เหลียวหลัง แลหน้า หุงข้าวหม้อดิน กินแกงเลียง หนึ่งอำเภอหนึ่งชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปากบ้านหารเทา


พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย ให้เกิดเป็นคนมีคุณภาพ

         

กองทุนสุขภาพตำบล  หรือที่หลายๆคนรู้จักกันในนามงบ สปสช(สำนักงานหลักประกันสุขภาพ) ที่ผู้เขียนได้ตั้งวง ชวนคุย ร่วมคิด ค้นทุน ของชมรมผู้สูงอายุ สุขภาพช่องปาก  หรือสุขภาพฟันดีทุกอำเภอที่ลงไปจุดประกาย สร้างความเข้าใจ   ได้ชี้ให้ผู้สูงอายุเข้าไปใช้งบประมาณตัวนี้ และได้ชวนคิดต่อยอดไปถึง ทุนของกองทุนสวัสดิการชุมชน

 

      จังหวัดพัทลุงเป็นพื้นที่นำร่องในเรื่องกองทุนสุขภาพตำบล เต็มพื้นที่ แต่กลุ่มองค์กรที่ทำงานด้านสุขภาพมักเข้าไม่ถึง ไม่ได้ใช้ หรือบริหารจัดการ กองทุนสุขภาพตำบล  ส่วนมากแล้ว ทาง องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล เป็นหน่วยงานรับทำแทนชาวบ้าน  เป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก

 

แขบๆเด็ดเข้าต๊ะได้ไปไหว้หล่าว

     แต่ก็มีบางตำบลที่คนของชาวบ้านที่เลือกเข้าไปเป็นตัวแทนให้ความสำคัญ ให้กลุ่มองค์กรหรือชมรมเครือข่ายได้เสนอแผนงานโครงการ ขอใช้งบประมาณกองทุนนี้ฯ  อย่างที่ชมรมผู้สูงอายุบ้านหารเทา ได้จัดทำโครงการ

    "พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เข้าค่ายปฎิบัติธรรม 3 วัน 2  คืนที่ วัดหารเทา

 

      นอกจากปฎิบัติธรรมแล้ว ยังมีกิจกรรมเหลียวหลังแลหน้าหุงข้าวหม้อดินกินแกงเลียง ฟื้นวิถีชีวิตในอดีต  และกิจกรรมเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง  โดยการแบ่งกลุ่ม ผู้สูงอายุเป็น 8 กลุ่มๆละ 10 คนช่วยกันหาผักหาปลา  หาข้าวสาร มาหุงด้วยหม้อดิน

 

     ผู้เขียนได้สนทนาแลกเปลี่ยน ทั้งปริศนาคำทาย และ นิทานกับผู้สูงอายุ เขาบอกว่าการอยู่ร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกัน อันไหนที่เราเห็นเราทำได้ ไม่ต้องให้ใช้ ไปหยิบไปทำมา เป็นการเอื้อเฟื้อ เป็นการทำงานที่อาสาทำแล้วมีความสุข อยู่ด้วยกันสองคนขึ้นไป ต้องระวังสังคมรังเกียจ คนที่สังคมรังเกียจ จะเป็นคนประเภท

 

       "ทืบดินไม่แล่น  เต้นไม่บิน กินไม่เซ่อ"

หรือประเภท

      "ไม่แท๋ง ไม่ทั๋งนั่งรุ่ง พอแกงพรุ่งฉวยชามพลามเลย"

 

ลักษณะแบบนี้จะไม่มีในชมรมผู้สูงอายุของที่นี้ ผู้เขียนได้มองเห็นความสุขของผู้สูงวัย เห็นรอยยิ้ม เห็นการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ......

 

นายสรรเสริญ เขียวทองประธานชมรมผู้สูงอายุบ้านหารเทา ผู้ประสานโครงการ

    พัฒนาคุณภาพชีวิต ชีวิตที่มีคุณภาพ คือสุขของคนสูงวัย กองทุนสุขภาพตำบลคือการสร้างสุข  ให้เกิดสุขภาวะชุมชนแก่ทุกคนคือเป้าหมายกองทุนสุขภาพตำบลที่ต้องไปให้ถึง

 

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิถีชาวบ้าน

หม้อดิน ซื้อมาจากตลาดก่อนหุงข้าวต้องเอาหม้อแช่น้ำเพื่อหม้อดูดน้ำ

ก่อน 1-2 ชั่วโมง

เวลาหุงอย่าใช้ไฟกล้าและต้องให้ไฟลนก้นให้ทั่ว หากไฟมากตรงจุดไหนหม้อจะแตกตรงนั้น เพราะความร้อนจะทำให้ปริแตก

 มีความเชื่อว่าหุงข้าวหม้อดินห้ามผู้ชายไปเปิดฝาหม้อ

           ปริศนาคำทาย

>.อะไรเอ่ย สุกสองที กินอร่อย

เฉลย ข้าวสุกในครั้งหนึ่งแล้วมาสุกในหม้ออีกครั้ง

>.อะไรเอ่ย  สิบมือหาม สามมือยก

เฉลย หุงข้าวด้วยก้อนเส้า สามเส้า มือสิบนิ้วหยิบปากหม้อ

>.อะไรเอ่ย อ้ายดำอยู่บน อ้ายแดงอยู่ใต้ อ้ายแดงแยงท้าย(ก้น) น้ำลายแซ็กๆ    

เฉลย หุุงข้าวด้วยไม้ฟืน ข้าวเดือดคลั๊กๆ

 

 

ใส่ยอดลำเท็งเหลยต๊ะหรอย

นู้ไปเอาหม้อดินมาก่อนต๊ะ

หม้อดินใบละ200บาท ส่วนหวักลายเคย ทำเอง

สัมภาระนอนตรงนี้ ฟังธรรมนี้ ฟังพระเทศก้าตรงนี้

ฮายลมแรงฟันเข้าตา

เฉียงไม้ฟืน(ผ่าฟืน)

ของเราไม่ต้องใช้ก้อนเส้า  ได้หุงก่อน

เดือดแล้วๆ

หมอกุ้ง จพทันต์ ศิริมา รักมาก มาช่วยใส่ฟืน

เฮข้าวสุกแล้ว เดียวตั้งแกงเลียงเลย

ยนหมากดีหวา

เคยจี ทำน้ำชุบ

หม้อนี้ก็มีเคยจี

ฮายคิดถึงจังหู

หมายเลขบันทึก: 495250เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

เป็นโครงการที่น่าสนใจ หากแต่ว่า ยังไม่ถึงวัย... สิ่งที่ทำให้ถิ่น วัดหารเทา ดูดี มีเสน่ห์ ก็ตรงที่นอกจากปฎิบัติธรรมแล้วยังมีช่วยกันหาผักหาปลา หาข้าวสาร มาหุงด้วยหม้อดิน
ชอบมาก

สวัสดีครับ ท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

เห็นผู้สูงอายุทำกิจกรรมแล้วน่ารักนะบัง

บังเคยถูกเด็กๆเรียกว่าลุงบ้างหรือเปล่าครับ

ผมเคยถูกเรียกบ่อยๆ ทั้งที่เรายังไม่แก่ขนาดนั้นสักหน่อย

เลยต้องบอกเด็กๆไปว่า คำว่าลุง แค่เรียกเบาๆ ก็เจ็บนะ....ฮา.ฮา...

บังสบายดีนะครับผมไปอ่านบันทึกอื่นของบังมา แต่ไม่ได้ใหความเห็นไว้

ลานะครับดึกแล้ว พรุ่งนี้มีงานเช้า

เป็นการรวมตัวในวิถีแห่งความสุข..ชอบบรรยากาศแบบนี้มากค่ะ..

หอมเคยจี จังเลยค่ะท่านพี่

คลุกข้าวร้อน ๆ  ฮ้าย  หรอยนิ

ดูแล้วมีความสุขจังเลยค่ะวอญ่าท่านผู้เฒ่า

 

ต่อไปเราต้องทำตัวให้มีคุณค่าเหมือนคุณลุงคุณป้าทั้งหลายใช่ไหมคะพี่บัง

สุขภาพกายและจิตดูแล้วมีความสุขจัง

เรียนคุณครูนพรัตน์ ...... ได้เห็นความร่วมมือช่วยเหลือกันในการ ทำหุงข้าว ต้มแกง ทั้งผู้หญิงผู้ชาย เห็นแล้วชื่นใจ

แก่อย่างมีคุณ อยู่อย่างมีความสข

สวัสดีค่ะ ท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า หลังจากที่ได้อ่านแล้ว รู้สึกชอบมากๆเลยค่ะ อยากไปด้วยค่ะ อยากทำด้วย เพราะอยากหุงข้าวในหม้อดินเป็น หนูชอบไปวัดมากค่ะยิ่งตอนเด็กๆนี่ ยายลากหนูไปด้วยเสมอ ท่านบอกว่า "ไม่มีเพื่อนเดิน" ก็น่าขันน่ะค่ะตอนเด็กก็ไม่ค่อยชอบหรอกค่ะ แต่ตอนนี้สัจธรรมแห่งชีวิต หนูรู้แล้วค่ะ ตั้งแต่เด็กมา เวลาไม่สบายใจ หรือมีเรื่องร้อนใจอะไร หนูเข้าวัด ไปไหว้พระ สวดมนต์ ไม่ก็นั่งอยู่หน้าพระพุทธรูปเฉยๆนี่ล่ะค่ะ เย็นใจดี แต่จากที่เห็นก็ "หิวข้าว" แล้วล่ะค่ะ เพระหนูเคยได้ไปสัมผัสภาคใต้มาแล้วครั้งหนึ่งในชีวิต หนูเป็นคนอิสานน่ะค่ะ แต่บังเอิญว่า แม่ได้ไปทำงานที่สงขลาค่ะ เลยได้ไปภาคใต้กับเขา ทะเลสวย ภูเขาสูง ธรรมชาติ อยู่ใกล้เพียงนิดเดียวเลยค่ะ หนูชอบมาก ถ้ามีโอกาสคงได้เดินทางอีกครั้งล่ะค่ะ ขอบพระคุณสำหรับบทความดีๆน่ะค่ะ

ขอบคุณท่านทนายที่แวะมามอบดอกไม้ให้กำลังใจ

เหลียวหลังแลอดีต กว่าจะมาถึงวันนี้ ผ่านเส้นทางอันขรุขระ แต่ก็ก่อให้เกิดความแข็งแกร่งแก่ชีวิต

เรียนรู้การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ จะได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีสุข

สวัสดีครับพี่ใหญ่ ...อิ่มท้อง อิ่มบุญ ดังข้าวสังหยดอร่อยมากกินร้อนหน้าเตาก้อนเส้า เข้าบรรนากาศหุงข้าวหม้อดิน

สวัสดีน้องครูอิง.....กลับคืนสู่รากเหง้า กินข้าวคลุกเคยจี อร่อยดีแบบบ้านๆ

สวัสดีครับคุณ ระพี ขอให้หายป่วยไวๆ

ทำกิจกรรมกับผู้สูงอายุ เป็นการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุ ในปีหน้านี้

อร่อยแบบบ้านๆ พระรามชมดง เด็ดยอดผัก หักยอดไม้ มาต้มแกง เป็นการกินอาหารเป็นยา ครับท่านแว่นธรรมทอง

เรียนครูกี้...".แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีศักดิ์ศรี" มีภูมิปัญญา มาให้ชุมชน เป็นคนมีธรรม ทำใจสงบ ก็พบสุขที่ปลายทางชีวิต

เรียน คุณหมอนน..สวมีสุข วิทยากรก็มีสุข ได้สอนสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ได้บูรณาการกัน

สวัสดีหนู สุภาพร ....ประสบการณ์บางเรื่อง ตอนนี้เขาสอน หรือบังคับ มันขัดเขิน

แต่เมื่อผ่านพ้นช่วงวัย ก็จะเกิดความรู้สึกดีๆ

ง่ายที่ขัดเขินคือการบอกรักพ่อแม่ ด้วยการกอดกราบ

แต่เมื่อไม่มีแม่ให้กราบกอด จะรู้ โหยหาเสียดาย

วัดเข้าไปแล้ว สุขสงบ

ที่อโคจรเข้าไปแล้ว สุข วุ่นวาย

ขอบคุณที่แวะมาทักทาย ยิ่นดีร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปัน

สวัสดีน้องนาง หายยุ่งแล้วมาสู่โกทูโนว์บ้างอยากฟังเรื่องราวชาวหนองคาย

โห ภาพนี้หายากแล้วในปัจจุบัน

เชี่ยนหมากคุณทวดตอนนี้เก็บไว้หลังตู้ ฝุ่นจับ..คิดถึงท่านจัง 

เรียนอาจารย์ หมอ ป.

ภาพผู้สูงวัยมาพบกัน ได้คุยกัน ได้เล่าเรื่องราวแต่หนหลัง

เหมือนลิ้นชักแห่งความคิดที่เก็บไว้นานถูกเปิดออกมา

ยิ่งได้มาเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง ก็เกิดความภาคภูมิใจ รู้สึกมีคุณค่า

การทำการสร้างกระบวนการให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า เป็นการต่อความสุขให้ชีวิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท