ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อนทำ R2R


มักจะได้ยินเสียงบ่นพวกเราจากห้องแล็บบ่อยๆ ว่าปริมาณงานมากขึ้นทุกวัน อันนี้เป็นเรื่องจริงแท้แน่นอนไม่ต้องรอพิสูจน์ เพราะจำนวนผู้ป่วยที่มารพ.มอ.ในช่วงปี สองปีนี้ มากขึ้นมากๆๆ  

เสียงบ่นอีกอย่างหนึ่งมาจากความรู้สึกของวงการแพทย์กันเอง (โดยไม่มีหลักฐาน) ว่าการดูแลรักษาปัจจุบันพึ่งแล็บมาก และ นักเรียนแพทย์และแพทย์ใช้ทุน ไม่ค่อยทำแล็บง่ายๆเอง ที่ ward เอง เอะอะอะไร ก็ส่งแล็บไว้ก่อน ทำให้ตัวเองเกิดคำถามว่า ที่ว่ากันนั้น จริงหรือไม่  เพราะถ้าจริง ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการส่งตรวจแล็บมากขึ้น

พอดีกำลังจะไปรายงานผลการดำเนินงานของภาควิชาประจำปีในต้นเดือนหน้าให้ผู้บริหารรับทราบ  กะว่า จะเสนอให้คณะฯช่วยดูแลเรื่องการส่งแล็บให้เหมาะสม ไม่ให้ส่งเกินความจำเป็น 

กระแส R2R กำลังมาแรง ก็เลยปิ้งแว็บเกิดคำถามระหว่างที่เจอพี่อุไรวรรณ (ผู้ดูแลข้อมูลแล็บของภาคฯ) ที่หน้าลิฟท์ว่า เราน่าจะตรวจสอบสมมุติฐานหรือข้อสงสัยที่ว่า "การส่งตรวจเลือดในการรักษาผู้ป่วยแต่ละคนเพิ่มขึ้น" เป็นเบื้องต้นว่า มีโอกาสเป็นจริงตามข้อสงสัยหรือไม่   หากเป็นจริง เราก็จะได้บอกผู้บริหารได้อย่างมั่นใจ พร้อมกับมีข้อมูลประกอบ แล้วก็อาจนำไปสู่การหาคำตอบเพื่อคลายข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ต่อไปเช่น การส่งตรวจนั้นจำเป็นหรือไม่ หรือ ได้ใช้ผลแล็บนั้นเป็นประโยชน์ต่อคนไข้จริงๆ หรือไม่

จึงบอกให้พี่อุ วิเคราะห์ข้อมูล จำนวนการส่งตรวจเลือด (โดยใช้การทดสอบเลือด CBC ก่อน) ต่อผู้ป่วยแต่ละรายเปรียบเทียบหลายๆ ปี ว่าเพิ่มขึ้นตามสมมติฐานหรือไม่ 

ด้วยความรวดเร็วเพียงวันเดียว ก็ได้ข้อมูลดังนี้ค่ะ 

จำนวนการส่งตรวจ Test CBC จาก ทุก Ward ปี 2543 - 2548  
 ปี พศ.         จำนวน tests เฉลี่ย/ผู้ป่วย
2543           2.2
2544           2.3
2545           2.2
2546           2.2
2547           2.0
2548           2.1

เป็นอันว่า สมมุติฐานที่ว่า "มีการส่งตรวจเลือดในผู้ป่วยแต่ละรายเพิ่มขึ้น" ไม่น่าจะจริง และดูตัวเลขแล้ว เฉลี่ยส่งตรวจเลือดเพียง 2 ครั้งต่อการนอนโรงพยาบาล คิดว่าไม่มากมายแต่อย่างใด 

สรุปว่า คงไปบอกคณะฯ เรื่องที่จะให้ดูแลการส่งตรวจเลือดให้พอเหมาะพอสมคงไม่ได้  ดีนะ ที่ได้ตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลก่อน ก่อนที่จะหน้าแตก และ ก่อนที่จะลงแรงทำ R2R โดยมีข้อสงสัยนั้นไม่เป็นจริง

 

คำสำคัญ (Tags): #r2r#lab#cbc#ตรวจเลือด
หมายเลขบันทึก: 49580เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
อันนี้เห็นด้วยกับอาจารย์ และนำมาใช้กับตัวเองกับ R2R ด้วยค่ะ คือก่อนจะพูด หรือบอกอะไรที่เราสงสัยนั้น โดยส่วนตัว จะแอบเก็บ หรือทำ ข้อมูลนั้นไปบางส่วนค่ะ เมื่อเปิดเผย แล้ว นั่นคือเราต้องการเหตุ และ ผลประกอบค่ะ 

กะปุ๋มชอบกระบวนการคิดของอาจารย์...จังเลยคะ...นิ่งๆ...สุขุม (อ้า!!!...ขอโทษด้วยคะอาจารย์กะปุ๋มเผลอวิเคราะห์อีกแล้วคะ....ยิ้มๆๆ)....

...

นี่เป็นตัวอย่างที่กะปุ๋มได้เรียนรู้ การหาคำตอบ ก่อนที่เราจะฟันธง...เรื่องใดเรื่องหนึ่งลงไป...ซึ่งกะปุ๋มก็นำมาใช้ในชีวิตจริงและชีวิตการทำงานด้วยเสมอ...

ขอบพระคุณคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

เป็นเหมือนกันค่ะ อาจารย์ มีหลายครั้งที่ความรู้สึกบอกเราไม่ตรงกับข้อมูลจริง การที่มีแหล่งข้อมูลให้สืบทานตรวจสอบได้นี้ดีมากเลยค่ะ พี่อุ เป็นคนมีประสิทธิภาพมากค่ะ แต่ฐานข้อมูลของเราใหญ่มาก น่าจะมีคนช่วยบริหารดูแล เพื่อให้เราสามารถนำออกมาใช้งานได้มากขึ้น โดยเฉพาะการทำ retrospective summary เรื่องต่างๆเกี่ยวกับ lab

ว่าจะเขียนเรื่องการส่ง lab ของเราเปรียบเทียบกับของที่เขาพูดถึงในรายงานของอเมริกาอยู่ค่ะ (มีเรื่องว่าจะ...หลายเรื่องมากเลยค่ะ อาจารย์) เขียนไว้ตรงนี้เพื่อเตือนตัวเอง

โห! เป็นการตั้งสมมติฐานที่มีการหาข้อมูลสนับสนุนที่แม่นยำจริงๆค่ะ  แต่อ่านแล้วอดไม่ได้ที่จะต้องต่อยอดค่ะ เพราะท่านเอื้อออกสตาร์ทที่ CBC ขอเสนอความเห็นในมุมมองของพี่เม่ยนะคะ....
  • test ที่เป็น routine จริงๆ(เช่น CBC,UA)เนี่ย การส่งตรวจไม่แตกต่างจากเดิมอยู่แล้วค่ะ เพราะแต่ไหนแต่ไรก็ส่งกันเต็มที่อยู่แล้ว ในกลุ่มนี้ work load เราเพิ่มขึ้นเพราะปริมาณผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ตรงไปตรงมาค่ะ สิ่งที่เป็นปัญหากลับเป็นเรื่องการส่งให้ ถูกที่ถูกเวลา ให้มากที่สุดค่ะ
  • และพี่เม่ยเสนอให้ท่านเอื้อโฟกัสไปที่ test ที่ควรจะส่งตรวจก็ต่อเมื่อมี indication หรือมีความจำเป็นเท่านั้น แต่อาจมีการส่งตรวจกันพร่ำเพรื่อจนเป็น routine ค่ะว่ามีการส่งเพิ่มขึ้นไหมเฉลี่ยต่อผู้ป่วยหนึ่งคน ขอส่ง test  PTT,PT เข้าประกวดค่ะ และคาดว่าหน่วยงานอื่นก็น่าจะมีรายการทดสอบในกลุ่มนี้ส่งประกวดได้เหมือนกันค่ะ

คูณโอ๋  เรื่องฐานข้อมูลใหญ่ ไม่เป็นปัญหาเท่าไร เพราะด้วยความสามารถพี่อุดูแลได้  แต่ที่เป็นปัญหา คือ ต้องมีคนตั้งโจทย์คำถาม ซึ่งต้องได้มาจากเจ้าของข้อมูล จึงจะมีการใช้ข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์

พี่เม่ย  เอาเรื่องนี้ มาเป็นตัวอย่างในการจุดประกาย ให้เห็นประโยชน์การใช้ข้อมูลที่มีอยู่ หน่วยเองเดินหน้าเรื่องแบบนี้ได้เลย  ส่วน PTT PT โทรไปบอกพี่อุช่วยแล้ว  

ขอร่วมคิดครับ  อ ปารมี  " งานเพิ่ม "

ลองเดาดูซิครับ  ปริมาณ lab อะไร ที่เพิ่มจริง 5 ลำดับแรก      เทียบปีต่อปี    

หรือ จะให้ฐานข้อมูล      หรือ อาจจะเทียบ 5  - 10 ลำดับแรก  ที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด ก็ได้

การเปรียบเทียบข้อมูลทำนองนี้  ฝ่ายเภสัชกรรม ทำทุกปี เพื่อดูแนวโน้ม การเติบโต หรือ ถดถอยแล้วแต่กรณี

   หากเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น่าสนใจ    ก็ไปหาคำตอบว่า  เพิ่มเพราะปริมาณ ผป รายใหม่ รายเก่า เพิ่ม   หรือ  จำนวนทดสอบ ต่อรายเพิ่มขึ้น 

เพิ่มผป นอก  หรือ เพิ่มจาก ผป ใน

ในต่างประเทศ  มีการออกแบบ ใบ lab เพื่อช่วยเตือน ความไร้ประโยชน์  ของ บางtest  ในการคัดกรองมะเร็งโดยไม่จำเป็น

คำถามก็คือว่า   ลดการส่ง lab  อาจจะหมายถึง การลดรายได้ ขององค์กร     หากสามารถลดงานส่วนเกินจำเป็นได้จริง ก็ยอดเยี่ยม  เป็นแบบอย่างให้ รพ อื่น 

วีรพัฒน์

ขอบคุณพี่วีรพัฒน์ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนค่ะ

คนไข้รพ.มอ เพิ่มมากทั้ง OPD และผู้ป่วยใน  เราทำข้อมูลปริมาณงานรายปีเปรียบเทียบหลายๆ ปีอย่างต่อเนื่องอยู่ค่ะ  แล้วก็พบว่าบางแล็บ ปริมาณงานเพิ่มมาก แต่บางแล็บไม่ได้เพิ่มตามปริมาณคนไข้  การวิเคราะห์แยกราย test เพื่อดู test อะไรที่เพิ่มจริงๆ ก็น่าสนใจค่ะ แล้วเราก็มีข้อมูลอยู่แล้ว ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำแนะนำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท