การศึกษากับการพัฒนาชุมชน


การศึกษา คือการเปิดโอกาสให้มนุษย์ได้ในสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้

การศึกษากับการพัฒนาชุมชน

การศึกษาแบ่งออกเป็น  2  แนวคือ

ก. แนวแคบ

1. การศึกษาคือการหาความรู้

2. การศึกษาคือการเรียนรู้

3. การศึกษาคือความเจริญงอกงาม

4. การศึกษาคือการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน

5. การศึกษาคือการจัดประสบการณ์

ข. แนวกว้าง

6. การศึกษาคือการทำคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์

7. การศึกษาคือการสร้างเสริมสติปัญญา

บุคลิกลักษณะ อุปนิสัยใจคอของบุคคล

8. การศึกษาคือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

9. การศึกษาคือการพัฒนาความเจริญงอกงามทั้งร่างกายและจิตใจ

10. การศึกษาคือชีวิต

การศึกษาตามแนวคิดของชาวตะวันตก เช่น

พลาโต (plato) กล่าวว่า การศึกษา คือเครื่องมือที่ผู้ปกครองประกาศใช้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัย มนุษย์

อริสโตเติล (aristotle) กล่าวว่า การศึกษาคือการอบรมคนให้เป็นพลเมืองดีและดำเนินชีวิตด้วยการกระทำดี

จอห์น ดิวอี้ (john dewey) กล่าวว่า การศึกษา คือชีวิต ความเจริญงอกงาม การสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต

การศึกษาตามแนวคิดของนักวิชาการทางตะวันออก

พุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า การศึกษา คือการเปิดโอกาสให้มนุษย์ได้ในสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวว่า การศึกษาคือ

          1. การเล่าเรียน การฝึกฝน อบรม

          2. การพยายามแสวงหาจุดมุ่งหมายให้แก่          ชีวิต

3. กิจกรรมของชีวิตโดยชีวิตและเพื่อชีวิต

4. ความสามารถที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม

สาโรช บัวศรี กล่าวว่า การศึกษา คือการพัฒนาขันธ์ 5 เพื่อให้ โลภะ โทสะ และโมหะลดน้อยลงหรือหมดไป

ส.ศิวรักษ์  กล่าวว่า การศึกษา คือ

          1. วิธีการต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

2. ทฤษฎีต่าง ๆ ที่อธิบายหรือให้เหตุผลในการถ่ายทอด

3. คุณค่าหรืออุดมคติต่าง ๆ ที่มนุษย์พยายามจะ   เข้าใจโดยอาศัยความรู้ทักษะ และทัศนคติ

วิจิตร ศรีสอ้าน  กล่าวว่า การศึกษา คือ

1.การศึกษาเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล

2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นไปโดยจงใจ โดยกำหนดจุดมุ่งหมายอันมีคุณค่าสูงสุด

3.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ กระทำเป็นระบบ และมีกระบวนการอันเหมาะสม

วิกฤติการศึกษาในทัศนะของพระธรรมปิฎก คือ

1. การศึกษาสมัยใหม่ ได้แยกนักเรียนออกจากชุมชนหรือท้องถิ่น

2. การศึกษาดึงคนชนบทเข้าสู่เมือง

3. ปัญหาความไม่เสมอภาคทางโอกาสในการศึกษา

4. ปัญหาปฏิสัมพันธ็ระหว่างสังคมกับการศึกษา

5. ความเสื่อมโทรมของสถาบันครู

6. ความเสื่อมโทรมทางคุณธรรมและจริยธรรม

. ไม่มีจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ชัดเจน

ความหมายของคำว่า”พัฒนาชุมชน

คำว่า”พัฒนา” แปลว่า การสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าจนเกิดการเปลียนแปลงในทางที่ดีขึ้น

คำว่า”ชุมชน” หมายถึง กลุ่มคนซึ่งอาศัยรวมกันอยู่ภายในอาณาเขตอันจำกัดโดยมีความรู้สึกผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

คำว่า”การพัฒนาชุมชน” หมายถึง กระบวนการทำงานอย่างหนึ่งและเป็นกลยุทธหนึ่ง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายปลายทางสูงสุดอยู่ที่การพัฒนาคนให้มีคุณภาพและคุณธรรม

จุดหมายปลายทางสูงสุด

เศรษฐกิจ          สังคม

  คุณภาพ          คุณธรรม

  การเมือง

การลงมือปฏิบัติ

     การระดมทรัพยากร

 การวางแผนอย่างมีระบบ

     การรวมกลุ่มอภิปลาย

        การศึกษาชุมชน

“กระบวนการพัฒนาชุมชนและจุดหมายปลายทาง”

แนวความคิดมูลฐานในการพัฒนาชุมชน

(กรมพัฒนาชุมชน)

1. การช่วยเหลือตนเอง และการช่วยเหลือเพื่อให้ประชาชนช่วยตนเองได้

2. การพัฒนาชุมชนเป็นการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ (ประสานงาน)

3.การพัฒนาชุมชนเป็นการดำเนินงานที่ริเริ่มจากชนบท โดยมีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศ

บทบาทของครูในการพัฒนาชุมชน

ครูกับชุมชน

1. บทบาทตามภารกิจหลักของครู

2. บทบาทในการพัฒนาชุมชนของครู เช่น

2.1 ผู้ติดต่อสื่อสาร

2.2 ผู้สนับสนุนส่งเสริม

2.3 ผู้ทำงานบูรณะชนบท

2.4 เป็นผู้เรียนรู้ปัญหาของชุมชน

2.5 ผู้แปลความหมายของชุมชน

 

หมายเลขบันทึก: 495318เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2012 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาอ่าน
  • ได้ประโยชน์มากเลยครับ
  • อาจาย์หายไปนาน
  • สบายดีไหมครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์ขจิต ฝอยทอง เป็นอย่างยิ่ง ที่ให้กำลังใจตลอดมา ไม่ได้หายไปไหนครับท่านอาจารย์ สาเหตุที่ไม่ได้เขียนบทความแสดงความคิด ความเห็นเชิงวิชาการนั้น เนื่องจากกระผมเองลืมระหัสผ่าน กว่าจะค้นหาระหัสผ่านได้ก็ใช้เวลาพอสมควร กระผมเองสบายดีครับ หวังว่าท่านอาจารย์คงจะสบายดีเช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท