จินตมิติของกิจกรรม...การใช้เวลาว่าง การทำงาน และความสัมพันธ์ในครอบครัว


อ้างอิงจาก Kelly, J.R. & Kelly, J.R. Multiple dimensions of meaning in the domains of work, family, and leisure. Journal of Leisure Research 1994; 26(3): 250-265.

 

หลายท่านคงสงสัยว่า ทำไมคนเราต้องมีกิจกรรมยามว่าง นอกเหนือจากการทำงานและการมีครอบครัว

 

หลากหลายทฤษฎีทางจิตสังคมกล่าวว่า ทุกๆกิจกรรมการดำเนินชีวิตประกอบด้วยพฤติกรรมต่างๆ ได้แก่ ความเป็นส่วนตัว (discretion) ความเป็นธรรมชาติ (spontaneity) ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) และการมีส่วนร่วม (involvement) แต่บทบาทและความคาดหวัง (roles and expectations) ของแต่ละคนนั้นจะมีความสามารถตรวจสอบความรู้สึกของตนเอง (self-determination)ไม่เท่ากัน ระหว่างอิสระและแรงจูงใจ (freedom and intrinsic motivation) ในการใช้เวลาว่าง (leisure) การทำงาน (work) และการสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัว (family relationship) ส่วนใหญ่สังคมเราจะเป็นผู้กำหนดมิติของกิจกรรมเหล่านี้ด้วยความแตกต่างของเวลา สถานที่ และความหมายของการทำกิจกรรม น้อยคนนักจะกำหนดความรู้สึกด้วยความเป็นตัวของตัวเองในการให้นิยามและมิติที่แตกต่างกันของการทำกิจกรรมเหล่านั้น จุดนี้เองที่ทำให้สังคมมุ่งเน้นให้คนเราเป็นมนุษย์ทำงานจนไม่มีเวลาให้กับการใช้เวลาว่างของตนเองหรือครอบครัว

 

แล้วเราจะพัฒนา self-determination ที่ผมขอเรียกว่า “จินตมิติ” ของกิจกรรมชีวิต (Activity-Living) ของคุณให้สมบูรณ์ได้อย่างไร

 

ผมกำลังจะสรุปเนื้อหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำถามข้างบน แต่คุณเท่านั้นที่จะต้องใช้เวลาคิดและหาคำตอบให้กับกิจกรรมชีวิตของคุณนะครับ

 

กิจกรรมต่างๆ มีหลายความหมายที่เกี่ยวข้องกัน เช่น ผลสำเร็จของการทำกิจกรรม ความเชื่อมโยงของการทำกิจกรรม การแสดงออกและการเรียนรู้ในการทำกิจกรรม

 

ความพึงพอใจที่รู้สึกว่า เรากำลังทำกิจกรรมนี้ในเวลาและสถานการณ์ที่เหมาะสม หรือทำกิจกรรมนี้เพราะแรงบังคับของสังคมรอบข้าง หรือทำกิจกรรมนี้เพราะเราชอบและสนใจจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

 หากคุณเป็นคนที่รักครอบครัวและสังคม เวลาที่ให้กับตนเอง ทั้งการทำงานและการใช้เวลาว่างเพื่อตนเองก็จะลดลงตามลำดับ แต่ต้องคอยตรวจสอบความรู้สึกของตนเองว่า คุณพอใจกับกิจกรรมชีวิตตรงนี้หรือไม่

หากตอบว่า “ไม่” ลองพิจารณาความเป็นกลางระหว่างกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ คุณค่าของการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมใดๆ ที่ได้ทั้งงาน ครอบครัว และเวลาว่าง ตัวอย่างที่ผมพอจะคิดออก เช่น การนั่งทำงานที่บ้าน ในตอนเช้าตรู่ที่สมาชิกในครอบครัวกำลังหลับ จากนั้นผ่อนคลายด้วยการออกกำลังกายเบาๆ แล้วต่อด้วยการทำอาหารเช้าที่คุณชอบร่วมกับคนที่คุณรัก เป็นต้น แต่การวางแผนความสมดุลของกิจกรรมต่างๆ ต้องมีการบันทึก (Time use-activity diary record) และตรวจสอบความสุขของคุณและครอบครัวอยู่บ่อยครั้ง

ในปัจจุบัน การจัดลำดับความสำคัญของการทำกิจกรรมเข้ามาช่วยคุณตัดสินใจ ในการเลือกทำกิจกรรมเหล่านี้

ผมจากจะทิ้งท้ายให้คุณคิดกันต่อว่า “The sole meaning of leisure as freedom is a dangerous oversimplification…the social meaning in terms of work & family is not able to be separated…you are a smart determinator and combinator, right?”

  

หมายเลขบันทึก: 49443เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์ Pop (คงสบายดี มากแล้วนะครับ..เป็นห่วงครับ) 

ผมมองถึง "ความพอดี" และ "ไม่สุดโต่ง" เพื่อความสมดุลย์ทั้งในเหตุและปัจจัย..ที่ทำให้ไม่ทุกข์

และความสมดุลย์จะส่งผลให้เกิดความพอเพียง และเกิดความสุขทั้งเราและคนอื่น ผมเชื่ออย่างนี้ครับ

 

  • แวะมาทักทาย
  • อยากทราบว่า กลับมาเมืองไทย เมื่อไร
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท