ไม่มีสื่อใดจะสอนแทน "ครู" ได้อย่างสมบูรณ์


นิยามคำว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" (Educational Technology) เล่น ๆ แต่ดูจริงจัง ตามเอกสารชิ้นหนึ่งที่ถืออยู่ในมือ ;)...

 

 

เทคโนโลยีการศึกษา

(Educational Technology)

 

หลายท่านอาจจะคิดว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" ก็คือ การนำเอาอุปกรณ์กลไกต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มาใช้ในทางการศึกษา เช่น เทปบันทึกเสียง วิทยุ วีดิทัศน์ สไลด์ ภาพยนตร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

แต่แท้จริงแล้ว คำว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" ไม่ได้หมายเฉพาะสิ่งเหล่านี้เท่านั้น วิธีการหรือเทคนิคใหม่ๆ ที่ไม่ต้องใช้ผลิตผลดังกล่าวเลย แต่นำมาปรับปรุงให้การศึกษามีผลดีขึ้น ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีการศึกษาเหมือนกัน

เช่น บทเรียนสำเร็จรูป อาจเป็นเพียงหนังสือเล่มเดียว ซึ่งผู้เรียนสามารถศึกษาตามขั้นตอนได้อย่างมีระบบจนบรรลุผลสำเร็จ โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์อื่นใดมาประกอบ

 

ศ.ดร.วิจิตร  ศรีสะอ้าน กล่าวว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" เป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์ และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาของการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษา จึงครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ 3 ด้าน คือ การนำแครื่องมือใหม่ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน การผลิตวัสดุการสอน แนวใหม่ และการใช้เทคนิควิธีการใหม่ ๆ

ศ.ดร.ชัยยงค์  พรหมวงศ์ ได้ให้คำนิยามไว้ว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" หมายถึง ระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการเรียนรู้ให้สูงขึ้น

ดร.สมบูรณ์  สงวนญาติ ก็ได้ให้คำจำกัดความของ "เทคโนโลยีการศึกษา" ว่า หมายถึง ระบบการนำเอาวัสดุ ซึ่งเป็นผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ ซึ่งเป็นผลผลิตทางวิทศวกรรมศาสตร์และวิธีการ ซึ่งเป็นหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ มาประยุกต์รวมกันเพื่อให้เกิดแนว ปฏิบัติที่จะทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

 

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ใช้คำเรียก เทคโนโลยีการศึกษา ใหม่ เป็น "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" และกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ดังนี้

"เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" เป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ผสมผสานกับหลักการทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มาใช้ในการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมการจัดและออกแบบระบบ พฤติกรรม เทคนิคและวิธีการ การสื่อสาร การจัดสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนการสอน และการประเมิน

เมื่อพิจารณาถึงความหมายของ "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" ก็น่าจะหมายถึง การประยุกต์เอาวัสดุอุปกรณ์และเทคนิควิธีการต่าง ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างผสมผสานกันในเชิงระบบ มาผลิต ใช้และพัฒนาการศึกษาในรูปแบบ ...

สื่อสารมวลชน (ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์)

เทคโนโลยีสารสนเทศ (คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และ

โทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคม การสื่อสารอื่น ๆ)

เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและสถานที่

 

ดังนั้น "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" มีความหมายกว้างกว่า "โสตทัศนศึกษา"  ซึ่งเน้นเพียงการใช้สื่อแต่ละชนิดที่เกี่ยวข้องกับประสาทการรับรู้เป็นสำคัญ มิได้คำนึงถึงระบบวิธีการที่ดี การนำวัสดุ อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ มาใช้ แต่จากวิธีการที่เหมาะสม พฤติกรรมของผู้เรียนอาจจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดประสงค์ที่ต้องการก็ได้จะเห็นว่าระบบและวิธีการที่ดีจึงเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

 

พอสรุปได้นะครับ เทคโนโลยีการศึกษา หมายรวมถึง Hardware, Software, Technique นั่นเอง

นั่นหมายความว่า เทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่ เครื่องมือ วัสดุ และเทคนิคการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งหมด มิใช่ เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยในเทคโนโลยีเท่านั้น

 

 

ส่วนปัญหาด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ได้เกิดขึ้นและเขียนบอกไว้นานแสนนานแล้ว ก็คือ

 

ปัญหาด้านเทคโนโลยีการศึกษา เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำวัสดุและวิธีการ มาผสมผสานใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่ ยังขาดวัสดุอุปกรณ์ และสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ตามหลักสูตร ดังนั้น ถึงแม้หลักสูตรจะเขียนไว้อย่างดี รวมทั้งมีคู่มือแนะนำแนวการจัดการเรียนการสอนไว้สำหรับครู แต่ยังขาดความพร้อมในด้านอุปกรณ์ แนวการสอนของครูส่วนใหญ่ยังคงเป็นไปในรูปแบบเดิมคือ บรรยายหน้าชั้น ทำให้นักเรียนขาดโอกาสที่จะฝึกฝนจากกิจกรรมที่หลากหลาย

 

แต่ปัญหาด้านเทคโนโลยีการศึกษาเท่าที่ผมพบมา และประมวลผลออกมาเล่น ๆ ดังนี้ ...

 

๑. การขาดแคลนงบประมาณในการจัดซื้อ จัดทำ และ่ซ่อมบำรุงสื่อการเรียนการสอน


๒. ครูผู้สอนทำสื่อไม่เป็น ดัดแปลงสื่อที่มีอยู่ไม่ได้


๓. ครูผู้สอนไม่พัฒนากระบวนการและเทคนิคการสอนใหม่ ๆ สอนเมื่อ ๑๐ ปีอย่างไร ๑๐ ปีต่อมาก็ยังคงสอนอย่างนั้น


๔. มีสื่อการสอน แต่ครูผู้สอนใช้ไ่ม่เหมาะสมกับวัย ช่วงอายุ ระดับชั้นของผู้เรียน ทำให้การเรียนรู้เกิดได้ไม่เต็มประสิทธิภาพที่ควรจะเป็น


๕. สภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ทำให้พฤติกรรมผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนมากมาย แต่ครูผู้สอนปรับสภาพตัวเองไม่ทันต่อยุคสมัย เรียกว่า ตามเด็กไม่ทัน ตามเทคโนโลยีไ่ม่ทัน และตามโลกไ่ม่ทัน


๖. ระบบขวัญและกำลังใจของครูผู้สอน ทำลายโอกาสและลดทอนความอยากเป็นครูที่ดีให้ลดลง มีภาพสะท้อนไปถึงวิธีการสอนของครูผู้สอนอย่างชัดเจนว่า ศักยภาพต่ำลงเรื่อย ๆ สวนทางกับความใหม่ของเทคโนโลยี


๗. ผู้บริหารชี้เป็นชี้ตายการนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในสถานศึกษา หากโรงเรียนไหนได้ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ใจกว้าง โรงเรียนนั้นก็จะเดินหน้าเร็ว หากโรงเรียนไหนได้ผู้บริหารที่ไร้วิสัยทัศน์ ใจแคบ โรงเรียนนั้นก็จะเดินอยุ่กับที่ พร้อมพาโรงเรียนลงเหวไปด้วย


๘. กระทรวงศึกษาธิการ โดยผู้บริหารที่ฉลาดน้อย (แต่คิดว่าตัวเองฉลาดมาก)  พยายามทำหมั้นคนเรียนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาให้น้อยลง เช่น การพยายามทำให้เป็นเอกคู่มากกว่าเอกเดี่ยว รวมถึง การเปิดรับตำแหน่งครูเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบันน้อยมาก หรือแทบจะไม่เปิดเลย

แล้วแมวที่ไหนจะไปพัฒนาสื่อการสอนในโรงเรียน ให้คนที่จบคอมพิวเตอร์ศึกษาไปพัฒนาน่ะหรือ เขาไม่ได้เรียนมาทางพัฒนาสื่อการสอนโดยตรง ไ้ด้แต่เรียนการออกแบบทางคอมพิวเตอร์ เน้นไปทาง Computer Science + การศึกษาที่เรียนบ้างตามที่บังคับไว้ เท่านั้น (ไม่เชื่อลองไปดูหลักสูตรเขาดูครับ)

"คอมพิวเตอร์" เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ "เทคโนโลยี"

เทคโนโลยีการศึกษา มิใช่ พัฒนาแต่คอมพิวเตอร์ที่ไหนกัน ยังมีด้านอื่นอีกตั้งมากมาย เช่น งานกราฟิก งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ งานโทรทัศน์ งานภาพนิ่ง งานนิทรรศการ การออกแบบด้านต่าง ๆ ฯลฯ

 

...

...

...

 

อุ้ย ขออภัย ... คิดได้แบบไม่ได้เรียงลำดับหรือจำแนกใด ๆ เห็นว่าเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์แล้ว จึงเขียนแบบเร็ว ๆ ครับ ;)...

 

ทิ้งท้ายแล้วกันนะครับว่า

มีผู้รู้กล่าวไว้ว่า ...

 

"ไม่มีสื่อใดจะสอนแทน "ครู" ได้อย่างสมบูรณ์"

 

เขาบอกว่า

 

"... สื่อการเรียนการสอนทุกชนิดมีคุณค่า แต่จะปรากฏออกมามากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ การวางแผนการสอนอย่างมีระบบเป็นขั้นตอน เทคนิควิธีการสอน และการนำเสนอของครูผู้สอนสื่อการเรียนการสอนเปรียบได้กับตัวกลางในการสื่อความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนให้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามครูผู้สอนโปรดระลึกอยู่เสมอว่า ไม่ควรใช้สื่อแทนการสอนโดยตรงเพราะไม่มีสื่อใด ๆ ที่จะเข้ามาทำหน้าที่แทนครูได้สมบูรณ์อย่างแท้จริง ..."

 

ดังนั้น อย่าไปคาดหวังว่า การที่โรงเรียนได้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีสูง ๆ ใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในโรงเรียนแล้ว จะทำให้โรงเรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ เด็กจะเรียนเก่งขึ้น ... No Way Station ;)...

ทุกอย่างมันอยู่ที่ "ครู" นั่นแหละว่าจะนำเครื่องมือดังกล่าว ไปปรับใช้กับวิธีการสอนและตัวนักเรียนได้อย่างไร เด็กจึงจะีมีการเรียนรู้ได้ดีที่สุด

 

บุญรักษา วงการการศึกษาไทยครับ ;)...

 

หมายเลขบันทึก: 496700เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2012 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

เห็นด้วยว่า มนุษย์ สำคัญที่สุด

"ไม่มีสื่อใดจะสอนแทน "ครู" ได้อย่างสมบูรณ์"

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เทคโนโลยีถ้า "คนใช้" ใช้เป็น ถึงจะมีประโยชน์ ไม่งั้นอาจจะกลายเป็น "อาวุธ" ทำร้ายผู้ใช้เอง ค่อนข้างกังวลกับ ipad ที่กำลังจะให้ใช้ในเด็กประถม เหมือนกับที่พ่อแม่นิยมหัดให้ลูกของตนที่เป็นเด็กวัยรุ่นขับรถยนต์ แล้วก็ชื่นชมที่ขับรถได้ ขับพาพ่อแม่ไปไหนๆ ในซอย หน้าชื่นบานอวดคนไปทั่ว แล้ววันหนึ่งเด็กวัยรุ่นที่แสนดีคนนั้นก็แหกกฎขับรถไปชน ... ipad ที่แจกก็เหมือนกัน สำคัญอยู่ที่ ครู ไม่ใช่ เครื่องมือ เด็กจะเก่ง ถ้าครูดี เครื่องมือแค่ ตัวช่วย แต่ถ้าครูไม่ดี ไม่เก่งเสียอย่าง ถึงจะมีเครื่องมือที่ดีเลิศอย่างไร ก็ไร้ประโยชน์ ที่สำคัญ เครื่องมือจะเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมนักเรียน ถ้าครูใช้เป็น แต่เครื่องมืออาจกลายเป็นอาวุธทำร้ายนักเรียนได้ ถ้าครูใช้ไม่เป็น

เค้าเรียกอย่างเป็นทางการว่า...

"การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" ใช่ไหมครับ ท่านอาจารย์ Blank ขจิต ฝอยทอง ;)...

ว้าว ว้าว ว้าว

ขอบคุณมากครับ ;)...

"เทคโนโลยีเหมือนดาบสองคม" เหมือนชื่อหนังสือเล่มหนึ่งที่ออกมาอย่างเงียบ ๆ

คุณพยาบาล วารี ... เขียนได้ตรงใจมากมายครับ

ทุกอย่างที่ผู้สอนที่จะหยิบยื่น "อาุวุธทางปัญญา" หรือ "อาวุธที่ฆ่าตัวเอง" ให้กับเด็ก

เกรงว่า แนวโน้มความคิดของผู้บริหาร ศธ. จะเป็นอย่างหลังนั่นแหละครับ

ขอบคุณมากครับ ;)...

จริงค่ะ ทุกอย่างอยู่ที่ครูนั่นแหละ ว่าจะนำเอาเทคโนโลยีไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับนักเรียนอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็..ครูยังใช้ไม่เป็นเลย ipad

แฮะ แฮะ คุณ KRUDALA  ครับ ... ผมก็ยังใช้ ipad ไม่เป็นเหมือนกันครับ 555

แพงเกินตัวไปหน่อย ;)...

คำจำกัดความของ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ผมว่าค่อนข้างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีว่าด้วยเรื่องใด แต่จะขอเห็นต่างในเรื่อง "ใหม่ๆ" เช่น เครื่องมือใหม่ๆ เทคนิคใหม่ๆ..

ถ้าการนำเทคโนโลยีมาใช้นั้นไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อแก้ปัญหา พัฒนาวิธีการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง หรือทำเรื่องที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจงใดๆ ก็ล้วนแต่เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (achieve a goal) ทั้งสิ้น เทคโนโลยีใหม่หรือเก่าผมว่าไม่สำคัญเท่ากับว่ามันเป็น "เทคโนโลยีที่เหมาะสม" (appropriate technology) ที่จะนำมาใช้สำหรับตรงนั้นหรือไม่

เทคโนโลยีเก่าๆ พื้นๆมากมายที่นำมาใช้ในที่หนึ่งอาจมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการได้มากกว่าเทคโนโลยีล่าสุดของเรื่องนั้นก็ได้..

ขึ้นอยู่กับคน(ครู)ใช้อย่างที่อาจารย์ว่านั่นแหละครับ

แต่อย่างไรเสียผมก็ยังเชื่อว่าคน(ครู) หากขาดเสียซึ่งเครื่องไม้เครื่องมือจะทำอะไรให้สำเร็จก็คงจะยาก เช่นเดียวกันช่างไม้หากไม่มีเลื่อยไฟฟ้าก็อาจจะยังใช้เลื่อยลันดาของตนทำงานได้แม้จะช้าไปบ้างก็ตาม แต่ถ้าไม่มีอะไรเลยคงได้แต่มองตาปริบๆอย่างเดียวแหละครับ

  • ใจตรงกันเลยค่ะ ชื่อบันทึกนี้ เคยคิดไว้ว่าจะเขียนประเด็นนี้เหมือนกัน แต่ก็รู้สึกว่าไม่น่าจะเขียนได้ดีเท่ากับ "ครูเพื่อศิษย์" ตัวจริงเสียงจริงค่ะ
  • แวะมาฝากเลี้ยงหลานตามที่เคยหารือกันไว้ค่ะ

เพราะถึงยังไง ipad ก็สู้ครูไม่ได้ค่ะ

บันทึกนี้ยาวจัง ไว้มาอ่านต่อพรุ่งนี้นะคะ

  • สวัสดีครับอาจารย์
  • ทุกอย่างมันอยู่ที่ "ครู" นั่นแหละว่าจะนำเครื่องมือดังกล่าว ไปปรับใช้กับวิธีการสอนและผู้เรียนอย่างไร
  • จริงที่สุดไปเลยครับอาจารย์ เทคโนโลยีเลิศหรูแต่ครูไม่ทำอะไรเลย ดูตลกไปอีกแบบ(แบบขำไม่ออกเลยครับ) ฮ่าๆ

คุณ Lungnoke เปรียบเทียบได้สนุกมากครับ อิ อิ

"เทคโนโลยีที่เหมาะสม" เห็นด้วยครับ ;)...

เดี๋ยวขออนุญาตมองตาปริบ ๆ ก่อนครับ

ขอบคุณมากครับ ;)...

โอ้ คุณลุงยังไม่มี ipad เลยก๊าบ 555

แหม มีข้อตกลงเยอะนะเนี่ย ท่านอาจารย์นพลักษณ์ ๙ Sila Phu-Chaya ;)...

คิดหัวข้อตรงกันโดยบังเอิญนะครับเนี่ย ;)...

ขอบคุณครับ

ราตรีสวัสดิ์ ฝันดีึถึงผมแล้วกันนะครับ นางฟ้า ชาดา ;)...

หายป่วยไว ๆ นะครับ ;)...

เค้าเรียก "ตลกร้าย" ที่เป็นจริงไงครับ น้อง วศิน ชูมณี ;)...

ขอบคุณครับ

สร้างสังคมใหม่เพื่อการเรียนรู้...หรือหาแนวร่วมใหม่ดีคะคุณครู

  • ขอสนับสนุนข้อความทิ้งท้ายของอาจารย์ ที่ว่า "อย่าไปคาดหวังว่า การที่โรงเรียนได้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีสูง ๆ ใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในโรงเรียนแล้ว จะทำให้โรงเรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ เด็กจะเรียนเก่งขึ้น ...(หรือเรียนรู้ตามจุดประสงค์ได้ดีขึ้น) ทุกอย่างอยู่ที่ "ครู" นั่นแหละ ว่าจะนำเครื่องมือดังกล่าว ไปปรับใช้กับวิธีการสอนและตัวนักเรียนได้อย่างไร เด็กจึงจะีมีการเรียนรู้ได้ดีที่สุด"

ทั้งสองอย่างเลยก็แล้วกันนะครับ คุณครู Blank สเร็นเหลา ;)...

แวะมาดูลุงบุญธรรมของหลานกะทิค่ะ

เมื่อคืนให้ดอกไม้ไว้ก่อนวันนี้ตามมาบอกว่าเห็นด้วยอย่างมากว่าสื่อใดก็สอนแทนครูไม่ได้อย่างสมบูรณ์ค่ะ

คารวะครูด้วยดวงใจ

ถ้าหากจะขอมือเรียกเสียงสนับสนุน...ยกให้สองมือเลยค่ะ "ไม่มีสื่อใดจะสอนแทน "ครู" ได้อย่างสมบูรณ์"

ไม่มีใครจะสอนแทนครูนก Blank noktalay ได้อย่างสมบูรณ์ ;)...

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ ...ปริม pirimarj... สุดคะนึง ตะลึง ตึง ตึง ;)...

ฝากฝังกันอย่างจริงจังเลยนะครับ ท่านอาจารย์นพลักษณ์ ๙ Blank Sila Phu-Chaya ;)...

น่าแปลกใจนะครับ...ทำไม "ครู" จึงสอนได้สมบูรณ์กว่า เทคโนโลยีใด ๆ ...

...อะไร คือ ปั่จจัยสำคัญที่ทำให้เป็นเช่นนี้....?????

ไม่น่าแปลกใจครับ คุณ Blank Han Min ;)...

เพราะคนคือสัตว์ประเสริฐที่สามารถควบคุมวิถีของโลกได้

"ครู" เป็นคน คนย่อมสามารถควบคุมเครื่องจักรกลและวัสดุที่เราเรียกว่า "สื่อ" ได้

หากไม่มีสื่อใดในโลกเหลืออยู่ มีแต่ครู ครูก็สามารถปรับปรุง ดัดแปลงสิ่งรอบตัวได้เช่นกัน ;)...

ที่อาจารย์มหาวิทยาลัยพูดถูกต้องค่ะ ทำไมไม่มีใครถามครู ป . 1 บ้านนอกบ้าง นี่แหละตัวจริงเสียงจริง ซึ่งเป็นทุกอย่างให้กับเด็กน่าสงสารมาก จำพยัญชนะ สระ ยังไม่แม่นเลย มองครูตาแป๋ว รอครูใส่อะไรต่อมิอะไรลงไปในสมอง แล้วจะทำอย่างไรดี

ขอบคุณมากครับ คุณครู ป.1 บ้านนอก (ที่อยู่ประเทศไทยเช่นกัน) ... สู้ต่อไป และเชื่อมั่นในความถูกต้องครับ ;)...

ครู..
เป็นสื่อการเรียนรู้ในอีกมิติหนึ่งครับ

เพราะความเป็นครูที่ยืนอยู่หน้าชั้นเรียน ก็เสมือน "สื่อการเรียนรู้"
ความเป็นครูที่พบเจอในเวลาการเรียนการสอน ก็เป็นสื่อในอีกมิติหนึ่ง

เอิ๊กๆ....
 

(อ่านสองครั้งถึงจะจบ อิๆๆ)

ทุกอย่างอยู่ที่ครูจริงๆ ครับ

เขียนยาวไปหรือนี่ ท่านอาจารย์ Ico48 ธ.วั ช ชั ย 555

ขอบคุณมากครับ ;)...

ถูกต้องแล้วครับ คุณ Ico48 แผ่นดิน อิ อิ

มิติสยองกิ๊ว 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท