มหาวิทยาลัยต้องจัดการความเสี่ยงเรื่องการลอกเลียนผลงานวิชาการ


สังคมไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดเรื่องนี้สูง เพราะคนในวงการศึกษาไม่ตระหนัก และไม่ระมัดระวังเรื่องนี้ ปล่อยให้นักเรียนทำรายงานโดยการค้นจาก อินเทอร์เน็ต แล้ว “ตัดปะ” ลงในรายงานของตน โดยไม่มีคนสอนว่าเป็นสิ่งที่ผิด การคัดลอกคนอื่นต้องอ้างอิง จึงจะไม่ถือว่าลอกเลียนหรือขโมยความคิด

 

          ข่าวใหญ่เรื่องการลอกเลียนผลงานวิชาการแห่งยุคในประเทศไทยคือ ข่าวนี้    ซึ่งผมเคยบันทึกไว้ที่ ,

 

          จะเห็นว่าเรื่องนี้ “กันดีกว่าแก้” อย่างแน่นอน   เพราะเมื่อเกิดประเด็นขึ้นแล้วความซับซ้อนของมันจะก่อความยุ่งยากบาดหมางและขัดแย้งมากมาย   ที่สำคัญทำให้รกสังคมรวมทั้งเสื่อมเสียชื่อเสียงของประเทศดังข่าวนี้

 

          มองอีกมุมหนึ่ง นี่คือความเสี่ยงอย่างหนึ่งของวงการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัย   เป็นความเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียชื่อเสียง (Reputation Risk)  

 

          เมื่อมีความเสี่ยง ก็ต้องมีการจัดการความเสี่ยง (Risk Management) โดยต้องมีการกำหนดนโยบายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร   ให้ความเห็นชอบโดยสภามหาวิทยาลัย   โดยนโยบายควรระบุหลักการหรือหลักคิดต่อการลอกเลียนหรือผลงานวิชาการ (plagiarism) ว่าถือเป็นการทำผิดที่ร้ายแรงแค่ไหนพฤติกรรมแบบใดบ้างที่ถือเป็นความผิดนี้ระบุวิธีการป้องกัน   วิธีการดำเนินการหาข้อเท็จจริงเมื่อมีการกล่าวหา   และระบุโทษ รวมทั้งการลงโทษไว้ด้วย    ทั้งหมดนี้ควรทำเป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัย   ซึ่งหมายความว่า มีการประกาศให้รู้ทั่วกันทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

 

          สังคมไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดเรื่องนี้สูง    เพราะคนในวงการศึกษาไม่ตระหนัก และไม่ระมัดระวังเรื่องนี้   ปล่อยให้นักเรียนทำรายงานโดยการค้นจาก อินเทอร์เน็ต แล้ว “ตัดปะ” ลงในรายงานของตน   โดยไม่มีคนสอนว่าเป็นสิ่งที่ผิด   การคัดลอกคนอื่นต้องอ้างอิง จึงจะไม่ถือว่าลอกเลียนหรือขโมยความคิด 

 

          ผมดีใจ ที่ในวงการ Gotoknowมีการเตือนเรื่องนี้อย่างเอาจริงเอาจัง   ถือได้ว่า Gotoknowช่วยสร้างสรรค์สังคมไทย ให้เป็นสังคมปลอดการขโมยผลงานหรือความคิด

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๗ มิ.ย. ๕๕

คำสำคัญ (Tags): #plagiarism#จุฬา#550727
หมายเลขบันทึก: 496166เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2012 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2012 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

มองเหมือนเป็นเรื่องเล็กแต่ไม่เล็กนะคะ คนที่ถูกลอกผลงานไป เจ็บปวดหัวใจพอดูค่ะที่ลอกผลงานไปแล้วมาเย้ยว่าได้คะแนนมากกว่าต้นฉบับ...ฟังแล้วปวดตับบบเจ็งๆ

GotoKnow ยืดมั่นในความเป็นต้นฉบับงานเขียน หรือความเป็น Originality ของเนื้อหาที่บันทึกผ่านบล็อกเป็นอย่างยิ่งค่ะ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการต้องเคารพสิทธิ์การนำเอาบันทึกของเจ้าของบล็อกไปใช้ผ่านสัญญาอนุญาตด้วยค่ะ (Creative Commons)

และบันทึกที่คัดลอกมาแปะ (ซึ่งมีมากทีเดียว) ทีมงานจะพยายามให้คำแนะนำแก่ผู้กระทำก่อนที่จะลบออกค่ะ โดยทีมงานจะให้ความรู้เรื่องลิขสิทธิ์ทางปัญญา และชี้แจงให้เห็นถึงผลทางกฎหมายที่ทางผู้คัดลอกมาแปะจะได้รับค่ะ

แต่หลายๆ ครั้งคำอธิบายดูจะไม่เป็นผลค่ะ หลายคนที่คัดลอกมาแปะก็ยังพูดอย่างไม่สนใจอะไรเลยว่า นำมาแปะให้ก็ดีแล้วเพราะเป็นการเผยแพร่ให้ต่างหาก 

สุดท้ายทีมงานก็ต้องขอให้นักกฎหมายมาช่วยเขียนเป็นบันทึกให้ค่ะซึ่งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือได้อย่างชัดเจนค่ะ 

ลิขสิทธิ์งานวรรณกรรม บันทึกจาก คุณ pirachaya werasukho นักกฎหมายจาก สถานีวิทยุการบินแห่งประเทศไทยค่ะ



ปัญหาการคัดลอกเป็นเรื่องใหญ่จริงๆ ค่ะ วันก่อนดิฉันได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในคณะกรรมการในการสอบนำเสนอร่างวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท พบว่านศ.มีการคัดลอกงานในหลายส่วนค่ะ เมื่อสอบถามดูพบว่า นศ. เข้าใจผิดว่าการนำงานคนอื่นมาเขียนในงานวิจัยของตนจะต้องเขียนให้เหมือนกันสิ่งที่เจ้าของเขียนเท่านั้นค่ะ

ดิฉันเชื่อว่าความเข้าใจผิดในการเขียนงานวิจัยด้วยการคัดลอกงานคนอื่นได้แพร่หลายออกไปในสังคมอุดมศึกษาของไทยในวงกว้างแล้วค่ะ

หากวงการศึกษาของเรายังไม่ตระหนึกถึงเรื่องนี้ประเทศไทยคงก้าวไปข้างหน้าได้ยากยิ่งค่ะ เพราะรากฐานปัญหาต่างๆ ในระดับประเทศล้วนเกิดจากปัญหาด้านการศึกษาโดยทั้งสิ้นค่ะ

เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบงานเขียนว่ามีการตัดแปะมาหรือไม่

พบกับนศ.ป.โทที่ตัวเองดูแลอยู่เช่นเดียวกันค่ะ ว่าเขายังไม่เข้าใจว่าการอ้างอิงคือการนำมาเขียนเรียบเรียงใหม่ด้วยคำของตัวเองแต่อ้างถึงสิ่งที่ผู้อื่นค้นพบมาแล้ว แต่เขายกมาทั้งดุ้นเลย แล้วก็อ้างถึง

สงสัยว่าในสถาบันอุดมศึกษาเรามีวิชาเกี่ยวกับจริยธรรมในการเขียนการอ่านการอ้างอิง เป็นวิชาบังคับบ้างไหมนะคะ ถ้ายังไม่มีก็ควรจะต้องคิดอ่านจัดตั้งได้แล้ว หรือถ้ามีแล้วก็ต้องทำให้รู้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องยึดถืออย่างยิ่ง

เห็นด้วยอย่างยิ่ง บางมหาวิทยาลัย ยังมีการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ให้นักศึกษาอีกด้วย ควรตรวจสอบอย่างยิ่ง เพราะเป็นต้นแบบสอนให้บัณฑิต ทุจริตเอง

เป็นความจริงที่น่าอาย แต่ก็เป็นสิ่งที่นิยมกระทำกันทั่วไป..

Gotoknow...ช่วยสร้างสรรค์สังคมไทย .... ให้เป็นสังคมปลอดการขโมยผลงานหรือ ขโมยทางความคิด....

เห็นด้วยค่ะท่าน อจ.หมอค่ะ

  • อาจารย์จันBlank คะ ขออนุญาตแวะมาแก้ข่าวค่ะ
  • วิทยุการบินแห่งประเทศไทย เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับการควบคุมจราจรทางอากาศ  (Air Traffic Control) ไม่ใช่สถานีวิทยุค่ะ สำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯศูนย์ควบคุมการบินมีหลายภูมิภาค/หอบังคับการบินก็มีหลายจังหวัดในประเทศ ที่หาดใหญ่ก็มีค่ะ อยู่ใกล้ ๆ กับสนามบินเลยค่ะ
  • ต้องขออภัยจริง ๆ ที่ไม่ได้เปิดเผยสถานะในที่ทำงานสักเท่าไหร่ จึงอาจจะทำให้เข้าใจชื่อองค์กรคลาดเคลื่อนไปได้ รู้สึกผิดเลยค่ะ
  • ขอบพระคุณมากค่ะที่ให้เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานเพื่อ gotoknow 

ดังตัวอย่างบันทึกนี้ การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอก ซึ่งเป็นผลงานของอาจารย์ท่านหนึ่งครับ

 

มีแบบอย่างที่ดีในสังคม ก็จะเป็นส่วนดีที่หยิบยกเรื่องนี้ นับเป็นความเสี่ยงทุกสถาบันค่ะ

สวัสดีค่ะ ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นค่ะ ในฐานะที่เป็นครูอยู่ในวงการวิชาการแบบครู ๆ ขอบอกว่าแม้แต่ผลงานวิชาการของครูที่ทำวิทยฐานะชำนาญการพิเศษทั้งหลายขอยืนยันว่า 100 เปอร์เซ็นต์ผ่านการจ้างทำผลงานมาทั้งนั้น ใครที่ทำเอง ไม่จ้าง ไม่จ่ายก็ไม่สามารถผ่านได้เรื่องนี้ซับซ้อนต้องพูดกันยาวมาก ดิฉันบอกได้สั้น ๆ ว่า แม้แต่ครูซึ่งถือเป็นปูชนียบุคคลยังทำได้ขนาดนี้ แล้วจะให้เด็กรุ่นหลังเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของชาติได้อย่างไรหดหู้อย่างบอกไม่ถูก สู้คนเดียวรู้สึกท้อค่ะ

  • ประเด็นใหญ่เลยนะครับ :-) คงกระทบกันทั้งประเทศ

การลอกผลงานวิชาการเป็นปัญหาที่พบเห็นกันอยู่บ่อย ๆ โดยไม่รู้ว่าเจ้าตัวคนทำคิดอย่างไร ดิฉันก็เคยเจอกับตัวเองดังที่เคยบันทึกไว้ที่นี่

ดิฉันยังพบวิธีการอีกหลายรูปแบบ เช่น

  • การ "สวมสิทธิ" มีคนที่ทำวิจัยโดยไม่บอกรายละเอียดว่าทำที่ไหน เมื่อใด เมื่อเขียนผลงานเพื่อส่งตีพิมพ์หรือเพื่อการอย่างอื่นก็อ้างเลขที่ IRB ของโครงการวิจัยที่มีหลักฐานว่าได้รับทุนสนับสนุนฯ ทั้ง ๆ ที่รายละเอียดและวัตถุประสงค์ไม่ตรงกัน
  • งานวิจัยเรื่องเดียวกัน แต่แจ้งวันเดือนปีและสถานที่ที่ทำวิจัย รวมทั้งงบประมาณ แตกต่างกัน
  • ใส่ชื่อผู้ร่วมวิจัยที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในด้านนั้น ๆ โดยบางเรื่องตรวจสอบแล้วผู้ที่มีชื่ออยู่ในผลงานนั้น ไม่รู้เรื่องใด ๆ
  • ฯลฯ

แม้จะรู้ ๆ กันว่ามีการทำแบบนี้ แต่มักจะหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เอาจริงเอาจังจัดการความเสี่ยงด้านนี้ไม่ค่อยได้ น่าเศร้าที่บางคนไม่กล้าจะทำอะไรในเรื่องที่จะทำให้ตนเองไม่เป็นที่ชื่นชอบ

วัลลา

เพิ่มเติม Link ของโครงการที่คัดลอกผลงาน ตาม Link เดิมไปกลายเป็นเรื่องอื่นเสียแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท