Leisure Constraints วันนี้คุณบังคับตนเองในการทำกิจกรรมยามว่างหรือไม่


อ้างอิงจาก Samdahl, D.M. & Jekubovich, N.J. A critique of leisure constraints: comparative analyses and understandings. Journal of Leisure Research 1997; 29(4): 430-452.

เช้าวันนี้สดชื่นและเป็นวันว่างของนายเอจริงๆ แต่แล้วเจ้านายโทรมาบอกแกมบังคับให้ไปช่วยงานที่บริษัทโดยด่วน วันที่สดใสก็ไม่ต่างจากวันทำงานอื่นๆ หรือเคร่งเครียดกว่าเพราะทุกคนถูกเรียกมาทำงานด่วนให้เสร็จภายในห้าชั่วโมง ทั้งๆที่วันนี้เป็นวันหยุดราชการ ทำจนเกือบเสร็จก็ไม่ได้ทานอาหารเที่ยง แถมยังไม่ได้เงินค่าทำงานล่วงเวลาด้วย ก่อนจะเลิกงานแฟนโทรมาบอกเลิกเพราะลืมที่จะใช้เวลาอยู่กับแฟนในวันเกิดและเหตุผลเบื่อหน่ายชีวิตคู่ เออ...ชีวิตช่างเหมือนละครเสียจริง ตอนนี้นายเอต้องโทรหาเพื่อนสนิทเพื่อไปทานข้าวเย็นพร้อมต้องการกำลังใจอย่างยิ่ง ระหว่างทางโชคร้ายเสียจริง นายเอข้ามถนนแบบไม่ทันระวัง โดยรถมอเตอร์ไซด์เฉียวล้มลงข้อเท้าหัก นายเอต้องลากสังขารไปเข้าเฝือกที่คลินิกหนึ่ง แล้วกลับไปทำกิจกรรมยามว่างที่น่าเบื่อ ณ หอพักตามลำพัง

 

จะเห็นว่ากรณีตัวอย่างของนายเอ เกิดสภาวะที่ผมกำลังเรียกว่า กิจกรรมยามว่างที่ถูกจำกัด (Leisure Constraints) มีความยากลำบากในการใช้ทำกิจกรรมยามว่างที่ตนเองตั้งใจหรือวางแผน โดยมีอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ได้แก่ สิ่งกีดขวางหรือวัตถุโครงสร้าง (structural barriers) บุคคลที่เราติดต่อสื่อสารด้วย (interpersonal barriers) และความพร้อมของตนเอง (intrapersonal barriers)

 

โดยปกติแล้ว คนที่อยู่เฉยๆ คงไม่ง่ายนักที่จะได้รับอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมดังกล่าว นอกเสียจากการนำตนเองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมดังกล่าว เช่น นายเอเริ่มตอบตกลงไปทำงานด่วนทันทีโดยที่ยังไม่ได้มีโอกาสคิดและตัดสินใจเลือกที่จะไม่ไปเลย เป็นต้น บางท่านอาจจะพิจารณาปัญหาสุขภาพ (health restrictions) เป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรมยามว่าง แต่จริงๆแล้วเราต้องรู้จักเลือกชนิดและลักษณะการทำกิจกรรมยามว่างๆ นั้นให้เหมาะสม นั่นคือรู้จักที่จะมีกิจกรรมยามว่างที่ตนเองชอบและพอเป็นตัวเลือกได้ (Leisure choices) กรณีที่จะต้องเกิดอุปสรรคต่างๆโดยไม่คาดฝัน

 

จากงานวิจัยที่ผ่านมา บุคลิกภาพของคุณเองนั้นมีผลอย่างมากต่อการเกิด Leisure Constraints ตัวอย่างเช่น คุณมีบุคลิกภาพที่ไม่ปฏิเสธการขอความช่วยเหลือ แม้ว่าจะเป็นกิจกรรมที่คุณไม่ชอบ หรือไม่สำคัญต่อคุณ ที่ผมเรียกว่า Mister YES คุณจะมีอุปสรรคในการทำกิจกรรมยามว่างบ่อยครั้ง ผมกำลังจะบอกว่า เราสามารถเลือกที่จะปฏิเสธการขอความช่วยเหลือได้ ขึ้นอยู่กับการพูดคุยในเชิงเจรจาตกลงกับคนที่มาขอความช่วยเหลือจากคุณ ว่าให้คิดกลับกันว่าจะมีหนทางอื่นไหมถ้าคุณไม่สามารถช่วยเหลือได้ ขั้นตอนนี้ผมขอเรียกว่า Constraint negotiation ดูเหมือนจะยากที่จะพูดคุย แต่คุณสามารถสร้างบุคลิกภาพที่ยืดหยุ่นและมองโลกในแง่ดี (flexibility and optimistic personality) เช่น ดูจากงานที่คุณให้ช่วย น่าจะต้องใช่เวลาคิดนาน ผมมีเวลาไม่มากในตอนนี้ จะเป็นไปได้ไหมครับที่คุณพอจะกลับไปคิดงานนี้ต่อเองก่อนครึ่งหนึ่ง ลองพยายามดู แล้วถ้าไม่ได้ลองกลับมาถามผมไหม เผื่อผมจะช่วยคุณได้อีกครึ่งหนึ่ง คุณคิดว่าอย่างไรครับ เป็นต้น

 

ผมมีประโยคหนึ่งใน paper ที่อยากจะทิ้งท้ายให้ท่านผู้อ่านพิจารณาครับ

“When our intent is to understand factors that shape and give meaning to leisure more broadly than engagement in a specific activity, we might be better served by stepping outside the limited perspective of leisure constraints.”

หมายเลขบันทึก: 49442เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2012 08:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ได้ความรู้มากค่ะ ขอบคุณ อ.ป๊อปค่ะ

เห็นด้วยกับ อ.ป๊อบ ค่ะ

ดิฉันคิดว่าบุคลิกภาพของบุคคลมีผลอย่างมากต่อการเกิด leisure constraints อย่างเช่นตัวอย่างที่ อ.ป๊อบ ยกให้ดู ถ้าบุคคลที่มีบุคลิกยอมคน ปฏิเสธไม่เป็น ก็มักจะถูกคนที่รู้จุดนี้เอาเปรียบเสมอ จนทำให้บางครั้งขาดโอกาสที่จะได้ไปทำกิจกรรมที่ตนสนใจ 
ดิฉันขอยกตัวอย่าง "เพื่อนของดิฉันเองค่ะ เขาเป็นคนไม่ค่อยพูด ไม่ปฏิเสธ ใครให้ทำอะไรก็ทำโดยไม่ปฏิเสธหรือไม่บ่นเรย บ่อยครั้งที่เราหมู่เพื่อนไปกินเลี้ยงกัน เพื่อนคนนี้มักถูกวานให้จัดของ ทำอาหาร ล้างจาน ฯลฯ เพื่อนคนนี้กะจะทำทุกอย่างนะคะ ในขณะที่เพื่อนคนอื่นก็คุยกัน เล่นเกมกันต่อ" 
บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลจะต่างกันไป ซึ่งทุกคนสามารถเห็นได้ชัดเจน ยิ่งคนใกล้ชิดที่คุ้นเคยกันกะมักจะรู้จักตัวตนดี ซึ่งบางทีอาจเป็นจุดด้อยที่ทำให้คนอื่นเอาเปรียบได้
 กิจกรรมยามว่างที่ถูกจำกัด หรือมีความยากลำบากในการใช้ทำกิจกรรมยามว่างที่ตนเองตั้งใจหรือวางแผน อาจมีอุปสรรคได้จากหลายอย่าง ดังที่ อ.ป๊อบได้กล่าวไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพร้อมของตนเองที่จะทำกิจกรรมยามว่าง อย่างเช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นอัมพาตครึ่งซีก หากเขาอยากเล่นกีฬา หรืองานประดิษฐ์ที่ระเอียดและต้องใช้สองมือก็จะสามารถทำได้ลำบากหรือทำไม่ได้เลย ดังนั้นจึงควรมีการปรับกิจกรรมยามว่างให้เหมาะสมกับความสามารถของคนไข้ เพื่อให้เกิดความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีตามมา..

                                                          พัชรี รุ่งฉัตร 5323011 OT#3

ขอบคุณบทความดีๆ จากอาจารย์ป๊อบค่ะ
เื่มื่อได้อ่านบทความนี้แล้ว เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำว่า  "บุคลิกภาพของคุณเองนั้นมีผลอย่างมากต่อการเกิด Leisure Constraints"  ทำให้ดิฉันนึกถึงชีวิตในช่วงมัธยม ตอนนั้นตนเองมีบุคลิกคล้ายกับMister Yes หรือนายเอ ที่ไม่ค่อยปฏิเสธใคร ยิ่งช่วงนั้นเป็นเด็กกิจกรรม เมื่อถูกขอความช่วยเหลือจากครูหรือผู้ใหญ่ ก็จะตอบตกลงทันที โดยไม่ได้ดูว่างานนั้นเรามีศักยภาพและความสามารถเพียงพอที่จะทำหรือไม่  ซึ่งพฤติกรรมของดิฉันได้ส่งผลต่อความสมดุล(Balance)ของกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทำให้การจัดการเวลา(Time management)ในแต่ละวันเสียระบบไป กิจกรรมยามว่างที่วางแผนจะทำร่วมกับครอบครัวและเพื่อน เช่นShopping รับประทานอาหารเย็น ดูหนัง ร้องเพลงก็ถูกจำกัดไป  ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ชื่นชมและรู้จักในโรงเรียน แต่เมื่อเทียบกับความสุขที่หายไปมันเทียบไม่ได้เลย เมื่อรู้สึกดังนั้นเราเลยให้ความสำคัญกับตนเองมากขึ้น หันมาอยู่กับกิจกรรมที่เราสนใจและมีความสุขที่จะทำมากกว่า 

นอกจากนี้ ดิฉันขอเสริมเรื่องอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวทั้ง3 อย่าง ได้แก่ 
1. สิ่งกีดขวางหรือวัตถุโครงสร้าง (structural barriers)
2. บุคคลที่เราติดต่อสื่อสารด้วย (interpersonal barriers)
3. ความพร้อมของตนเอง (intrapersonal barriers)
ซึ่งหากทราบแล้วว่ากิจกรรมยามว่างถูกขัดขวางด้วยอุปสรรคใด เราก็ควรแก้ที่สาเหตุนั้น เช่นถูกขัดขวางด้วยStructural barriers เีราควรแก้ด้วยการปรับสิ่งแวดล้อม สถานที่ทำกิจกรรม และการดัดแปลงอุปกรณ์ 
ถูกขัดขวางด้วยInterpersonal barriers อาจใช้วิธีการเจราจาต่อรอง เช่นเดียวกับวิธีของอาจารย์ป๊อบ  ถูกขัดขวางด้วยIntrapersonal barriers ให้ประเมินก่อนว่าบุคคลนั้นมีความสามารถและความบกพร่องทางด้านใด ทั้งนี้ควรดูทั้งด้านร่างกาย(กระดูกหัก ข้อติด กล้ามเนื้ออ่อนแรง) ด้านจิตใจ(ซึมเศร้า รู้สึกไม่มีคุณค่า วิตกกังวล) ด้านสังคม(เศรษฐกิจ ฐานะ) และด้านปัญญา(ทักษะชีวิต การเรียนรู้)

ซึ่งบทบาทที่สำคัญของนักกิจกรรมบำบัดคือการตรวจประเมินความบกพร่องและความสามารถ วางแผนการบำบัดโดยใช้กิจกรรมการรักษาเป็นสื่อ โดยเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจและต้องการที่จะทำ ผ่านการวิเคราะห์/สังเคราะห์ ปรับและประยุกต์กิจกรรมให้เหมาะสมกับความสามารถ และส่งเสริมทักษะที่บกพร่อง จากนั้นให้การบำบัดฟื้นฟู ติดตามผล และประเมินซ้ำ  หัวใจหลักสำคัญคือ"Client center" เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความสุข และเห็นคุณค่าในตนเอง

อาจารย์ป๊อปคะ ขอเพิ่มเติมจากคอมเม้นข้างบนของดิฉัน(Milkizz)คะ

อยากทราบว่า ในผู้รับบริการจิตเวช ที่มีการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่สมดุล ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการนอนและการดูทีวี เมื่อเราสอบถามว่าเคยทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง หรือสนใจที่จะทำกิจกรรมอะไร เค้าตอบกลับมาว่าไม่เคยทำส่วนใหญ่อยู่บ้านก็ดูทีวี มาอยู่ที่นี้ก็ไม่อยากทำอะไร เมื่อเราให้Interest checklist ให้เค้ากรอก ก็ได้คำตอบเช่นเดิมคือไม่อยากทำ และหากเราลองจัดกิจกรรมแล้วเค้าลุกหนี เราควรทำอย่างไรคะ อยากได้คำแนะนำจากอาจารย์คะ ขอบคุณคะ

น.ส. อารยา อารีสกุลสุข  5323018 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่3

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท