lhin
ณัชชารีย์ ไกรวัฒนภิรมย์

การส่งเสริมสุขภาพจิตในแนวทางการจัดการตนเอง


Self-management

ส่งเสริมสุขภาพจิต ในแนวทางของการจัดการตนเอง The self-management

  1. การกระตุ้นให้เกิดการทบทวนตนเอง(Management of knowledge) ทบทวนความสามารถของตนเองในปัจจุบัน ย้อนทบทวนที่ผ่านมาให้เป็นบทเรียนที่เหมาะสมต่อความสามารถในปัจจุบัน เพื่อวางแผนฝึกทักษะการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
  2. การแสวงหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ชีวิต (Psychoeducation)  เช่น การอ่านหนังสือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีประสบการณ์ การลงทุนเข้าอบรมเชิงปฏิบัติที่พอเพียงแล้วเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง การไม่อยู่นิ่งแต่ค้นหากิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเองและผู้อื่น
  3. การปรับตัวเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องอาหาร เช่นเปลี่ยนการกินข้าวขัดสีขาว เป็นข้าวกล้อง ผักสดและผลไม้สดควรรับประทานเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน การออกกำลังกาย การสวดมนต์ไหว้พระเป็นการสร้างสมาธิเพื่อให้ร่างกายสร้างพลังกาย และเสริมพลังใจ
  4. ฝึกการคิดในแง่บวก(Positive thinking) การทำสมาธิ เพื่อจัดการความเครียดที่เกิดขึ้น  การคิดในแง่บวกเพื่อจัดการกับปัญหา ก่อให้เกิดทักษะการแก้ไขปัญหาที่ดี (coping skill/problem solving skill)
  5. การลดอาการอ่อนเพลีย เพิ่มความสดชื่นจิตให้แก่ตนเอง การออกกำลังกายให้เหมาะสมตามสภาพของโรค การนอนหลับพักผ่อน การเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหาร การผ่อนคลาย นั่งสมาธิ ทำกิจกรรมอาสาสมัครช่วยเหลือผู้อื่น
  6. การจัดการพลังงาน  (Energy management) การแบ่งกิจกรรมที่กำลังทำเป็นช่วงๆ ไม่หนักมากเกินไปที่จะทำให้สำเร็จภายในระยะเวลาอันสั้น หรือการกำหนดกิจกรรมที่จะ ทำในแต่ละวันขึ้นมาก่อนแล้วเลือกทำกิจกรรมที่สำคัญและคาดว่ามีพลังงานพอที่จะทำได้ก่อนเป็นต้น
  7. การจัดการตารางเวลา (Time use for time balance)โดยกำหนดตารางการพักผ่อนเป็นช่วงๆที่คิดว่าให้ผลดีแก่ตัวคุณมากที่สุด มีความเหมาะสมและสมดุลในการดำเนินชีวิต
  8. การสื่อสารกับตัวเอง การปรับเปลี่ยนทักษะนิสัยในการทำกิจกรรม (Psychomotor) การบอกตนเองก่อนเริ่มทำกิจกรรม ใช้อวัยวะทุกส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ใช้พลังงานน้อย ความเครียดเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราใช้พลังงานมาก ถ้าทำกิจกรรมอย่างมีความสุข(emotion well-being) ก็จะใช้พลังงานน้อย เช่น การทำงานอดิเรกที่เราชอบ เราจะทำได้โดยไม่รู้สึกเหนื่อย
  9. การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อให้ใช้พลังงานน้อยที่สุด การใช้อุปกรณ์ทุ่นแรงในการทำกิจกรรม การเคลื่อนย้ายตนเอง โดยรถยนต์ ทำให้ทำงานสะดวกและใช้พลังงานน้อยลง 

 

จากข้อความข้างต้นเป็นความรู้ที่ได้จากการแปลความ Interpretative reasoning 

ขอขอบคุณหนังสือ การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง

หมายเลขบันทึก: 495512เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2012 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท