น้ำปูน น้ำว่าน และแร่เหล็ก: ภูมิปัญญาไทยที่ใช้ในการสร้างพระเนื้อดิน


ข้าพเจ้าได้พระเนื้อดินแบบต่างๆมาเพื่อการศึกษา เป็นจำนวนมากพอสมควร มากพอที่จะเห็นความหลากหลาย และความแตกต่าง ทั้งในกลุ่มเดียวกัน และต่างกลุ่ม จึงทำให้ผมเริ่มมองเห็นและเข้าใจ “ภูมิปัญญาไทยที่ใช้ในการสร้างพระเนื้อดิน” มากขึ้นอีกระดับหนึ่ง

ตั้งแต่ผมตั้งจิตอธิษฐานว่า

ขอให้ข้าพเจ้าได้พระเนื้อดินแบบต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง และจรรโลงพระพุทธศาสนา”

และก็ได้เดินทางไปทำบุญ อุทิศแผ่ส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร และสัตว์โลกผู้ร่วมเกิดแก่เจ็บตาย

ก็มีโอกาสได้พบเหล่ากัลยาณมิตรผู้ศรัทธาในพระเครื่อง แต่ไม่ได้วางตัวอยู่ในระบบพุทธพานิชจำนวนหลายท่าน

ที่ทำให้ข้าพเจ้าได้พระเนื้อดินแบบต่างๆมาเพื่อการศึกษา เป็นจำนวนมากพอสมควร มากพอที่จะเห็นความหลากหลาย และความแตกต่าง ทั้งในกลุ่มเดียวกัน และต่างกลุ่ม

จึงทำให้ผมเริ่มมองเห็นและเข้าใจ “ภูมิปัญญาไทยที่ใช้ในการสร้างพระเนื้อดิน” มากขึ้นอีกระดับหนึ่ง

และมั่นใจระดับที่มองเห็นภูมิปัญญาไทยในการใช้น้ำปูน น้ำว่าน และแร่เหล็ก ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมในการสร้างและรักษาพระเนื้อดิน

  • ทั้งดินดิบ รักษาเนื้อด้วยน้ำว่าน
  • ดินเผาธรรมดา
  • ดินเผาเนื้อแกร่ง และ
  • ดินเผาธรรมดาและเนื้อแกร่ง แต่เสริมเนื้อผิวให้แกร่งจากแร่เหล็ก

กรณีการใช้ดินดิบนั้น พบว่ามีสองแบบ คือ

  1. พระดินดิบ ที่สร้างพระไว้ในที่ร่ม ในถ้ำที่แห้ง แต่ถ้านำออกมาถูกความชื้นหรือการจับต้องเนื้อจะยุ่ย ผุพังได้โดยง่าย  และ
  2. ดินดิบที่ทนทานต่อการผุพัง ที่พบเฉพาะในพระผงสุพรรณที่สามารถทนทานการกัดกร่อนและผุพังจากความชื้นของธรรมชาติได้ แต่เนื้อก็ยังอ่อน ไม่ค่อยทนต่อการจับต้องและสัมผัสขัดถู การใช้จึงต้องระมัดระวังพอสมควร

พระที่พบว่ามีการกร่อนมากในระยะยาว ทั้งการผุยุ่ยจากการซึมของน้ำก็คือ

พระเนื้อดินเผาธรรมดา ที่มักไม่ค่อยเหลือสภาพดีนัก มักแตกหัก กร่อนเสียสภาพเดิม และไม่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน ยกเว้นสำหรับนักโบราณคดี

สำหรับพระดินเผาเนื้อแกร่งที่จะกล่าวถึงนั้น

มีการใช้ความรู้ประสานกันทั้งชนิดดินเหนียว น้ำปูน และแร่เหล็ก โดยใช้พลังความร้อนเป็นตัวประสานเนื้อขั้นสุดท้าย

  • ความรู้นี้น่าจะมาจากภูมิปัญญาการก่อสร้างอาคารโดยใช้ดิน ที่ต้องมีการเผาให้เป็นอิฐ
  • และการปั้นอิฐให้แข็งได้ดีก็อาจคิดถึงน้ำปูน ที่ปัจจุบันเรียกว่า “อิฐประสาน”
    • โดยการใช้ดินเหนียวผสมปูนอัดเป็นก้อนโดยไม่ต้องเผา
    • แต่ถ้าเผา พลังปูนก็จะหมดไปกลายเป็นปูนสุก เนื้อยุ่ยพอง แตกสลายง่าย
      • แบบเดียวกับตึกที่โดนไฟไหม้นานๆ จะพังทลายได้ง่าย
      • หรือกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยา ที่โดนกองทัพพม่าก่อไฟเผาจนทรุด พังทลาย จนกองทัพพม่ายกเข้าตีกรุงศรีอยุธยาสำเร็จเมื่อปี 2310
      • ดังนั้น ถ้าจะเผา ก็ต้องมีแร่เหล็กเป็นตัวเข้ามาทำหน้าที่เกาะเกี่ยวแทน
        • และเหล็กที่มีอยู่ในโครงสร้างของแร่ดินเหนียวเดิม อาจจะมีไม่มากพอ
        • หรือ ถ้ามากพอ เช่นกรณีตัวอย่างของดินเผาด่านเกวียน เป็นต้น ก็จะเกิดดินเผาแกร่งได้ด้วยแร่เหล็กที่มีอยู่
        • ถ้าไม่พอ ก็ต้องเสริมด้วยแร่เหล็กเข้าไปอีก
        • ที่ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นแร่เหล็กทุติยภูมิ หรือแร่เหล็กเกิดใหม่ (Secondary iron minerals) ในกลุ่ม ลิโมไนท์ (Limonite) สีเหลืองฟาง หรือ เฮมาไทท์ (Hematite) สีแดง เพราะมีความร่วน ทุบบดละเอียดได้ง่ายโดยง่าย
        • และจะต้องเผาถึงระดับที่เหล็กหลอมละลายเข้ามาทำหน้าที่นี้ได้
        • สำหรับพระรอด ที่มีความแกร่งสูงสุดนั้น องค์ประกอบหลัก กลับเป็นแร่เหล็กปฐมภูมิ (Primary iron minerals) ที่มาจากหินภูเขาไฟโดยตรง ที่มีความแกร่งสูงมากกว่า บดได้ยากกว่า
        • แต่ก็น่าจะบดจนเป็นฝุ่นผงละเอียดมากๆพอที่จะผสมดินเหนียวและน้ำปูนเป็นตัวประสานปั้นพระรอดที่มีขนาดเล็กและศิลปะคมละเอียดได้ขนาดนั้น
          • จากลักษณะของสีเขียวหม่น ของพระรอดเนื้อเขียว อนุมานว่าน่าจะใกล้เคียงกับหินแอนดีไซท์ (Andesite) ที่ได้มาจากภูเขาไฟแถวนั้น
          • เมื่อนำมาเผาด้วยความร้อนสูงมาก เหล็กจะหลอมละลายเกาะกันเป็นก้อนคล้ายหิน
          • สำหรับองค์ที่โดนความร้อนน้อยลงมา การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแร่เหล็กอาจจะยังไม่สมบูรณ์พอ จึงเป็นสนิมได้ง่ายหน่อย กลายเป็นผิวพระรอดแดงในระดับต่างๆ
          • หรือบางองค์อาจจะยังไม่สุกดี ยังคงเป็นพระรอดดำ ผิวแดง

แต่สำหรับ

ดินเผาธรรมดา หรือเนื้อแกร่ง ก็ยังสามารถทำให้มีความทนทานได้

โดยการนำไปฝังแช่ในดินที่มีน้ำใต้ดินมีแร่เหล็กละลายอยู่

เช่นกรณีของพระกรุพระธาตุนาดูน

ที่แม้ดินเผาจะแกร่งหรือไม่ก็ตาม

ในที่สุดผิวนอกจะมีความแกร่งคล้ายๆกัน จากการเกาะของแร่เหล็กแบบ “หินลูกรัง”

ถ้าเป็นดินเผาแกร่งมาแต่เดิม วงการจะเรียกว่า “เนื้อมะขามเปียก” ที่จริงก็คือ เนื้อดินเหนียวปนทรายแดง ที่โดนความร้อนจนเหล็กหลอมละลายจนกลายเป็นพระเนื้อหินทรายแดง (จากสีแร่แหล็ก)นั่นเอง

พระกรุนาดูนนี้มีทั้งเนื้อไม่สุกทั้งหมด ยังมีไส้สีดำ

ทำให้คำอธิบายเกี่ยวกับพระรอดดำมีความน่าจะถูกต้องตามเหตุตามผลมากขึ้น เพราะมีลักษณะของเนื้อแบบหลายชั้นเหมือนกัน

โดยเฉพาะพระนาดูนนั้น มักนิยมตัดแบ่งเป็นองค์เล็กๆ จึงทำให้มีโอกาสเห็นเนื้อภายในได้ง่ายขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับพระเนื้อดินเผาเนื้อแกร่งได้ง่ายขึ้น

นี่คือผลการเรียนรู้ ภูมิปัญญาไทย จากการศึกษาพระเครื่องครับ

หมายเลขบันทึก: 496952เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2012 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2012 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท