่งเสริมอาชีพที่อยู่บ้านกับสามีแล้วทำไปดูแลสามีไปได้  นี่ก็เป็นโจทย์ที่ชลัญ ต้องเอากลับมาคิดต่อว่าจะสอนเขาทำอะไรดี  จะว่าไปตอนนี้ก็คิดออกแล้วแหล่ะ  อีกสัก 1 สัปดาห์น่าจะต้องกลับไปสอน ส่วนเงินทุนนั้นแพทย์อธิคมบอกเดี๋ยวมาบอกจะพยายาม  ขอบริจาคให้ แต่เราเน้าไม่ให้เป็นเงิน  คือต้องทำงานเพื่อให้ได้เงิน  ซึ่งข้อนี้ชลัญเห็นด้วย  

       สำหรับการคิดเรื่องเตียงที่่ช่วยลดแผลกดทับนั้นชลัญเกิดแรงฮึดขึ้นมาอีกรอบ  ดีใจที่ รศ.ดร.ทวิช  จิตรสมบูรณ์ (คนถางทาง) เข้ามาช่วยเสร็จแล้วคงช่วยชาวบ้านได้มาก 

     กลับมา รพ.วันนี้เหนื่อยสุด  แต่ก็ดีใจที่ชาวบ้านเขาดีใจที่เราไป  เหนื่อยกายแต่ใจชื้นก็ o.K

         กลับมามีเรื่องที่ทำให้จิตตก อีกแล้วเฮ้ย  คน  .... นี่หลากหลายอารมณ์จริง  งานนี้หนักไม่น้อย  ขอนั่งร้องไห้ทำใจคนเดียวสักพัก  โดยฝังตัวเองอยู่ที่ทำงาน ให้คุณป๊ากลับไปก่อน เพราะไม่อยากให้ใครเห็นความอ่อนแอในใจเรา  กว่าจะปรับความรู้สึกได้  ก็ปาไป 3 ทุ่ม  ถึงกลับบ้าน  

     แต่วันนี้จิตใจก็เริ่มเข้มแข็งขึ้นแล้ว  คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรม  "กรรมลิขิต" ชาติที่แล้วชลัญคงทำกรรมไว้มากชาตินี้จึงต้องชดใช้แบบไม่ได้หยุดหย่อน  มันคงไม่มีอะไรที่เลวร้ายไปกว่านี้หรอก  นี่แหล่ะชีวิต พักนี้จึงไม่ค่อยได้ไปเม้นท์กวนใจใครเท่าไร  ขอใช้เวลาอยู่กับตัวเองก่อนล่ะกัน  

 

 

ชลัญธร  ตรียมณีรัตน์  

 

 

หมายเลขบันทึก: 497064เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2012 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2012 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอชื่นชมในการตั้งใจทำเพื่อผู้ป่วยนะคะ ... ชีวิตคนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรม อุปสรรค์มีไว้ให้ฟันฝ่าค่ะ ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจนะคะ ชอบบันทึกของคุณชลัญธรมากค่ะ (ติดตามตลอดเลย) สู้ ๆ ๆๆๆ นะคะ

ขอบคุณนะค่ะ Blank ที่มาให้กำลังใจตลอด  ตอนนี้อยู่ช่วงฟื้นฟูกำลังใจให้ตัวเอง  กำลังใจของคุณ  มีส่วนช่วยให้ดีขึ้นด้วย ขอบคุณค่ะ 

สำหรับการคิดเรื่องเตียงที่่ช่วยลดแผลกดทับนั้นชลัญเกิดแรงฮึดขึ้นมาอีกรอบ ดีใจที่ รศ.ดร.ทวิช จิตรสมบูรณ์ (คนถางทาง) เข้ามาช่วยเสร็จแล้วคงช่วยชาวบ้านได้มาก .. เอาใจช่วยค่ะ หากเตียงทั้งดีและราคาถูก จะสร้างประโยชน์แก่ผู้ป่วยติดเตียงบ้านเราได้มาก เพราะน้อยคนจะหาซื้อเตียงลมไปไว้ที่บ้านได้ (เตียงลมก็ช่วยป้องกันได้บางส่วนเท่านั้น) หากสำเร็จแล้วมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะค่ะ :)

It is good to see that healthcare is being delivered to people at home in many cases.

I read somewhere that many (old) people have to travel long distance (at great cost) to receive "common drugs" (for diabetic/htpertension/cholesterol conditions) from their hospital. Perhaps there is a way to handle this at less over overall cost (to people and hospital). Any suggestion?

P.S. I still don't like the terms ผู้ป่วย โรคเรื้อรัง. They are used by "health service providers" but they have negative impacts on the people with certain conditions. We can see that diabetic, hypertension, HIV, cancer,... conditions are for long term, so the people with these conditions (not patients) need psychological supports. Verbal support is one helpful ingredient.

Perhaps, a better way to talk about health services should include "the talk" itself. ;-)

ขอชื่นชมน้องชลัญและทีมสุขภาพที่ออกเยี่ยมบ้านอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เท่าที่เล่าในบันทึกเป็นเพียงหนังตัวอย่างใช่มั้ยคะ คงมีแบบนี้อีกเยอะในบ้านเรา น้องโชคดีได้ทำงานช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ ได้ยาก ได้เห็นความทุกข์ของคนอื่น ทำให้ทุกข์ของเราเล็กลงได้ฉับพลัน เรื่องราวของผู้ป่วยเป็นครูสอนชีวิตให้เรา ทำให้เรากลายเป็นคนเข้มแข็ง ขอให้ชื่นชมตนเองให้บ่อยขึ้นนะคะ เพราะการทำเช่นนี้จะเรียกพลังได้ดี น้องยังโชคดีอีกอย่าง ที่มีทีมงานดี ทำให้มีพลังในการทำงานมากขึ้น ขอให้เจริญๆ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท