ประกาศมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน


ประกาศ

โรงเรียนศรีพัฒนาราม

เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ประจำปีการศึกษา2554

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1

ประกาศโรงเรียนศรีพัฒนาราม
เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
จากการประกาศใช้กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่ปรับปรุงใหม่ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา รวมทั้งนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ที่กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์อย่างชัดเจนในการพัฒนาคุณภาพคนไทยและการศึกษาไทยในอนาคต โรงเรียนศรีพัฒนาราม จึงปรับมาตรฐานมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ระดับการศึกษาปฐมวัย และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประเมินภายนอก
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙(๓) มาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา โดยให้กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนและมาตรฐานการศึกษา และให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
โรงเรียนศรีพัฒนาราม จึงให้ใช้มาตรฐานการศึกษา : ระดับการศึกษาปฐมวัย และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้เพื่อเป็นหลักในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล และติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2554
( นายปรีชา เมรุคัญ )
ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนศรีพัฒนาราม

ส่วนนำ

1)วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อประกาศใช้และกำหนดขั้นตอน ในการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนศรีพัฒนาราม
1.2 เพื่อให้สถานศึกษาได้พัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาตามมาตรฐานที่ประกาศใช้ ให้มีความ
เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานของ สพฐ. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับปฐมวัย
1.3 เพื่อสร้างความมั่นใจ ความพึงพอใจ ให้กับผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
1.4 เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก ( สมศ.)
2) ขอบเขต
มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนศรีพัฒนาราม เป็นคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์มีความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษานี้เท่านั้น ซึ่งสถานศึกษาจัดทำขึ้นโดยพิจารณาจากมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของ สพฐ. มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. และมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( SBM.) ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการอำนวยการสถานศึกษา ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งมาตรฐานการปฏิบัติงานนี้ จะประกาศใช้ในปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป
3) คำจำกัดความ
มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนศรีพัฒนาราม หมายถึง การกำหนดคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์เป็นความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านการจัดการศึกษา ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา และด้านมาตรการส่งเสริมเรียนการสอน
4) หน้าที่ความรับผิดชอบ
4.1 ผู้บริหารสถานศึกษา มีหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา และกำหนดนโยบายในการดำเนินงานกำหนดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนศรีพัฒนาราม รวมทั้งชี้แจงให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องทราบและมีความเข้าใจ
4.2 คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ที่ได้รับการแต่งตั้ง มีหน้าที่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งมาตรฐานคุณภาพการศึกษาโรงเรียนศรีพัฒนาราม ที่มีเป้าหมายความสำเร็จหลัก(KPI) เป็นทิศทางในการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจทุกฝ่าย
4.3 ครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องมีหน้าที่ให้ความร่วมมือในการศึกษาข้อมูลสารสนเทศ ร่วมแสดงความคิดเห็นให้ข้อเสนอแนะในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนศรีพัฒนาราม ตามกระบวนการ PDCAและ TQM
4.4 ผู้ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา มีหน้าที่ในการตรวจสอบ ทบทวน ติดตามประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะ
5) ขั้นตอนการจัดทำมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนศรีพัฒนาราม
5.1 ขั้นวางแผน / เตรียมการ
5.1.1 ผู้บริหารสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา กำหนดนโยบายและประชุมชี้แจง พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักให้กับคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง
5.1.2 คณะกรรมการฯ จัดเตรียมและรวบรวมข้อมูลผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาทั้งที่เป็นผลจากการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาและผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง รวมทั้งข้อมูลสารสนเทศทั่วไปของสถานศึกษาและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
5.1.3 คณะกรรมการฯ จัดเตรียมและรวบรวมมาตรฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพรอบสาม(พ.ศ.2554 – 2558) ได้แก่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( สพฐ ) มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 3 (สมศ.) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 เพื่อนำมาหลอมรวมเป็น มาตรฐาน การศึกษาโรงเรียนศรีพัฒนาราม
5.2 ขั้นดำเนินการจัดทำ มาตรฐานคุณภาพการศึกษาโรงเรียนศรีพัฒนาราม
5.2.1 บุคลากรของสถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมกันวิเคราะห์จุดแข็ง ( S) จุดอ่อน (W) ในแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้โดยนำมาตรฐานอื่นๆ มาพิจารณาร่วมกับข้อมูลสารสนเทศผลการประเมินที่ผ่านมาร่วมกันวิเคราะห์และประเมินเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจว่ามาตรฐานตัวบ่งชี้ใดควรจะเป็นจุดแข็ง จุดอ่อน
5.2.2 บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณาและเลือกจุดแข็ง จุดอ่อนในแต่ละมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ สำหรับเป็นจุดเน้นสำคัญของสถานศึกษา และใช้ประกอบการพิจารณาว่าควรจะเพิ่มตัวบ่งชี้ในมาตรฐานนั้นๆ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ / จุดขายหรือสร้างชื่อเสียงให้กับสถานศึกษาหรือไม่อย่างไร
5.2.3 คณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐานคุณภาพการศึกษาโรงเรียนศรีพัฒนาราม เพื่อนำเสนอผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมพิจารณาแสดงความคิดเห็น
5.2.4 ผู้บริหารสถานศึกษาจัดประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับทุกฝ่ายเพื่อนำมาตรฐาน การศึกษาโรงเรียนศรีพัฒนาราม ไปกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
5.3 ขั้นการตรวจสอบและประเมินผล
5.3.1 คณะกรรมการฯ นำร่างมาตรฐานที่จัดทำขึ้น มาตรวจสอบพิจารณาให้มีความถูกต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง มาพิจารณาก่อนนำไปประกาศใช้
5.3.2 ผู้บริหาร / ผู้ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ดำเนินการตรวจสอบและติดตามการนำมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนศรีพัฒนารามไปใช้
5.3.3 ครูผู้รับผิดชอบในการพัฒนาสถานศึกษา / ผู้เรียนให้มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานของโรงเรียน ทำหน้าที่ตรวจสอบและทบทวนเป็นวัฒนธรรมขององค์กร
5.4 ขั้นการปรับปรุงและพัฒนา
5.4.1 คณะกรรมการฯ นำผลการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก มาศึกษาวิเคราะห์นำเสนอผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เหมาะสมต่อสภาพการณ์
5.4.2 ครู นำผลการประเมินตนเองมาศึกษา วิเคราะห์ นำไปใช้ปรับปรุงพัฒนา ถ้าเห็นว่ามีผลกระทบเกินภารกิจที่รับผิดชอบ เสนอให้ฝ่ายบริหารทบทวนต่อไป
6) เอกสารอ้างอิง
6.1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
6.2 กฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553
6.3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
6.4 มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( 15 มาตรฐาน สพฐ )
6.5 มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก ( สมศ.)
7. เอกสารแนบ
7.1 Flow Chart การจัดทำมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
7.2 มาตรฐานคุณภาพการศึกษาโรงเรียนศรีพัฒนาราม
Flow Chart
การจัดทำมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนศรีพัฒนาราม
แต่งตั้งคณะทำงาน

เตรียมข้อมูลสารสนเทศ

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษารอบสองจัดรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน

ในแต่ละมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเลือกจุดเน้นของสถานศึกษา

จัดทำมาตรฐาน การศึกษา

ปรับเพิ่มอัตลักษณ์ของโรงเรียน

เสนอคณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณา

ประกาศใช้

ตรวจสอบ ประเมินผล

รายงานผลการพัฒนา

....................................................................

มาตรฐานการศึกษา

ระดับขั้นพื้นฐาน (15 มาตรฐาน)

มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน

มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ

ตัวบ่งชี้ที่1.1

นักเรียนมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ตัวบ่งชี้ที่1.2

นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้ที่1.3

นักเรียนป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษ และหลีกเลี่ยงตนเองจากสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรงโรคภัย อุบัติเหตุและปัญหาทางเพศ

ตัวบ่งชี้ที่1.4

นักเรียนเห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม

ตัวบ่งชี้ที่1.5

นักเรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและให้เกียรติผู้อื่น

ตัวบ่งชี้ที่1.6

นักเรียนสร้างผลงานจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ กีฬา นันทนาการตามจินตนาการ

มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1

นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร

ตัวบ่งชี้ที่ 2.2

นักเรียนมีความเอื้ออาทรและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3

นักเรียนยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง

ตัวบ่งชี้ที่ 2.4

นักเรียนตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1

นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และสื่อต่าง ๆ

ตัวบ่งชี้ที่ 3.2

นักเรียนทักษะในการอ่าน ฟัง ดู พูด เขียน และตั้งคามเพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม

ตัวบ่งชี้ที่ 3.3

นักเรียนเรียนรู้กันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกัน

ตัวบ่งชี้ที่ 3.4

นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน

มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างมีสติ สมเหตุผล

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1

นักเรียนสามารถสรุปความคิดจากเรืองที่อ่าน ฟัง และดูและสื่อสารโดยการพูด หรือเขียนตามความคิดของตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่ 4.2

นักเรียนมีสามารถนำเสนอวิธีคิด วิธีแก้ปัญหาด้วยภาษาหรือวิธีการของตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่ 4.3

นักเรียนสามารถกำหนดเป้าหมาย คาดการณ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยมีเหตุผลประกอบ

ตัวบ่งชี้ที่ 4.4

นักเรียนมีความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ

มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1

นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระเป็นไปตามเกณฑ์

ตัวบ่งชี้ที่ 5.2

นักเรียนมีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์

ตัวบ่งชี้ที่ 5.3

นักเรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนเป็นไปตามเกณฑ์

ตัวบ่งชี้ที่ 5.4

นักเรียนมีผลการทดสอบระดับชาติเป็นไปตามเกณฑ์

มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1

นักเรียนสามารถวางแผนการทำงานและดำเนินงานจนสำเร็จ

ตัวบ่งชี้ที่ 6.2

นักเรียนทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิในในผลงานของตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่ 6.3

นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

ตัวบ่งชี้ที่ 6.4

นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองสนใจ

มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ 7 ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1

มีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ตัวบ่งชี้ที่ 7.2

มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน

ตัวบ่งชี้ที่ 7.3

มีการออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสติปัญญา

ตัวบ่งชี้ที่ 7.4

ใช้สื่อและเทคโนโลยีเหมาะสมผนวกกับการนำบริบทและภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 7.5

มีการวัดผลและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ตัวบ่งชี้ที่ 7.6

มีให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเสมอภาค

ตัวบ่งชี้ที่ 7.7

มีการศึกษา วิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการสอน

ตัวบ่งชี้ที่ 7.8

ครูประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นสมาชิกที่ดีของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 7.9

ครูจัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลา เต็มความสามารถ

มาตรฐานที่ 8 ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

ตัวบ่งชี้ที่ 8.1

ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน

ตัวบ่งชี้ที่ 8.2

ผู้บริหารใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลผลการประเมิน
หรือผลการวิจัยเป็นฐานคิดทั้งด้านวิชาการและการจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 8.3

ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ

ตัวบ่งชี้ที่ 8.4

ผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับการกระจายอำนาจ

ตัวบ่งชี้ที่ 8.5

นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนพึงพอใจผลการบริหารการจัดการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 8.6

ผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาเต็มศักยภาพและเต็มเวลา

มาตรฐานที่ 9 คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ชุมชนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

ตัวบ่งชี้ที่ 9.1

คณะกรรมการสถานศึกษารู้และปฏิบัติหน้าตามที่ระเบียบกำหนด

ตัวบ่งชี้ที่ 9.2

คณะกรรมการสถานศึกษากำกับติดตาม ดูแล และขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถานศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

ตัวบ่งชี้ที่ 9.3

ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา

มาตรฐานที่ 10 สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน

ตัวบ่งชี้ที่ 10.1

หลักสูตรสถานศึกษาเหมาะสมและสอดคล้องกับท้องถิ่น

ตัวบ่งชี้ที่ 10.2

สถานศึกษาจัดรายวิชาเพิ่มเติมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัด ความสามารถและความสนใจ

ตัวบ่งชี้ที่ 10.3

สถานศึกษาจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ส่งเสรมและตอบสนองความต้องการ ความสามารถและความสนใจ

ตัวบ่งชี้ที่ 10.4

สถานศึกษาสนับสนุนให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง จนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่ 10.5

ผู้บริหาร นิเทศภายใน กำกับติดตามตรวจสอบ และนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนอยางสม่ำเสมอ

ตัวบ่งชี้ที่ 10.6

สถานศึกษาจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมถึงผู้เรียนทุกคน

มาตรฐานที่ 11 สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ

ตัวบ่งชี้ที่ 11.1

สถานศึกษามีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความ1สะดวก พอเพียงอยู่ในสภาพใช้การได้ดี สภาพแวดล้อมร่มรื่น และมีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน

ตัวบ่งชี้ที่ 11.2

สถานศึกษาจัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัย
และความปลอดภัยของผู้เรียน

ตัวบ่งชี้ที่ 11.3

สถานศึกษาจัดห้องสมุดที่ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อ
ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและหรือเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

มาตรฐานที่ 12 สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ตัวบ่งชี้ที่ 12.1

กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 12.2

จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 12.3

จัดระบบข้อมูลสารสนเทศและใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 12.4

ติดตามตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 12.5

นำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ตัวบ่งชี้ที่ 12.6

จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน

มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ 13 สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 13.1

มีการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา และใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและบุคลากรบุคลากรของสถานศึกษา รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง

ตัวบ่งชี้ที่ 13.2

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษากับครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา

มาตรฐานที่ 14 การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นที่กำหนดขึ้น

ตัวบ่งชี้ที่ 14.1

ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา

(อัตลักษณ์ของสถานศึกษาคือ..........................................................................................................)

ตัวบ่งชี้ที่ 14.2

ผลการดำเนินงานส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา

(เอกลักษณ์ของสถานศึกษาคือ ........................................................................................................)

มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม

มาตรฐานที่ 15 การจัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้น แนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น

ตัวบ่งชี้ที่ 15.1

จัดโครงการ กิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้นตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 15.2

ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย

คำสำคัญ (Tags): #ประกาศมาตรฐาน
หมายเลขบันทึก: 496945เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2012 03:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2015 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มาตรฐานการศึกษา

ระดับปฐมวัย (11มาตรฐาน )

มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน

มาตรฐานที่ 1   เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย

ตัวบ่งชี้ 1.1

มีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้ 1.2

มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย

ตัวบ่งชี้ 1.3

มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตน

ตัวบ่งชี้ 1.4

หลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด

มาตรฐานที่ 2   เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

ตัวบ่งชี้ 2.1

ร่างเริงแจ่มใส มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

ตัวบ่งชี้ 2.2

มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก

ตัวบ่งชี้ 2.3

ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัย

ตัวบ่งชี้ 2.4

ชื่นชมศิลปะ ดนตรี  การเคลื่อนไหว   และรักธรรมชาติ

มาตรฐานที่ 3  เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม

ตัวบ่งชี้ 3.1

 มีวินัย  รับผิดชอบ    เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์

ตัวบ่งชี้ 3.2

มีความซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปัน

ตัวบ่งชี้ 3.3

เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

ตัวบ่งชี้ 3.4

ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ

มาตรฐานที่ 4     เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา

ตัวบ่งชี้ 4.1

 สนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว   ซักถามอย่างตั้งใจ และรักการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ 4.2

มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง   ๆที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ 4.3

มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย

ตัวบ่งชี้ 4.4

มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ตัวบ่งชี้ 4.5

มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่5   ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิพล

ตัวบ่งชี้ 5.1

ครูเข้าใจปรัชญา หลักการ   และธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัยและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์

ตัวบ่งชี้ 5.2

ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย   สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล

ตัวบ่งชี้ 5.3

ครูบริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก

ตัวบ่งชี้ 5.4

ครูใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก

ตัวบ่งชี้ 5.5

ครูใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างหลากหลายและสรุปรายงานผลพัฒนาการของเด็กแก่ผู้ปกครอง

ตัวบ่งชี้ 5.6

ครูวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ   และใช้ผลในการปรับประสบการณ์

ตัวบ่งชี้ 5.7

ครูจัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

ตัวบ่งชี้ 5.8

ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง

ตัวบ่งชี้ 5.9

ครูมีวุฒิและความรู้ความสามารถในด้านการศึกษาปฐมวัย

ตัวบ่งชี้ 5.10

ครูจัดทำสารนิทัศน์และนำมาไตร่ตรองเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก

มาตรฐานที่ 6    ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิพล

ตัวบ่งชี้ 6.1

ผู้บริหารเข้าใจปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

ตัวบ่งชี้ 6.2

ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ   และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาเด็กปฐมวัย

ตัวบ่งชี้ 6.3

ผู้บริหารใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลการประเมินผลหรือการวิจัยเป็นฐานคิดทั้งด้านวิชาการและการจัดการ

ตัวบ่งชี้ 6.4

ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ 6.5

ผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ

ตัวบ่งชี้ 6.6

ผู้บริหารให้คำแนะนำ   คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาปฐมวัยเต็มศักยภาพและเต็มเวลา

ตัวบ่งชี้ 6.7

เด็ก ผู้ปกครอง และชุมชนพึงพอใจผลการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานที่ 7    แนวการจัดการศึกษา

ตัวบ่งชี้ 7.1

มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาและนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวบ่งชี้ 7.2

มีระบบและกลไกให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายตระหนักและเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย

ตัวบ่งชี้ 7.3

จัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้   และความเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

ตัวบ่งชี้ 7.4

สร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน   และท้องถิ่น

ตัวบ่งชี้ 7.5

จัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน

มาตรฐานที่ 8    สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ตัวบ่งชี้ 8.1

กำหนดมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ 8.2

จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ 8.3

จัดระบบข้อมูลสารสนเทศและใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้ 8.4

ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ 8.5

นำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ตัวบ่งชี้ 8.6

จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน

มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

มาตรฐานที่  9  สถานศึกษามีการสร้าง   ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ 9.1

เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและบุคลากรในสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ 9.2

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษา   กับครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานที่   10  การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามปรัชญา   วิสัยทัศน์ และจุดเน้นของการศึกษาปฐมวัย

ตัวบ่งชี้ที่ 10.1

จัดโครงการ กิจกรรมพัฒนาเด็กให้บรรลุตามเป้าหมาย ปรัชญา   วิสัยทัศน์ จุดเน้นการจัดการศึกษาปฐมวัย ของสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 10.2

ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย

มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม

มาตรฐานที่11 การพัฒนามาตรฐานสถานศึกษาตามนโยบายและแนวทางปฏิรูปการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

ตัวบ่งชี้ที่   11.1

จัดโครงการ กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนตามนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย

ตัวบ่งชี้ที่   11.2

ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย

 

ผ่านตัวชี้วัดหมดน่าจะได้ระดับเพชร รร.ส่งเสริมสุขภาพ น่ะน้องกาย

สวัสดีค่ะคุณพี่บัง ไม่รู้จะรอดไม๊แฮ่ๆตอนนี้ก็เริ่มร่อแร่มีอาการชักแหง็กๆๆๆ

ขอบคุณค่ะสมาชิกที่ให้กำลังใจ: Blank วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- และ Blank โอ๋-อโณ.

ทำบุญเดือนสิบ กับทำบุญออกบวชอยู่ไกล้กัน

กินเนื้อจนเป็นรัดดวงแล้วหวางนี้

  • ไม่ได้เจอกันตั้งนาน กลับมาเที่ยวนี้เปลี่ยนไปนะคะ ยอมโชว์หน้าตาให้เห็นชัดเจนเชียว
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลมาตรฐานการศึกษาทั้งสองระดับนะคะ แม้ยายไอดินจะออกจากวงการศึกษาไปเป็นเกษรกรหลังเกษียณแล้ว ก็ยังสนใจติดตามเรื่องของการศึกษาค่ะ

สวัสดีจ้ะคุณกาย  มาทักทาย และขอบคุณที่แวะไปให้กำลังใจกันจ้ะ  ยินดีที่ได้รู้จักจ้ะ

จุฟๆๆจ้าคุณยายไอดนกลิ่นไม้  แฮ่ๆๆๆไม่ได้เจอกันน๊านจากคุณพี่กลายเป็นย๊ายยายไปซะแล้วอิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท