เกื้อกูลศาสตร์ การศึกษาเพื่อรังสรรค์ชุมชนแห่งการเกื้อกูล


โดยเป็นแนวการศึกษาที่เน้นกระบวนการเกื้อกูลกันและกันของทั้งตัวคนกับคน, ตัวคนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสัมมาชีพสร้างรายได้โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานในครอบครัวและท้องถิ่นเป็นสำคัญ

จากเสียงสะท้อนของสังคมใหญ่

เสียงโวยวายจากผู้ควบคุมระบบการศึกษา

ที่จับความได้ว่า "คุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำ" อันเนื่องมาจาก "ครูไทยด้อยคุณภาพ"

จึงเกิดกระบวนการพัฒนาครูในหลายรูปแบบ

ทั้งเรียกให้ไปรับการอบรมโดยตรง (ทั้งหน่วยเหนือจัดเอง และให้ สถาบัน/มหาวิทยาลัยจัดให้), ทั้งศึกษาเอกสารที่พิมพ์มาแจกถึงโรงเรียน, ทั้งผ่านการลงทะเบียนเข้าศึกษาและทดสอบแบบ Online และ .... ฯลฯ .... วิธี

จนครูและโรงเรียนไม่เป็นอันทำงานทำการกันเลย สั่งปิดเด็กเป็นรายชั้นเป็นว่าเล่น

นี่คือหนึ่งในต้นเหตุแห่งหายนะของการศึกษาไทยตัวจริง ในทัศนะของครูวุฒิ

......................

ต่อกรณีดังกล่าว

โคกเพชรได้ร่วมสืบเสาะวิเคราะห์มูลเหตุและที่มาที่ไปแห่งปัญหากับผู้เกี่ยวข้องในชุมชน ตลอดถึงแนวทางแก้ไข

กระทั่งสรุปความและออกแบบออกมาเป็นการศึกษาแบบ "เกื้อกูลศาสตร์"

สำหรับใช้บูรณาการร่วมกับหลักสูตรแกนกลาง

โดยเป็นแนวการศึกษาที่เน้นกระบวนการเกื้อกูลกันและกันของทั้งตัวคนกับคน, ตัวคนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสัมมาชีพสร้างรายได้โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานในครอบครัวและท้องถิ่นเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับแก้ปัญหาพื้นฐาน

ไปพร้อมๆกับการรังสรรค์ชุมชนสู่ความพอเพียงและสันติสุข

ซึ่งเรามั่นใจว่า "น่าจะบรรลุเป้าหมาย" ตามสมควร

ถ้าตราบใดที่ "เรา" ตระหนัก, เข้าใจ, ร่วมด้วยช่วยกัน, และถือเป็นธุระสำคัญของทุกคน เช่นที่ผ่านมา

...........................

สนใจชุมสไลด์การศึกษาแนว "เกื้อกูลศาสตร์"

คลิกที่ https://plus.google.com/u/0/112341766181221896719/posts ครับ

........................................

หมายเลขบันทึก: 495513เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2012 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2012 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท