ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

ABCD กับการเขียน


“ จงเขียนให้มากๆ แล้วคุณจะประสบความสำเร็จในการเป็นนักเขียน”

ABCD กับการเขียน

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

ในการเขียนหนังสือที่ดี มีคุณภาพ น่าอ่าน ขายดี เราควรคำนึงถึงลักษณะ ABCD ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

                A : Attention คือ การสร้างความสนใจ การใช้ภาษาในการเขียนมีส่วนที่จะทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ อีกทั้งการใช้ภาษาที่ดียังสามารถโน้มน้าวใจผู้อ่าน ให้อ่านหนังสือจนจบเล่มได้  การออกแบบรูปเล่มก็มีความสำคัญ การใช้สีปกต้องโดดเด่น สามารถหยุดผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านสนใจ อยากหยิบขึ้นมาอ่านได้ ชื่อหนังสือต้องดึงดูด สั้นกระชับได้ใจความ พอผู้อ่านเห็นชื่อแล้ว อยากที่จะอ่าน ตัวอย่างเช่น การพาดหัวตัวใหญ่ หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์  ปกหลังต้องมีข้อความหรือรูปภาพเพื่อดึงดูด โดยมากมักจะนำเสนอเรื่องย่อ ภายในหนังสือ ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เป็นที่น่าสนใจแก่ผู้อ่านได้  

                B : Benefits คือ บอกประโยชน์จากการที่ได้รับคุณค่าจากอ่านหนังสือ บางคนอ่านหนังสือเรื่อง “ พ่อรวยสอนลูก” แล้วไม่ยอมวาง เนื่องมาจากข้อความในหนังสือมีประโยชน์และสามารถนำเอาไปใช้ได้ บางคนอ่านหนังสือ “ขายหัวเราะ” แล้วไม่ยอมวาง เนื่องจากได้รับประโยชน์จากข้อความภายในหนังสือ อ่านแล้วมีความสนุกสนาน คลายเครียด   หรือบางคนป่วยเป็นโรค เมื่อได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการรักษาโรคต่างๆ แทบจะไม่วางหนังสือเล่มนั้น เนื่องจากว่าผู้อ่านได้รับประโยชน์จากการอ่านหนังสือเพื่อนำไปใช้รักษาสุขภาพของตนเอง

                C : Creativity คือ มีการสร้างสรรค์ หนังสือที่ขายดีส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มักเป็นหนังสือที่มีการสร้างสรรค์ มีการสร้างความแปลกใหม่ ทั้งรูปปก เนื้อหาภายใน การจัดหน้าหนังสือ มีการเขียนที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งมีการสร้างจุดเด่นใหม่ๆ ขึ้นมาในงานเขียน พูดง่ายว่า ต้องมีความโดดเด่น แปลกใหม่ สร้างสรรค์ แตกต่าง

                D : Demand  คือ การคำนึงถึง ผู้อ่าน ความต้องการของผู้อ่านมีผลต่อการขายหนังสือได้ดี เราจะสังเกตเห็นว่าหนังสือบางเล่ม เขียนได้ดี แต่ยอดขายไม่ดี ซึ่งแตกต่างกับหนังสืออีกจำนวนหนึ่งที่ เขียนได้ดีน้อยกว่าแต่หนังสือเล่มดังกล่าวไปสนองความต้องการของผู้อ่าน จึงทำให้เกิดการขายดี หรือ นักเขียนบางคนถึงกับเขียนหนังสือตามกระแสไปเลย  เช่น ประวัติของนายกรัฐมนตรีคนใหม่  , ชีวประวัติของบุคคลที่โด่งดังในเมืองไทยซึ่งเป็นที่น่าสนใจของคนโดยทั่วไป เช่น ประวัติของเจ้าสัว เช่น เจ้าสัวธานินทร์ เจียรวนนท์(ซีพี) , เจ้าสัวเจริญ ศิริวัฒนภักดี(เบียร์ช้าง) , เจ้าสัวบรรฑูร ลำซำ(แบงค์กสิกรไทย) เป็นต้น

ดังนั้น คนที่ประสบความสำเร็จในการเขียนควรคำนึงถึงปัจจัย ABCD ข้างต้น เพราะ ปัจจัย ABCD เป็นปัจจัยตัวหนึ่งในหลายๆปัจจัยที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในการเขียน

“ จงเขียนให้มากๆ แล้วคุณจะประสบความสำเร็จในการเป็นนักเขียน”

หมายเลขบันทึก: 496412เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ABCD เป็นปัจจัยตัวหนึ่งในหลายๆ ปัจจัยที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในการเขียน==> ABCD ดีจริง ค่ะ

ขิบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ สำหรับความคิดเห็นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท