รายการสายใย กศน. 23, 30 ก.ค., 6, 13, 20, 27 ส.ค.55


23 ก.ค.55 เรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาครู กศน.2555", 30 ก.ค.55 เรื่อง “การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน” , 6 ส.ค.55 เรื่อง “ข้าวไทย กศน.จังหวัดอ่างทอง”, 13 ส.ค.55 เทป ซ้ำวันที่ 6 ส.ค.55, 20 ส.ค.55 เรื่อง "กศน.สุโขทัยกับงานสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น", 27 ส.ค.55 เรื่อง "การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของ กศน.จังหวัดเชียงใหม่"

รายการสายใย กศน.  วันที่  27  สิงหาคม  2555

 

         เรื่อง “การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของ กศน.จังหวัดเชียงใหม่”

 

         ดำเนินรายการโดย นายวสันต์  บุญหนุน
         วิทยากร คือ
         - นายนรา  เหล่าวิชยา  ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่
         - นายนิติธร  เทพเทวิน  ผอ.กศน.อ.เมืองเชียงใหม่
         - ศศิธร  ไชยชนะ  ครูชำนาญการ กศน.อ.เมืองเชียงใหม่
         - พันธ์ทิพย์  วังแผน  หัวหน้า กศน.ตำบลวัดเกตุ
         - MISS.Nanshweaein ( เรือนคำ )  อาสาสมัครอาเซียน กศน.ตำบลศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ ( เป็นชาวไทยใหญ่ จากรัฐฉาน ประเทศพม่า )
         - ชัญญา  อินทรวิมลเมธา  อาสาสมัครอาเซียน กศน.ตำบลวัดเกตุ

 

         จังหวัดเชียงใหม่มีแรงงานต่างชาติมาก และมีนักท่องเที่ยวปีละ 5 ล้านกว่าคน  เปิดศูนย์อาเซียนศึกษาที่ กศน.อำเภอทุกอำเภอ  โดยเฉพาะ อ.เมืองฯส่วนกลางมอบให้เป็นศูนย์ภาษานำร่องอยู่แล้ว   ได้วิทยากรจากประเทศต่าง ๆ มาช่วยสอนในลักษณะปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เสริมจากการเรียนโดยการฟังจากคอมพิวเตอร์  ทั้งนี้เพื่อให้พร้อมที่ประชาคมอาเซียนเหมือนบ้านเดียวกันเมื่อถึงปี 2558
         บุคลากรในสังกัดเป็นกลุ่มแรกที่ต้องพัฒนา  แต่เฉพาะบุคลากรที่มีน้อยนี้จะดำเนินการไม่ทัน  อ.เมืองฯจึงร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ เช่น กำนัน  พ่อหลวง ( ผู้ใหญ่บ้าน )  และอื่น ๆ ให้เข้ามาช่วย  โดยให้ผู้นำในท้องถิ่นทำความเข้าใจ และไปสื่อสารถ่ายทอดต่อกับประชาชน  ด้วยการจัดโครงการอบรมผู้นำหมู่บ้านในการประชุมประจำเดือน 3-5 เดือน    ทำ MOU และใช้สื่อ+หลักสูตรระยะสั้น ( 10 ชม., 15 ชม. ) ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่   รวมทั้งมีการจัดค่ายภาษา  จัดโครงการทัศนศึกษาประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของประเทศเพื่อนบ้าน
         ในระดับตำบลจัดให้มีอาสาสมัครอาเซียนเป็นชาวต่างชาติ ตามอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านลงไปด้วย

 

         มีบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องอาเซียนศึกษา  จัดทำโดย อ.ศศิธร  ไชยชนะ ครูชำนาญการ กศน.อ.เมืองเชียงใหม่ สำหรับนักศึกษาระดับ ม.ปลาย และประชาชนทั่วไป    ( มีการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างประเทศด้วย )

 

         การจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาของ อ.เมืองฯ จัดให้มีศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีของประเทศในอาเซียนด้วย โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน

 

         มีการจัดให้เป็นวิชาบังคับเลือกวิชาอาเซียนศึกษา สำหรับ กศ.ขั้นพื้นฐาน ทั้งในระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย โดยใช้หลักสูตร กศน.ภาคเหนือ

 

         ต.วัดเกตุ อ.เมืองเชียงใหม่ มีชาวต่างชาติมาก จึงขอความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายจัดให้ความรู้ทางเสียงตามสายทุกวัน เวลา 18:00 น.  และมีชาวต่างประเทศโดยตรงมาช่วยสอนภาษาพม่า ภาษาอังกฤษ ที่ กศน.ตำบล ทุกวัน เวลา 17:30 – 19:30 น.

 

         คนไทยสนใจภาษาเขา น้อยกว่าเขาสนใจภาษาไทย  เมื่อถึงการแข่งขันในปี 58 เราจะแพ้เขา  เรื่องภาษาเป็นจุดอ่อนของประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 9 ใน 10 ประเทศ

 

         อ.เมืองฯมีการฝึกอาชีพให้แรงงานที่มีฝีมือค่อนข้างน้อยควบคู่ไปด้วย มีศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนในแต่ละตำบลโดยเพิ่มเติมเรื่องภาษาเข้าไปด้วย

 

         หลังจากมีอาสาสมัครอาเซียน มีความเปลี่ยนแปลง เช่น ผู้ขายในถนนคนเดิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิษย์ กศน. สามารถชวนชาวต่างประเทศพูดคุยได้ ( แต่ยังเขียนไม่ได้ )    อาสาสมัครอาเซียนเรียน กศน.ขั้นพื้นฐานด้วย

 

         ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนก็ตื่นตัวในเรื่องนี้ มีการสอนภาษาไทยและภาษาต่าง ๆ เช่นเดียวกับประเทศไทย

 

         เป้าหมายต่อไป จะขยายศูนย์อาเซียนศึกษาสู่ระดับตำบล ให้มีศูนย์ฯทุกตำบล


 

 

 

 

 

 

รายการสายใย กศน.  วันที่  20  สิงหาาคม  2555

 

         เรื่อง “กศน.สุโขทัยกับงานสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น”

 

         ดำเนินรายการโดย นายวสันต์  บุญหนุน
         วิทยากร คือ
         - นายปัณณพงศ์ ท้าวอาจ  ผอ.กศน.จังหวัดสุโขทัย
         - นายสมชาย  เดือนเพ็ญ  รองปลัดเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
         - นายจำรัส  แม้นเหมือน  ข้าราชการบำนาญ กรรมการ กศน.ตำบลเมืองเก่า  และศิษย์เก่า กศน.
         - รัชดา  ศรีปาน  บรรณารักษ์ชำนาญการ ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสัชนาลัย

 

         กศน.จังหวัดสุโขทัย ร่วมสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยดึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในวัฒนธรรมประเพณีการละเล่น เข้ามาสู่การเรียนรู้และเผยแพร่

 

         สำเนียงสุโขทัย จะพูดเสียงเอกเป็นเสียงจัตวา เช่น เก่า เป็นเก๋า ใส่เป็นใส อร่อยเป็นอร๋อย หล่อเป็นหลอ ถิ่นเป็นถิน  หนังสื่อ ลายสื่อไทย  ภาษาสำเนียงสุโขทัยจะพูดกันใน 10 จังหวัด จากชัยนาทขึ้นไปถึงอุตรดิตถ์ ( อาณาจักรสุโขทัยเก่า )   ประเพณีการแต่งงานของชาวอาณาจักรสุโขทัยเก่า เรียกว่าประเพณีกินสี่ถ้วย  โดยมีขนม 4 ชนิด จัดเลี้ยงที่บ้านเจ้าสาว คือ “ไข่กบ นกปล่อย มะลิลอย อ้ายตื้อ” ไข่กบคือเม็ดแมงลักแช่น้ำให้บาน   นกปล่อยคือลอดช่องใบเตย   มะลิลอยคือข้าวตอก   อ้ายตื้อคือข้าวเหนียวดำมูน  กินรวมกัน ผสมน้ำกะทิ   ขบวนเจ้าบ่าวต้องมาพร้อมต้นไม้ 4 ชนิด คือมะพร้าว 2 ต้น  หมาก 2 ต้น  กล้วยน้ำว้า 2 ต้น  อ้อย 2 ต้น  เพื่อให้ลูกที่จะเกิดมาได้มีสวนเหมือนครัวเรือนอื่นๆ   มีเจดีย์ทรงดอกบัวตูมและพระพุทธรูปปางลีลาเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ได้เป็นมรดกโลก   ในอดีตมีเตาทุเรียง เป็นแหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอุษาคเนย์

 

         บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสัชนาลัย ได้รวบรวมศิลปวัฒนธรรมประเพณีของศรีสัชนาลัยไว้ เช่นประเพณีแห่ช้างบวชนาค ( ประเพณีของหาดเสี้ยว เป็นวัฒนธรรมของไทยพรวน )  จัดทำเป็นเอกสารวิถีชีวิตไทยพรวนเผยแพร่ รวมทั้งทำแบบจำลอง ให้ผู้สนใจศึกษา   ไทยพรวนมีผ้าซิ่นตีนจก 9 ลาย เป็นเอกลักษณ์ของศรีสัชนาลัย

 

         ภาคเรียนหน้าจะมีวิชาบังคับเลือก สำหรับนักศึกษา กศน. ในจังหวัดสุโขทัย ให้เรียนรู้เกี่ยวกับสุโขทัย เช่นเรื่องพ่อขุนรามคำแหงฯ สืบทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ให้รู้รากเหง้าทางภาษา ทางมรดกวัฒนธรรม เพื่อเป็นฐานในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

 

         สุโขทัยมีคำขวัญประจำจังหวัดว่า “มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข”  สุโขทัยเป็นรากเหง้าของพระพุทธศาสนาของชาติไทยในปัจจุบัน  มีทั้งฝ่ายมหายานและฝ่ายหินยาน  สมัยพ่อขุนรามคำแหงพระองค์ได้นิมนต์พระสงฆ์จากเมืองนครศรีธรรมราชมาเผยแพร่ที่เมืองสุโขทัย

 

         ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสัชนาลัยเปิดบริการทุกวัน ( เว้นวันนักขัตฤกษ์ )  จัดกิจกรรมทั้งเชิงลุก ( ออกหน่วยในชุมชน ) และเชิงรับ ( ให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการในห้องสมุด )  จัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ชาวสุโขทัยซึมซับศิลปวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ของสุโขทัย


 

 

 

 

 

รายการสายใย กศน. วันที่  13  สิงหาคม  2555

 

         เทป ซ้ำวันที่ 6 ส.ค.55 เรื่อง “ข้าวไทย กศน.จังหวัดอ่างทอง”


 

 

 

 

 

 

รายการสายใย กศน.  วันที่  6  สิงหาาคม  2555

 

         เรื่อง “ข้าวไทย กศน. จังหวัดอ่างทอง”

 

         ดำเนินรายการโดย นายวสันต์  บุญหนุน
         วิทยากร คือ
         - นายวีระ  บุญประสิทธิ์  ผอ.กศน.อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
         - นายสมบัติ  เกตุถาวร  ครูอาสาสมัครฯ กศน.อำเภอไชโย
         - นายสมชาย  สุนทรนันท์  เกษตรกรภูมิปัญญาไทยอำเภอไชโย
         - นายสมชาย  ชนะภัย  เกษตรกรภูมิปัญญาไทยอำเภอแสวงหา

 

         พื้นที่ 80 % ของจังหวัดอ่างทอง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกข้าวได้มากที่สุดในเขตภาคกลาง สัญลักษณ์ของจังหวัดอ่างทองเป็นจังหวัดเดียวที่มีรวงข้าว ( อยุธยาเป็นเขตโรงงานอุตสาหกรรมไปมากแล้ว )   เมื่อ 10 ปีที่แล้ว กศน.ได้ส่งเสริมขบวนการทำนาแบบ IPM ( ทำนาแบบผสมผสาน )  กศน.อ่างทองได้ส่งเสริมการทำนาแบบผสมผสานโดยใช้ชีวภาพ ( ข้าวปลอดสารพิษ ) ลดต้นทุนการทำนา อย่างจริงจังทั้ง 7 อำเภอมานานแล้ว เพื่อให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตปลอดภัย  เริ่มโดยการทำเวทีชาวบ้านจุดประกายให้ชาวบ้านมีจิตสำนึกในการใช้สารชีวภาพ ให้รู้อันตรายของสารเคมีซึ่งจะส่งผลให้ส่งออกข้าวไม่ได้ด้วย  การรณรงค์ให้ความรู้สร้างจิตสำนึกนี้ประสบความสำเร็จมาก   ครู กศน.ทั้ง 7 อำเภอ ผ่านการฝึกอบรมรับความรู้ แล้วไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแปลงนาจริง ๆ ในลักษณะของหลักสูตรระยะสั้น กลุ่มละ 16 สัปดาห์  ลงสำรวจแมลงตัวดีตัวร้ายในแปลงนาทุกสัปดาห์  ( 4 ปีหลังนี้ให้จัดอำเภอละ 2 กลุ่ม/ปี กลุ่ม ละ 20 คน ปัจจุบันมีอำเภอละ 8 กลุ่ม ) มีการเปรียบเทียบกันระหว่างข้าวที่ผลิตโดยใช้สารเคมีกับข้าวที่ใช้ชีวภาพ   อีกลักษณะหนึ่งจัดเป็นทักษะอาชีพการแปรรูปเป็นข้าวสารปลอดสารพิษ และผลิตพันธุ์อื่น ๆ เช่น ขนมจีน   นอกจากนี้ จัดเป็นโครงงานของนักศึกษา กศ.ขั้นพื้นฐานที่สนใจ เช่น โครงงานการหว่านข้าวโดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่แตกต่างกัน การทดสอบความงอกของเมล็ด   ผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้นคือชาวนาทั้ง 100 % ที่หัวไวใจสู้ พร้อมที่จะปรับเปลี่ยน  ในเบื้องต้นจะ ลด การใช้สารเคมี เพราะถ้า งด เลยจะส่งผลเรื่องผลผลิต

 

         เกษตรกรที่ใช้สารเคมีจะมีอาการเจ็บป่วย เช่นนายสมชาย  สุนทรนันท์ จึงหันมาเข้าโครงการนี้  ได้ผลผลิตน้อยกว่าการใช้สารเคมีเล็กน้อย แต่สุขภาพร่างกายดีไม่อายุสั้น และลดต้นทุนลงประมาณ 10 เท่า  ( ยังมีเกษตรกรที่ไม่เห็นด้วย )
         นายสมชาย  ชนะภัย เป็นอีกคนหนึ่งที่เจ็บป่วยเพราะสารเคมี  ทำนา 60 ไร่ หันมาใช้สารชีวภาพ เริ่มทดลองกับสวนมะม่วง ได้ผลดีลูกดก จึงนำมาใช้กับข้าว 5 ไร่ก่อน ได้ข้าว 6 เกวียน 30 ถัง ( นาเคมี 5 ไร่ ได้ 4 เกวียนกว่า )  ต้นทุนก็ลดลงมาก จากการฉีดสารเที่ยวละ 300 บาท เหลือเที่ยวละ 20 บาท รวมรายได้ที่หักรายจ่ายแล้วมากขึ้น 1 เท่าตัว ต่อมาจึงทำทั้ง 60 ไร่ ได้ไร่ละ 80-90 ถัง  ทำมา 10 กว่าปีแล้ว   นาข้างเคียงใช้เคมี ต้นทุนไร่ละ 5,000 บาท  แต่ใช้สารชีวภาพต้นทุนไร่ละ 2,600 บาท

 

         เครือข่ายที่สนับสนุนงานข้าวไทยนี้ นำโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดหลายท่านที่ผ่านมา ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี เหมือนทำ MOU กับ กศน. ให้ กศน.เป็นผู้จัดขบวนการเรียนรู้ให้แก่ประชาชน  นอกจากนี้ หน่วยงานทางด้านการเกษตร ด้านพัฒนาที่ดิน ล่าสุดหอการค้าจังหวัดอ่างทอง ร่วมให้การสนับสนุนส่งเสริมเป็นอย่างดี มีการพาเกษตรกรไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวต่าง ๆ ที่ศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดปทุมธานี  อีกหน่วยงานคือมูลนิธิการศึกษาไทย ทำ MOU กับ กศน. เรื่องวิจัยพันธุ์ข้าวที่เหมาะกับพื้นที่แต่ละจังหวัด
         จังหวัดอ่างทองทำการวิจัยเรื่องพันธุ์ข้าวและส่งเสริมการใช้สารชีวภาพกับพืชผักผลไม้ นำร่องที่ กศน.อำเภอไชโย อำเภอแสวงหา อำเภอสามโก้  ในปีงบประมาณหน้า กศน.จะส่งเสริมปูพรมทั้งประเทศ  
         ปัจจุบันคนอ่างทองนิยมบริโภคข้าวพันธุ์หอมมะลิ แต่ปลูกที่อ่างทองไม่หอมไม่นุ่มเหมือนปลูกที่ภาคอิสาน ทดลองปลูก 3 ปี จึงหอมและนุ่มขึ้น ( ข้าวหอมมะลิปลูกได้ปีละครั้งเดียว )  ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ต่าง ๆ ยังไม่ถึงขั้นการผสมพันธุ์กัน    ในการลดต้นทุนมีเป้าหมายการลดต้นทุน 30 % ซึ่งแต่ละพื้นที่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี  กำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยสมุนไพร  ซังข้าวที่เกี่ยวแล้วไม่เผา ใช้สารชีวภาพสลายใน 20 วัน แล้วทำนาหว่านข้าว จะแตกกอไว เขียวทนโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยในขั้นแรก  ขั้นต่อมาจึงใส่ปุ๋ยชีวภาพซึ่งมีส่วนผสมหลายอย่างเช่นกล้วย มะละกอ หน่อไม้  ( สารชีวภาพจะทำให้แมลงศัตรูพืชตายช้า อย่างน้อย 3 วันจึงจะตาย )   มีการทดลองพันธุ์ข้าวประทุมธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท กข.29 กข.31 ล็อคละ 10 วา  ( เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะกำจัดยาก ชอบกัดกินข้าวพันธุ์หอมปทุมธานี  ในเบื้องต้นพบว่าข้าวพันธุ์ กข.31 จะต้านทานเพลี้ยกระโดด เหมาะกับจังหวัดอ่างทอง แต่เป็นพันธุ์สูงและล้ม ถ้าไม่นำน้ำเข้านาสูงและใช้ปุ๋ยชีวภาพต้นจะแข็งแรงไม่ล้ม )

 

         ผลผลิตข้าวปลอดสารพิษ จะนำมาเข้าโรงสีเอง ( ต่อไปจะทำโรงสีชุมชน )  แยกจำหน่ายโดยเฉพาะ ตอนนี้จำหน่ายเพื่อการบริโภคในชุมชนเองยังไม่พอ  ถ้าจะส่งจำหน่ายทั่วไปจะแพ็คให้สวยงาม   ต่อไปจะพัฒนาพันธุ์ข้าวเป็นพันธุ์ของจังหวัดอ่างทองโดยเฉพาะ


 

 

 

 

 

 

รายการสายใย กศน.  วันที่  30  กรกฎาคม  2555

 

         เรื่อง “การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน”

 

         ดำเนินรายการโดย นายวสันต์  บุญหนุน
         วิทยากร คือ
         - จีระนันต์  เสนเผือก  ผอ.กศน.อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
         - เดือนฉาย  ทามณี  หัวหน้า กศน.ตำบลแร่
         - สายสุณี  ไชยหงษา  วิทยากรวิชาชีพ
         - กรกัลยา  การุญ  หัวหน้า กศน.ตำบลพังโคน
         - สุนทร  แสงลุน  วิทยากรวิชาชีพ

 

         เครือข่ายต่าง ๆ ทุกภาคส่วนในอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร บูรณาการกันพิจารณาเลือกอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้านที่ดีอยู่แล้วตามวิถีชีวิตชาวบ้านอิสานที่ทำอยู่แล้วมาต่อยอดให้ก้าวสู่ตลาดสากล สู่วัฒนาธรรมใหม่ สามรถแข่งขันในระดับอาเซียน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  คืออาชีพการทำผ้าย้อมสีธรรมชาติจากมูลควาย และอาชีพสานตะกร้าลายขิด  โดย กศน.อ.พังโคน จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพในลักษณะของการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนและอาชีพหลักสูตรระยะสั้น 50 หรือ 100 ชั่วโมง โดยมีการฝึกอบรมและพาไปศึกษาดูงานหลายรุ่นแล้ว และช่วยประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์โดยนำไปจัดนิทรรศการออกร้านจำหน่าย

 

         ได้รับแนวคิดเรื่องการใช้มูลควายย้อมเส้นฝ้ายจากพระอาจารย์ดัสกร มหาภิญโญภิกขุ มาทดลองพัฒนา พบวิธีการย้อมฝ้ายที่ดีคือใช้ขี้ควายสดมาใส่น้ำ หมักไว้ 2 วัน ให้ตกตะกอน แล้วกรองน้ำมาย้อมโดยการต้ม ได้สีโทนเขียว เขียวเข้มเขียวอ่อน ย้อมแล้วซักล้างผึ่งแห้ง  ย้อมแต่ละครั้งจะได้ความเข้มของสีไม่เท่ากัน ถ้าจะให้เท่ากันต้องย้อมพร้อมกัน  จากนั้นกำจัดกลิ่นด้วยการนำสมุนไพรพวกข่าตะไคร้ใบมะกรูดมาต้มอีกครั้งประมาณครึ่งชั่วโมง  ( มีการใช้ดินและเปลือกไม้มาย้อมด้วย )  แล้วทอเป็นผ้า แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นของตกแต่งบ้าน หมอนอิง เสื่อ เบาะรองนั่ง เปลญวน ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ที่นอนเพื่อสุขภาพ ผ้าชิ้นสำหรับตัดเสื้อผ้า ( ส่วนราชการใส่เป็นเสื้อประจำอำเภอ )   ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือตุ๊กตาควาย    จัดที่หมู่บ้านต้นแบบก่อนแล้วขยายสู่หมู่บ้านอื่น  ปัจจุบันติดตลาด ส่วนใหญ่ได้รับออเดอร์จากต่างประเทศ ผลิตจำหน่ายไม่ทัน จำหน่ายได้เดือนละ 3-4 หมื่นบาท   กากที่เหลือจากการย้อมก็นำมาทำเป็นกระถางต้นไม้ ปลูกต้นไม้โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ย   ( ผอ.กศน.อ. ได้ฉายาว่า “ผอ.ผ้าขี้ควาย” )  จัดเป็นศูนย์พัฒนาอาชุมชนเพื่อเยาวชน เพื่อถ่ายทอดอาชีพนี้ให้ยั่งยืนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน  และจะทำเป็นแบรนด์ตำบล-อำเภอ


         ตะกร้าสานลายขิดจากต้นกกผสมหวาย

         เป็นผลิตภัณฑ์ของ กศน.อ.พังโคน มีที่มาจากการที่ชาวบ้านทอเสื่ออยู่แล้ว  กศน.ไปจัดการศึกษาต่อยอด ปรับประยุกต์ให้มีลวดลาย รูปแบบใหม่ เพิ่มสีสัน  โดยจัดกระบวนการให้ความรู้เติมเต็มปัญญา ทั้งการศึกษาพื้นฐาน การศึกษาอาชีพระยะสั้น 100 ชั่วโมง การศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคมและชุมชนลงไปในกลุ่มของคุณป้าสุนทร ( เดิมคุณป้าได้ความรู้เรื่องการจักสานจากต้นกกนี้มาจากการการดูรายการทีวี แล้วฝึกทำเอง )   เป็นกลุ่มที่แอคทีฟมาก ครูผิดเวลา 5 นาที จะโทร.ตาม   เป็นศูนย์ฝึกอาชีพที่รับการศึกษาดูงานเป็นประจำ เช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาดูงานเมื่อ ม.ค.55    อยู่ในเขตตำบลพังโคน ใกล้สำนักงาน กศน.อำเภอ  ผลิตภัณฑ์ได้ระดับ 5 ดาวของจังหวัด ขยายเป็น OTOP  ได้ออเดอร์ตลอด ขายดีมาก ผลิตไม่ทัน  ให้คุณป้าเป็นครูขยายเครือข่ายไปหลายอำเภอ ทำได้ทุกเพศทุกวัย


 

 

 

 

 

รายการสายใย กศน.  วันที่  23  กรกฎาคม  2555

 

         เรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาครู กศน.2555”

 

         ดำเนินรายการโดย นายวสันต์  บุญหนุน
         วิทยากร คือ
         - นายสัจจา  วงศ์สาโรจ  ผู้อำนวยการ กลุ่มการเจ้าหน้าที่ 
         - นายสาธิต  เจรีรัตน์  ครูเชี่ยวชาญ สถาบัน กศน.ภาคตะวันออก

 

         ครูในสำนักงาน กศน. มีหลายกลุ่ม กลุ่มแรกคือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  อีกกลุ่มหนึ่งคือพนักงานราชการ เช่นตำแหน่งครูอาสาสมัคร และตำแหน่งครู กศน.ตำบล  มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับนักศึกษาและประชาชน

 

         ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครูของ กศน. จะมีแผนในแต่ละปี เพื่อให้ครูมีความรู้ มีทักษะ มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน  เพื่อส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพ    แผนในการพัฒนาปี 2555 เช่น
         - การพัฒนาครูก่อนการแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะ ( ชำนาญการ เชี่ยวชาญ ) 
         - พัฒนาครูก่อนการแต่งตั้งให้เปลี่ยนตำแหน่ง เช่น เปลี่ยนจากครูเป็นรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยสำนักงาน กศน.จังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด
         - การพัฒนาครูอาสาสมัคร / ครู กศน.ตำบล  ปีนี้ 6 รุ่น ๆ ละ 800-900 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 23 คน มี ผอ.กศน.อำเภอ เป็นพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม  มีประเด็นให้ถกแถลงในระบบกลุ่มและสรุปเป็นสาระสำคัญนำไปสู่การปฏิบัติได้    ( ในจังหวัดภาคใต้ จะมีการพัฒนาครูปอเนาะ    สำหรับครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะได้สิทธิพิเศษในเรื่องระยะเวลาการลาพักผ่อน การขอเครื่องราชฯ การขอเลื่อนวิทยฐานะ และได้รับบำเหน็จเดือนละ 2,500 บาท)
         - การพัฒนาครูในเรื่องความรู้เฉพาะสาขา โดย กศน.อำเภอ/เขต  สถาบัน กศน.ภาค  สำนักงาน กศน.จังหวัด  กลุ่มสำนักงาน กศน.จังหวัด  หรือกลุ่มศูนย์ส่วนกลาง

 

         ครู จะต้องมีหลักการสอนที่ดี ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ส่วน
         1. ครูต้องรู้ว่าจะสอนอย่างไร
         2. ครูต้องรู้ว่าการจะเรียนรู้นั้น จะเรียนรู้อย่างไร
         3. ครูต้องรู้ว่าการสอนของครูนั้น ดีหรือไม่ดีอย่างไร

 

         หลักการสอนแบบ 8 ขั้นตอน
         1)  เตรียมความพร้อมก่อนที่จะสอน ( สถานที่ ห้องเรียน สื่ออุปกรณ์ต่าง )
         2)  นำเข้าสู่บทเรียน
         3)  ดึงประสบการณ์เดิมจากผู้เรียนรายบุคคล  ซึ่งผู้เรียนมาจากหลากหลายอาชีพ ดึงให้มามีส่วนในการจัดกระบวนการเรียนการสอน
         4)  รวมกลุ่ม เพื่อแชร์ประสบการณ์ รวมประสบการณ์
         5)  ให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานกลุ่ม ในประเด็นที่กำหนด
         6)  ครูเติมเต็ม ตามเนื้อหาสาระตามหลักวิชา
         7)  นำไปสู่วิถีชีวิต นำไปสู่การปฏิบัติ
         8) บันทึกการสอนในครั้งนี้ ว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร ควรพัฒนาอย่างไร
         ( เตรียมความพร้อม อุ่นเครื่อง เรื่องรายบุคคล รวมพลช่วยกันสร้างสรรค์ผลงาน สื่อสารวิธี มากมีวิชาการ สืบสานรายคน สรุปผล กศน. )  ขอรับเอกสารได้ที่สถาบัน กศน.ภาคตะวันออก  หรือจังหวัดจัดอบรมโดยแจ้งขอรับการสนับสนุนวิทยากร ( หลักสูตร 3 วัน )

 

         ในขณะจัดการเรียนการสอน ครูต้องใช้ยุทธศาสตร์ “การสังเกต” เป็นอาวุธสำคัญ  สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่ากล้าคิดกล้าทำกล้าพูดกล้าแสดงไหม  โดยครูต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพูดเป็น พูดหน้าชั้นได้ สื่อสารได้ ยอมรับความคิดเห็นความแตกต่าง รู้จักเป็นผู้นำผู้ตาม เป็นต้น  และสนับสนุนส่งเสริมด้านที่โดดเด่นของเขา  หรือแก้ปัญหาเช่นฝึกให้พูดในเรื่องง่าย ๆ ก่อน

 

         ตามกรอบอัตรากำลัง อำเภอขนาดเล็กจะมีครู 5 คน รวมทั่วประเทศต้องมีครูประมาณสี่ถึงห้าพันคน  แต่ขณะนี้มีข้าราชการอยู่เพียงสองพันกว่าคน  จึงใช้เงินอุดหนุนรายหัวจ้างครู ศรช. มาช่วยสอน  และได้ปรับเปลี่ยนเป็นพนักงานราชการตำแหน่งครู กศน.ตำบลประมาณ 8,400 กว่าอัตรา  รวมกับครูอาสาสมัครซึ่งเปลี่ยนจากลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานราชการในปี 2548 มาช่วยจัดการเรียนการสอน เดิมครูอาสาฯมีบทบาทหน้าที่สอนผู้ไม่รู้หนังสือ ปัจจุบันเพิ่มบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ   ปัจจุบันมีพนักงานราชการประมาณ 14,000 คน ควรจะพอ แต่จำนวนผู้เรียนเพิ่มขึ้นอีกเพราะต้องสอนประชาชนตั้งแต่แรกเกิดตลอดชีวิตจนตาย จึงไม่พอ  ต้องพัฒนาให้ครูมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

         ขณะนี้มีการประสานงานกับคุรุสภา ให้รับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูให้มหาวิทยาลัยเปิดสอนครู กศน.ที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  มีผู้แสดงความจำนงจะเข้าเรียนสามถึงสี่พันคน   เมื่อมีใบประกอบวิชาชีพครูแล้วก็สามารถสมัครสอบเป็นครูผู้ช่วย กศน.ได้

 

         ในด้านการเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558  จะมีการจัดอบรมให้ความรู้ผู้บริหารเรื่องภาษาอังกฤษที่จะใช้ในการสื่อสารในประชาคมอาเซียน   และกลุ่มแผนงานมีแผนอื่น ๆ อีก    ในเรื่องของการพัฒนาครูมีการให้ไปเรียนรู้ในประเทศเพื่อนบ้าน  และใหครูจากประเทศจีนมาสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาต่าง ๆ   มีโครงการเพชรน้ำหนึ่งให้ครูไปอยู่โฮมสเตย์ในต่างประเทศ 3 อาทิตย์เพื่อเรียนรู้ภาษาอังกฤษ/การอยู่ร่วมกัน/การทำงาน  แล้วกลับมาถ่ายทอด   มีการเผยแพร่ความรู้เรื่องอาเซียน

 

         ( เรื่องปรับฐานเงินเดือนข้าราชการครูฯเพิ่มขึ้นเป็นบัญชีเงินเดือนใหม่  กำลังส่งเข้า ครม.  ต้องรอบัญชีเงินเดือนใหม่ของครูก่อน )

 

         เดือน ก.ย.55 นี้จะมีข้าราชการครูรวม ผอ. เกษียณประมาณ 80 คน  ต้องรอ ค.พ.ร.คืนอัตราเกษียณมาให้ก่อนจึงจะบรรจุคนใหม่แทนได้ บางครั้งต้องรอเป็นปี จึงขาดครูช่วงหนึ่ง

 

         การเป็นครูต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงจะขอต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ ( ต่อทุก 5 ปี )

 

         กศน. ขาดครูสอนคนพิการ ซึ่งมีสเป็คเฉพาะ ( ปกติต้องวุฒิปริญญาโท หรือเคยสอน/ผ่านการอบรมมาก่อน ) และเราไม่มีตำแหน่งด้วย จึงทำในลักษณะเสริม แต่ก็มีผู้เรียนที่เป็นคนพิการมาก

 

         ครู กศน.ต้องศึกษาหาความรู้ให้ทันสมัย สอนให้ผู้เรียนมีความรู้จริง และเป็นแบบอย่างที่ดี คือหัวใจสำคัญของการเป็นครู
         ในฐานะที่เป็นครูสอนประชาชน ครูเองต้องตื่นตัวอยู่เสมอ ต้องพัฒนาตัวเองให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมบ้านเมืองและสังคมโลก


 

คำสำคัญ (Tags): #รายการสายใย กศน.
หมายเลขบันทึก: 495992เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2012 05:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอขอบคุณสำหรับอาหารสมองฉบับนี้ครับ..รอบรู้..ทันเหตุการณ์

ขอบคุณค่ะ..สำหรับความรู้การพัฒนาครู 2555

อ.เอกชัย เรื่อง ป.บัญฑิต ไปถึงไหนแล้วครับหลังจากสมัครไปยังไม่ได้ข่าวอะไรคืบหน้าเลย

 

เรื่องมหาวิทยาลัยที่คุรุสภาจะอนญาตให้เปิดสอน ป.บัณฑิตวิขาชีพครู แก่ครู กศน. มีที่ไหนบ้าง นั้น ต้องรอมติที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภา
โดยคณะกรรมการคุรุสภา ( บอร์ด ) จะประชุมในวันที่ 27 ก.ค.55 ฉะนั้น ต้องรอหลังวันที่ 27 ก.ค.55 นะครับ

มาเยี่ยมชมผลงานและให้กำลังใจครับ

เรียนถาม อ.เอกชัย ครับว่า ตอนนี้ เขาเปิดให้เรียน ป.บัณฑิตแล้วแต่เนื่องจากว่า มีคุณสมบัติที่กำหนดไว้ว่า ต้องมีใบอนุญาติสอน และใบอนุญาติสอนต้องได้รับก่อนการเปิดรับสมัคร ซึ่งก็คือ ผมต้องมีใบอนุญาติสอน มาตั้งแต่ก่อนที่เขาจะเปิดรับสมัคร... อยากถามว่า...ถ้าผมไม่มีใบนี้ถือว่าหมดสิทธิ์เรียน ป.บัณฑิต ใช่หรือไม่ครับ ฝาก อ.เอกชัย ช่วยหาคำตอบทีครับผม เพราะเท่าที่ทราบส่วนมากใบอนุญาติสอน จะไม่ค่อยมีกันเท่าไหร่น่ะครับ สำหรับ กศน.

ใช่ครับ ถ้าคุณสมบัติไม่ครบตามที่เขากำหนดก็ยังสมัครเรียนไม่ได้

1. ผมไม่แน่ใจว่าเขาจะยกเว้นให้ครู กศน.หรือไม่ ต้องรอถามคุรุสภา

2. รีบขอหนังสืออนุญาติปฏิบัติการสอนไว้ เทอมหน้าก็คงมีที่เปิดให้สมัครรียนอีก

ขอบคุณครับสำรหับความรู้ดีๆ ที่ท่านอาจารย์มอบให้

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ Blank Blank Blank

อ.เอกชัยครับ อยากสอบถามความคืบหน้าการสอบบรรจุข้าราชการ กศน. ในตำแหน่ง นักจัดการทั่วไป บรรณารักษ์ นักวิชาการศึกษา ว่าจะประกาศสอบเมื่อไหร่ครับ

ผมถามท่าน ผอ.กจ. ครั้งสุดท้ายเมื่อ 19 ก.ค.55 ท่านบอกว่า ก.ค.ศ.ยังไม่ออกหลักเกณฑ์ใหม่ ต้องรอก่อน ถ้า ก.ค.ศ.ออกหลักเกณฑ์ใหม่เมื่อใด จึงจะประกาศสอบ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท