รายละเอียดของรายวิชา (Course Description)


รายวิชา รัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา (political science in buddhism) จำนวน ๒ หน่วยกิต อยู่ในหมวดวิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นวิชาบังคับ หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดการเรียนการสอน ๑๖ ครั้ง ๆ ละ ๒ คาบ รวมจำนวน ๓๒ คาบ

รายละเอียดของรายวิชา  (Course Description)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา         มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา    สาขาวิชารัฐศาสตร์    วิทยาลัยสงฆ์พะเยา  วิทยาเขตพะเยา

หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป

  1. 1.   รหัสและชื่อรายวิชา 

          ๔๐๑  ๓๐๒    รัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา

                         political science in Buddhism

  1. 2.   จำนวนหน่วยกิต                 

2 หน่วยกิต (2-0-๔)

  1. 3.   หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์  วิชาเอกการปกครอง

 

  1. 4.   อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
  2. 5.          ผู้ช่วยศาสตราคนอง  วังฝายแก้ว     อาจารย์ประจำวิชา 
  3. 6.   ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน

ภาคการศึกษาที่ 2 / ชั้นปีที่ 2

  1. 7.   รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)

          ไม่มี

  1. 8.   รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)

          ไม่มี

  1. 9.   สถานที่เรียน                     

วิทยาลัยสงฆ์พะเยา  วิทยาเขตพะเยา

  1. 10.              วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

24 พฤษภาคม 2554

 

 

 

 

 

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา

          รายวิชา รัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา (political science in buddhism) จำนวน ๒ หน่วยกิต อยู่ในหมวดวิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๘  เป็นวิชาบังคับ หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดการเรียนการสอน ๑๖ ครั้ง ๆ ละ ๒ คาบ รวมจำนวน ๓๒ คาบ

 

 

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

          ศึกษาแนวคิดทางการเมือง การบริหาร และการปกครองของพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ตำราทางพระพุทธศาสนา และจากผลงานของนักวิชาการสมัยใหม่

เพื่อให้นิสิตเข้าใจเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์      

 เพื่อให้นิสิตได้มีความรู้เกี่ยวกับหลักนิติบัญญัติและตุลาการตามแนวพระพุทธศาสนา ระบบกฎหมายและการลงโทษ และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เพื่อให้นิสิตได้มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารตามแนวพระพุทธศาสนา และการบริหารตามแนวพระสูตรต่าง ๆ ในพระไตรปิฎก

 

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ

 

  1. 1.   คำอธิบายรายวิชา

       ศึกษาแนวคิดทางการเมือง การบริหาร และการปกครองของพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ตำราทางพระพุทธศาสนา และจากผลงานของนักวิชาการสมัยใหม่

 

 

  1. 2.   จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

บรรยาย  32 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา 

 

สอนเสริมในวันเวลาที่อาจารย์ติดภารกิจไม่ได้เข้าสอน 

ไม่มีการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม

การศึกษาด้วยตนเอง 2 ชั่วโมง / สัปดาห์ 

  1. 3.   จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

- อาจารย์ประจำรายวิชา จะให้คำปรึกษาในวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ และโฮมรูมทุกต้นเดือน

- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายกลุ่ม  1 ชั่วโมง / สัปดาห์ 

 

 

 

 

หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

 

  1. 1.   คุณธรรม จริยธรรม

1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

              เมื่อได้ศึกษาแล้ว นิสิตสามารถทราบแนวคิดทางการเมือง การบริหาร และการปกครองของพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก  เมื่อได้ศึกษาแล้วนิสิตสามารถวิเคราะห์แนวคิดและผลงานของนักวิชาการสมัยใหม่ เมื่อได้ศึกษาแล้ว นิสิตสามารถนำเอาแนวความคิดทางการเมืองการปกครองที่ถูกต้องไปประยุกต์ใช้ในการอบรมสั่งสอน และเผยแพร่แก่สังคมต่อไป

 

1.2 วิธีการสอน

-      ฟังบรรยายในชั้นเรียน  สัปดาห์ละ 2  คาบ (100 นาที)

-   มอบหมายให้นิสิตศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรา  หนังสือที่เกี่ยวข้องหรือจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ (เว็ปไซด์) สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง แล้วสรุปเสนอในชั้นเรียนหรือรายงานเป็นเอกสารเพิ่มเติม

1.3 วิธีการประเมินผล

-      การฟังบรรยาย ร่วมกิจกรรม และเวลาเรียน   10 คะแนน

-      งานมอบหมายและรายงาน  20  คะแนน

-      การทดสอบระหว่างภาคเรียน  20  คะแนน

-      สอบปลายภาค   50  คะแนน

  1. 2.   ความรู้

2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ

         ศึกษาแนวคิดทางการเมือง การบริหาร และการปกครองของพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ตำราทางพระพุทธศาสนา และจากผลงานของนักวิชาการสมัยใหม่

 

 

2.2 วิธีการสอน

การบรรยายประกอบ power point ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์ระบบการบริหารและการปกครองตามแนวหลักธรรมาภิบาล ให้ผู้เรียนเสนอแนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ และอาจารย์กับผู้เรียนสรุปกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

2.3 วิธีการประเมินผล

-         การประเมินผลการศึกษาตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี  พ.ศ. 2542 (ข้อ 33) โดยมีผลการศึกษาระดับ (grade)  และค่าระดับ (grade-point) ดังนี้

ผลการศึกษา                                                     ระดับ           ค่าระดับ

          ดีเยี่ยม           (Excellent)                  A              ๔.๐     (๙๐-๑๐๐)

          ดีมาก            (Very Good)                B+             ๓.๕     (๘๕-๘๙)

          ดี                 (Good)                       B              ๓.๐     (๘๑-๘๔)

          ค่อนข้างดี        (Very Fair)                  C+             ๒.๕     (๗๕-๘๐)

          พอใช้             (Fair)                         C              ๒.๐     (๗๑-๗๔)

          ค่อนข้างพอใช้   (Quite Fair)                 D+             ๑.๕     (๖๕-๗๐)

          อ่อน              (Poor)                       D              ๑.๐     (๖๐-๖๔)

          ตก                (Failed)                                F               ๐        ต่ำกว่า ๖๐

         ทั้งนี้ เกณฑ์คะแนนต่ำสุดถือว่าผ่านในรายวิชานี้ คือ ระดับ D

 

 

  1. 3.   ทักษะทางปัญญา

3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา

หลักการวิเคราะห์ระบบการบริหารและการปกครองตามแนวหลักธรรมาภิบาล ให้ผู้เรียนเสนอแนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ และอาจารย์กับผู้เรียนสรุปกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

3.2 วิธีการสอน

-         บรรยายในชั้นเรียน

-         ค้นคว้าในห้องสมุด, internet

-         กิจกรรมกลุ่ม (รายงาน,อภิปราย,ศึกษาค้นคว้าแหล่งเรียนรู้)

-         งานส่วนบุคคล (ใบงาน, รายงาน)

3.3 วิธีการประเมินผล

สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบในเชิงวิเคราะห์เหตุการณ์ปัจจุบันเป็นสำคัญ หรือวิเคราะห์แนวความคิดระบบการบริหารเชิงพุทธ

  1. 4.   ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา

-         พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน

-         พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม

-         พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา

4.2 วิธีการสอน

-         จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา

-         มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา

-         การนำเสนอรายงาน

     4.3 วิธีการประเมินผล

-         ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด

-         รายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม

-         รายงานการศึกษาด้วยตนเอง

  1. 5.   ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา     

-   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล  การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน

-      พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา

-      พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

-   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ

-      ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม

5.2 วิธีการสอน     

-   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอน e-learning และทำรายงาน โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

-       นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม   

5.3 วิธีการประเมินผล

-      การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี

-      การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย

 

หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

1. แผนการสอน

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียน การสอน  สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)

ผู้สอน

1-2

 

บทที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยความสำคัญของพระพุทธศาสนากับสังคมไทยแนวคิดประชาธิปไตยตามแนวพระพุทธศาสนา ความเบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ทัศนะเกี่ยวกับแนวคิดทางการเมืองการปกครองตามแนวพระพุทธศาสนา

 

 

 

 

 

2

๑. บรรยายประกอบ

    power point

๒. ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม

    วิเคราะห์แนวคิดการเมืองการปกครองในพระสูตร ต่างๆ ในพระไตรปิฎก

๓. ให้ผู้เรียนเสนอ

    แนวคิดที่ได้จากการ             

   วิเคราะห์

๔. ร่วมกับผู้เรียนสรุป

    กระบวนการเรียน

    การสอนที่มี

    ประสิทธิภาพ

 

ผศ.คนอง  วังฝายแก้ว

2-5

 

บทที่ ๒  

นิติบัญญัติและตุลาการตามแนวพระพุทธศาสนาหลักนิติบัญญัติหลักนิติบัญญัติและตุลาการเปรียบเทียบกับหลัประชาธิปไตยระบบกฎหมายและการลงโทษความมีคุณค่าและความเป็นกฎเกณฑ์ทางสังคมของพระวินัยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์

 

 

2

บรรยายประกอบ

    Power point

๒. ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม

    วิเคราะห์หลักนิติธรรมกับหลักประชาธิปไตย

๓.ให้ผู้เรียนสรุปผลการศึกษา 

๔. ร่วมกับผู้เรียนสรุปผลการศึกษา

    

ผศ.คนอง  วังฝายแก้ว

5-6

 

บทที่ ๓ การบริหารตามแนวพระพุทธศาสนา การบริหารตามแนวมหาสีหนาทสูตรพุทธวิธีบริหารเปรียบเทียบการบริหารแนวพุทธกับการบริหารแบบตะวันตก

 

 

 

 

 

3

๑. บรรยายประกอบ

    Power point

๒. ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม

    วิเคราะห์แนวคิดในเชิงบริหารตามแนวมหาสีหนาทสูตร

๓. ให้ผู้เรียนสรุปผลการศึกษาวิเคราะห์แนวคิดในเชิงบริหารตามพระสูตร

๔. ร่วมกับผู้เรียนสรุปผลการศึกษา

ผศ.คนอง  วังฝายแก้ว

6-7

 

บทที่ ๔ 

แนวคิดการปกครองตามแนวพระพุทธศาสนา (๑) รูปแบบการปกครองสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้ากับฐานะการปกครองความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาธิปไตย เปรียบเทียบแนวคิดหลักธรรมาธิปไตยกับประชาธิปไตย

 

 

 

 

 

2

๑. บรรยายประกอบ 

    Power point

๒. ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการทางพระพุทธศาสนากับหลักประชาธิปไตย

 ๓. สรุปผลการศึกษา

ผศ.คนอง วังฝายแก้ว

8-9

 

บทที่

แนวคิดการปกครองตามแนวพระพุทธศาสนา รัฐศาสตร์ตามแนวในอัคคัญญสูตร                        หลักการปกครองตามแนวจักกวัตติสูตร

 

 

 

2

๑. บรรยายประกอบ

    Power point

๒. ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม

    ศึกษากระบวนการ

    จัดกิจกรรมการเรียน

    การสอน กลุ่มละ

    ๒ รูปแบบ

๓. สรุปผลการศึกษา

ผศ.คนอง  วังฝายแก้ว

10-11

 

บทที่    

แนวคิดการปกครองตามแนวพระพุทธศาสนา (๓) การปกครองตามแนวกูฏทันตสูตร การปกครองตามแนวมหาปรินิพพานสูตร

 

 

 

 

 

 

2

๑. บรรยายประกอบ

    Power point

๒. ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มศึกษา

    เรื่อง ความแตกต่าง และ   

    ความถนัด ระหว่างตนเองกับเพื่อนภายในกลุ่ม

๓. สรุปผลการศึกษา

ผศ.คนอง  วังฝายแก้ว

12-14

 

บทที่ หลักพุทธธรรมกับการปกครอง แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองหลักพุทธธรรมกับ

การปกครอง

 

 

 

 

2

๑. บรรยายประกอบ

    Power point

๒. ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มสรุปแนวคิดหลักพุทธธรรมมาใช้กับการบริหาร

 ๓. สรุปผลการศึกษา

ผศ.คนอง  วังฝายแก้ว

15

สอบกลางภาค

2

 

 

15-16

 

บทที่ การปกครองตามแนวคัมภีร์ชาดกความเป็นมาของคัมภีร์ชาดกเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ระบบการเมืองการปกครองตามแนวคัมภีร์ชาดกในพระพุทธศาสนาลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง

2

๑. บรรยายประกอบ

    Power point

๒. ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มสรุปแนวคิดทางการเมืองการปกครองในคัมภีร์ชาดก

 ๓. สรุปผลการศึกษา

ผศ.คนอง  วังฝายแก้ว

16

 

บทที่ การเมืองการปกครองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักวิชาการสมัยใหม่ การเมืองการปกครองตามแนวพระพุทธศาสนาของพุทธทาสภิกขุการเมืองการปกครองตามแนวพระพุทธศาสนาของ การบริหารตามแนวพระพุทธศาสนาของ

พระธรรมโกศาจารย์

 

 

2

 

๑. บรรยายประกอบ

    Power point

๒. ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มสรุปแนวคิดทางการเมืองการปกครองตามแนวคิดของพุทธทาสภิกขุ

 ๓. สรุปผลการศึกษา

ผศ.คนอง  วังฝายแก้ว

17

 

บทที่ ๑๐

แนวโน้มการศึกษารัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา

 รัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนาในสภาพปัจจุบันรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนาในอนาคตบทบาทพระพุทธศาสนากับการสร้างสันติภาพโลก

คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

2

๑. บรรยายประกอบ

    Power point

๒. ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มสรุปแนวคิดรัฐศาสตร์ในสภาพปัจจุบันกับรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนาในอนาคต

 ๓. สรุปผลการศึกษา

ผศ.คนอง  วังฝายแก้ว

18

สอบปลายภาค

2

 

 

 

 

2 แผนการประเมินผลการเรียนรู้

ที่

ผลการเรียนรู้*

วิธีการประเมิน

สัปดาห์ที่ประเมิน

สัดส่วนของการประเมินผล

1

1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4-2.6, 3.2

ทดสอบย่อยครั้งที่ 1

สอบกลางภาค

ทดสอบย่อยครั้งที่ 2

สอบปลายภาค

 

4

8

12

16

 

10%

25%

10%

25%

 

2

1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4-2.6, 3.2, 4.1-4.6,5.3-5.4

วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน

การทำงานกลุ่มและผลงาน

การอ่านและสรุปบทความ

การส่งงานตามที่มอบหมาย

ตลอดภาคการศึกษา

20%

3

1.1-1.7, 3.1

การเข้าชั้นเรียน

การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน

ตลอดภาคการศึกษา

10%

 
หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

 

  1. 1.   เอกสารและตำราหลัก

.............. จำนง อดิวัฒนสิทธิ์, สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬา

ลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๔๕. 

  1. 2.   เอกสารและข้อมูลสำคัญ

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์, สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,๒๕๔๘.

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ, สังคมวิทยา, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬา

ลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๓๗.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช, รัฐ, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

ชุมพร สังขปรีชา, ปรัชญาและทฤษฎีการเมืองว่าด้วยธรรมชาติมนุษย์, กรุงเทพมหานคร :

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๑.

ไชย ณ พล, การปกครองของพระพุทธเจ้าระบอบธรรมาธิปไตย, กรุงเทพมหานคร:

เคล็ดไทย, ๒๕๓๗.

ณรงค์  กนฺตสีโล, พระมหา, จุดเด่นของพระพุทธศาสนา, เชียงใหม่: ทรีโอแอดเวอร์ไทซิ่ง

แอนด์มีเดีย, ๒๕๔๘.

เดือน คำดี, ศาสนศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๑.

ติน ปรัชญพฤทธิ์, ศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

๒๕๓๘.

ทองหล่อ  วงษ์ธรรมา, ปรัชญาพุทธศาสตร์, กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๘.

ทวี ผลสมภพ,รศ.,ปัญหาปรัชญาในการเมืองของโลกตะวันออก, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

รามคำแหง,๒๕๓๔.

ธรรมรัต อริยธมโม, พระมหา, การศึกษาเชิงวิเคราะห์ หลักรัฐศาสตร์ที่มีในพระไตรปิฎก,

วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย,

๒๕๔๒.

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ, พจนานุกรมไทย ฉบับใหม่, กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น (๑๙๗๗), 

๒๕๔๔.

นงเยาว์  ชาญณรงค์, รศ., ศาสนากับสังคม,  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๕.

บุญมี แท่นแก้ว, พระพุทธศาสนากับปรัชญา, กรุงเทพมหานคร: หจก.เม็ดทรายพริ้นติ้ง,

๒๕๔๐.

บุญศักดิ์ แสงระวี, (แปลและเรียบเรียง) ลัทธิสังคมนิยม อดีต  ปัจจุบัน อนาคต,

กรุงเทพมหานคร: เอมี่เทรดดิ้ง, ๒๕๔๓.

ปรีชา ช้างขวัญยืน, ทรรศนะทางการเมืองของพระพุทธศาสนา, กรุงเทพมหานคร:

สามัคคีสาส์น, ๒๕๔๐.

ปรีชา ช้างขวัญยืน, ความคิดทางการเมืองในพระไตรปิฎก, กรุงเทพมหานคร:

สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘.

พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต), การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

พระเทพโสภณ (ประยูร มีฤกษ์), โลกทัศน์ของชาวพุทธ, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬา

ลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนา

ประจำชาติ, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, ๒๕๔๓.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์,  กรุงเทพมหานคร :  โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.

พระธรรมปิฎก, ธรรมนูญชีวิต, กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๔๑.

พระธรรมปิฎก, นิติศาสตร์แนวพุทธ, กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, ๒๕๔๑.

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต), พระพุทธศาสนาในอาเซีย, กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา,

๒๕๔๐. 

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต), พุทธธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๙ (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓), หน้า ๖.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), วัฒนธรรมไทยสู่ยุคเป็นผู้นำและเป็นผู้ให้,

กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, ๒๕๓๗.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺจิตฺโต), พุทธวิธีบริหาร, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬา

ลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๙.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ธรรมาธิปไตยไม่มาจึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ

จุดบรรจบ รัฐศาสตร์ กับ นิติศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: โฟร์ พริ้นติ้ง, ๒๕๔๙.

 

 

  1. 3.   เอกสารและข้อมูลแนะนำ

                จิรโชค (บรรพต) วีระสัย และคณะ, รัฐศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย

รามคำแหง,๒๕๓๘          .

 

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

  1. 1.   กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

-      การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

-      การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน

-      แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

-      ขอเสนอแนะผ่านเวบบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา

  1. 2.   กลยุทธ์การประเมินการสอน

ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

-      การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน

-      ผลการสอบ

-      การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้

  1. 3.   การปรับปรุงการสอน

หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

-      สัมมนาการจัดการเรียนการสอน

-       การวิจัยในและนอกชั้นเรียน

  1. 4.   การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

-   การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร

-   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม

  1. 5.   การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

-      ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4

-   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือแนวคิดใหม่ๆ

หมายเลขบันทึก: 495310เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท