EGA
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) สรอ. Electronic Government Agency(Plublic Orgenization)

การศึกษารากฐานของปัญหาการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(มุมมองภาคธุรกิจ)


รากฐานของปัญหาการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของภาคภาคธุรกิจ

Phase :

 การศึกษารากฐานของปัญหาการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์

ด้วยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)(สรอ.) เป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความสมบูรณ์และมั่นคงปลอดภัย (Enabling Complete & Secure e-Government) จึงได้ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการศึกษารากฐานของปัญหาการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน

รวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์โดย การสัมภาษณ์ (Interview) ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในแต่ละด้าน ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่คิดว่ามีประโยชน์อยู่ไม่น้อย จึงอยากจะนำมาแบ่งปันกันคะ

 รากฐานของปัญหาการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของภาคภาคธุรกิจ

คัดเลือกมาเฉพาะส่วนที่เป็น keyword และข้อเสนอแนะในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จากประเด็นต่างๆ ที่ใช้สัมภาษณ์ ซึ่งข้อมูลในมุมมองของภาคธุรกิจได้รับการอนุเคราะห์จากสองท่านคือ ดร. ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สายงานเศรษฐกิจและโลจิสติกส์และ คุณพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล  ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยคะ) สำหรับข้อมูลที่จะนำมาฝากกันส่วนแรกคือ มุมมองของดร. ธนิต โสรัตน์คะ

 รัฐกับธุรกิจ (G2B): เนื่องจาก G2B จะต้องเชื่อมไปกับ National Single Window (NSW) ขนาดใหญ่ หากภายในประเทศยังไม่สามารถเชื่อมกันก็จะส่งผลให้ไม่สามารถเชื่อมกับภายนอกได้

-   ประเทศไทยควรเป็นศูนย์กลางการค้าและอิเล็กทรอนิกส์ 

-   กรอบ National Single Window (NSW) ถูกวางไว้ผิดที่ (กรมศุลกากร) เนื่องจาก National Single Window (NSW) นั้นไม่ใช่แค่เรื่องของการส่งออก-   นำเข้า แต่ต้องเป็นจอทั้งประเทศ เช่น การท่องเที่ยว การเงิน  การโอนเงินระหว่างภูมิภาค เป็นต้น

-   ระบบที่เกี่ยวข้องกับ G2B ได้แก่ National Single Window (NSW), Paperless, ECO, e-Bidding , e-Invoice เป็นต้น  e-Invoice  นั้น อาจจะเป็นเรื่องของธุรกรรมก็ได้ เช่น Authorized Economic Operator (AEO)เป็นการบูรณาการของยุโรป กล่าวคือ ต้องแพ็คข้อมูลส่งออกไปสู่ประเทศนำเข้าผ่านระบบศุลกากรด้วย

 สรุปประเด็นคำถาม

1. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

    -   กฎหมาย, พรบ. ที่ล้าสมัย กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการส่งออก-นำเข้า เช่น กฎหมายและข้อบังคับของกรมเจ้าท่า พ.ศ. 2466 กฎหมายศุลกากร พ.ศ. 2480 เป็นต้น กฎหมายเก่าทำให้เป็นอุปสรรคหากประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลาง  โลจิสติกส์ของภูมิภาค

    -   การขาดแผน ICT (วาระแห่งชาติ) หากประเทศไทยสามารถผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติได้ ภาคเอกชนก็จะสามารถมองเห็นทิศทางของรัฐบาล

    -   ปัญหาทางด้านบุคลากร บุคลากรถือว่าเป็นข้อจำกัด เป็นปัญหาทุกระดับ การรู้ การรับรู้ รวมถึงการหวงอำนาจ

2. ประเด็นเร่งด่วนที่ควรดำเนินการ

    -   ประเด็นที่ควรจะมีการเร่งผลักดันคือ G2B แต่ G2B จะเกิดไม่ได้หาก G2G ยังไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ เช่น การนำเข้าสินค้าที่จะต้องผ่าน 3 กระทรวง และมีขั้นตอนในการดำเนินการมากมาย

    -   การยกเครื่องระบบการทำงานของภาครัฐที่มีความซับซ้อน เอกสารราชการที่มีจำนวนมาก แผนกสารบรรณควรจะเป็นดิจิทัลในหน่วยงานราชการ

    -   e-Signature ที่เป็นปัญหา ภาคเอกชนพัฒนาไปมากแล้วโดยใช้ระบบ e-Signature (การใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่อดิจิทัล) หากภาครัฐดำเนินการในส่วนดังกล่าว ภาคเอกชนก็จะถูกบังคับโดยปริยาย

3. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

    -   จัดทำแผนพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเสนอต่อรัฐบาล

    -   วิเคราะห์สวอต (SWOT Analysis) เพื่อกำหนดจุดแข็ง จุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาส อุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่ดำเนินการ

    -   จัดทำ Road Map ยุทธศาสตร์  โครงสร้างของคณะกรรมการ

    -   ควรสร้างพันธมิตร โดยร่วมมือกับภาคเอกชนในการผลักดัน e-Government เนื่องจากภาคเอกชนมีความคล่องตัวสูง หาก e-Government สำเร็จภาคเอกชนก็ได้ผลประโยชน์ด้วยเช่นกัน

4. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

    -   การผลักดัน e-Government ให้เป็นวาระแห่งชาติ ให้รัฐบาลเห็นความสำคัญ

    -   National Single Window (NSW)

    -   e-Signature

    -   ระบบ Traceability (ระบบประกันเวลา, ระบบการตรวจสอบ/ทบทวน)

    -   ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-filing)

 

◊ มุมมองทางด้านภาคธุรกิจของคุณ พงษ์ศักดิ์ อัสสกุล 

จะเป็นไปในทิศทางใดนั้นติดตามตอนต่อไปนะคะ หากพี่ๆ เพื่อนๆ สมาชิก Gotoknow มีข้อมูลหรือข้อคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว ร่วมแบ่งปันกันนะคะ

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน EGA
หมายเลขบันทึก: 496213เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2012 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2012 11:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อย่างนี้สิคะที่อยากเห็น..การแจกแจงปัญหาในเชิงภาพรวมของรัฐอย่างตรงไปครงมา เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์อย่างสมเหตุผล และช่วยกันคิดทางเลือกในการแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป..รออ่านอีกค่ะ..

ขอบคุณคะ สำหรับกำลังใจ

เพื่อเป็นแรงในการผลักดัน ร่วมด้วยช่วยกันคะ

จะรีบเขียนตอนต่อไปเลยคะ

อ.นุ Blank

ป้าใหญ่ นงนาท Blank

 

 
  • ชอบที่เปิดเผยตรงไปตรงมา
  • มีการช่วยกันทำงานทั้ง 3 ฝ่าย
  •  ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน
  • รออ่านอีกครับ

ขอบคุณคะอ.ขจิต

ส่วนของภาคประชาชน ในตอนต่อไปนั้น

ได้รับเกียรติจากคุณหมอวิจารณ์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์คะ

เป็นที่มาของการได้รู้จัก และการร่วมมือกันกับ Gotoknowคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท