ตอบคำปรึกษาเรื่องหัวข้อวิจัยด้าน KM


         ผมได้รับอีเมล์จากนักศึกษาระดับปริญญาเอก (ย้ำคำว่าปริญญาเอก)  ขอให้ช่วยแนะนำหัวข้อวิจัยด้าน KM อยู่บ่อย ๆ

         จึงขอประกาศไว้ว่าผมจะไม่มีวันบอกหัวข้อวิจัยให้แก่นักศึกษาปริญญาเอก   เพราะการเลือกหัวข้อวิจัยต้องเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการศึกษาหาความรู้   เน้นคำว่ากระบวนการ

         ผมมีความเห็นว่า  การที่นักศึกษาปริญญาเอกไปเที่ยวขอหัวข้อวิจัยจากคนโน้นคนนี้เป็นพฤติกรรมของความเข้าใจผิดต่อการเรียนระดับปริญญาเอก (หรือผมเป็นผู้เข้าใจผิดเสียเอง?)   คือคิดว่าแค่มีหัวข้อวิจัยและผ่านคณะกรรมการสอบก็ใช้ได้   นี่คือการตีความหมายของการศึกษาระดับปริญญาเอกผิดและจะทำให้อุดมศึกษา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งบัณฑิตศึกษา) ตกต่ำด้านคุณภาพ

         จะทำให้นักศึกษามุ่งแค่ให้จบ   ไม่มุ่ง "ศึกษา" ที่เป็นการศึกษาระดับปริญญาเอก   คือการค้นคว้าอย่างทุ่มเทจริงจัง   ถ้าจะถามคนอื่นก็ไม่ถามแบบสมองว่างอย่างที่มีคนมาถามผม

         การถามแบบสมองว่างคือไม่บอกเลยว่าตนเองศึกษาค้นคว้ามาแล้วอย่างไรบ้าง   และมีความคิดของตัวเองอย่างไร  ตัวคำถามที่ถามนั้นตนเองตอบอย่างไร   มีข้อสงสัยต่อคำตอบอย่างไร

         นักศึกษาระดับปริญญาเอกต้องอย่าไปเที่ยวถามใคร ๆ แบบตนเองสมองว่างครับ

         มหาวิทยาลัยต้นสังกัดต้องแนะนำนักศึกษาให้เข้าใจคุณค่าของการศึกษาระดับปริญญาเอกให้ถ่องแท้ครับ   และต้องสอนว่าอย่าไปเที่ยวถามใคร ๆ แบบสมองว่าง   เพราะมันเป็นการเสียชื่อมหาวิทยาลัย

         ผมยอมเอา "อปิยวาจา" ขึ้นบล็อก   เพื่อช่วยกันธำรงคุณภาพของบัณฑิตศึกษาไทยครับ

วิจารณ์  พานิช
 11 ก.ย.49

หมายเลขบันทึก: 49439เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อ. หมอ วิจารณ์ครับ

ผมเห็นด้วย 100% ในเรื่องนี้ครับ ปัญญาจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการตกผลึกทางความคิด โดยเฉพาะการตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบครับ การได้มาซึ่งปัญหาการวิจัยต้องเป็นการตกผลึกความคิดระดับหนึ่ง ไม่ใช่การถามใครเป็นหลักครับ เพราะความรู้ที่ได้ตอนพยายามตั้งปัญหามีคุณค่ามาก

ตอนผมเป็นนักศึกษาอยู่ ผมเห็นเพื่อนหลายคนใช้เวลาหลายปีหาหัวข้อทำวิจัยอยู่ ผลปรากฏว่าเค้ากลับได้ลู่ทางในการทำหรือประยุกต์นวัตกรรมและตัดสินใจหยุดการวิจัย และจบตรง สถานะภาพ Ph.D. Candidate แล้วออกไปเริ่มตั้งบริษัท

คนที่ตั้ง google หรือบริษัทหลายๆบริษัทใน US ก็เป็นแบบนี้ครับ

ผมว่าการเข้าใจตัวเองเป็นสิ่งสำคัญและเป็นตัวตั้ง มากกว่าการเอาแค่ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ได้ปริญญามาเป็นหลัก สังคมไทยควรสนใจในความรู้และองค์ความรู้มากกว่าคุณวุฒิที่ขาดจุดยืน

ปรอง

ขอสนับสนุนเช่นกันคะ...นักศึกษาปริญญาเอกหาใช่จะเอาแค่ใบปริญญาเท่านั้น..ต้องแสวงหาข้อค้นพบใหม่และค้นคว้าหาคำตอบอยู่ตลอดเวลา...กะปุ๋มใช้เวลาในการศึกษาอยู่ตลอดเวลา..โดยใช้ตัวตั้งแห่งความสงสัยของตนเองเป็นหลัก...จากนั้นก็แสวงหาคำตอบด้วยตนเอง...และถกกับผู้รู้ในบางครั้ง...แต่ไม่ใช่นำคำตอบของผู้รู้นั้นไปใช้...การถกทำให้ความคิดของเราต่อยอด...และพุ่งไปสู่การแสวงหาคำตอบได้ชัดเจนขึ้น...และที่สำคัญนักศึกษาปริญญาเอกต้องไม่ไปนำผลงานของคนอื่น..มา coppy ใช้...ในงานของตนเอง กะปุ๋มกับเพื่อนๆ...หลายคนที่จบปริญญาเอกมา..ทุกคนต่างทำงานหนัก และคลุกอยู่กับงานของตนเองตลอด...และที่สำคัญการทำดุษฎีนิพนธ์ต้องลงมือทำและศึกษาด้วยตนเอง...ไม่ใช่ไหว้วานให้คนอื่นทำให้...

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

   มีคนรู้จักที่ไปเรียนระดับปริญญาเอก ปริญญาโท ตามสถาบันบางแห่ง ฟังเขาเล่าแล้วทำให้รับทราบข้อมูลว่าบางแห่ง ถ้าอยากเรียนจบไว ๆ แนะนำให้เรียนภาคพิเศษวันเสาร์-อาทิตย์ ค่าหน่วยกิตแพงหน่อย แต่จบง่ายจบไว วิทยานิพนธ์ก็ผ่านไม่ยาก

    ฟังแล้วดิฉันสะท้อนใจ คิดว่าคนที่เห็นดีเห็นงามเช่นนั้นคงหวังแค่ปริญญาบัตร ไม่ได้หวังความรู้จริง ๆ แล้วยังเห็นความเสื่อมของสถาบันที่ว่านั้นอีกด้วย....โอ้ละหนอ...เวรกรรม....เป็นความช้ำใจของคนที่มีความใฝ่รู้ที่แท้จริงเสียจริง ๆ เลยค่ะ
ขอสนับสนุนค่ะอาจารย์ และเห็นด้วยกับทุกท่านค่ะ งานวิจัย(thesis)ที่จะทำต้องมาจากเรื่องที่เรารู้และอยากรู้ต่อไปอีก จึงจะนำมาวิจัยเพื่อตอบคำถามที่เราอยากรู้ใช่ไหมคะ แหะๆแต่ตัวเองยังไม่จบ ป โท เลยค่ะ เรียนทีไร ก็เรียนในสิ่งที่ตัวเองอยากรู้เท่านั้น เก็บครอสเวิร์คได้เยอะมาก (หลายสาขา หลายมหาวิทยาลัย) แต่หาหัวข้อวิจัย( thesis )ที่อยากจะทำจริงๆไม่ได้สักที เล๊ยยยยยยย ไม่จบ 555

เรียน อาจารย์ที่เคราพ

ผมคิดว่าการยกเรื่องขึ้นมาปรึกษาอาจารย์เช่น การใช้ KM ในองค์กรจะประสบความสำเร็จมาจากผู้บริหารเท่านั้น เป็นการเรียนปรึกษาอาจารย์อย่างนี้ได้มั้ยครับ และให้อาจารย์วิพากษ์ว่าไม่เหมาะ หรืออย่างไร ดีกว่าไม่เตรียมวิธีการมาเลย

ที่ถามเพราะ อาจารย์ถือเป็นผู้ที่รู้มากที่สุดท่านหนึ่งของ KM ในเมืองไทยครับ

จุดเริ่มต้นของการวิจัยมี 2 ทิศทาง คือ การเริ่มต้นจากปัญหา กับ การเริ่มต้นจากวิสัยทัศน์ โดยมีทางเลือกดังนี้

ทางเลือกที่ 1 เลือกเรื่องที่เราอยากรู้ มีความสนใจเป็นพิเศษ

ทางเลือกที่ 2 เป็นเรื่องที่เรารัก เราชอบ

ทางเลือกที่ 3 เลือกเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว

ทางเลือกที่ 4 เลือกเรื่องที่เรามีประสบการณ์

ทางเลื่อกที่ 5 เลื่อกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรา

ทางเลื่อกที่ 6 เลื่อกเรื่องที่เราได้คันคว้ามามากๆๆ

ทางเลื่อกที่ 7 ทำการต่อยอดจากที่คนอื่นๆทำไว้แล้ว

ทางเลื่อกที่ 8 การพูดคุย ถกเถียงกัน อาจทำให้เกิดหัวข้อได้

ทางเลื่อกที่ 9 เลือกหัวข้อตามแหล่งที่ให้ทุนการศึกษา

คุณกะปุ๋ม ออกจะชมตัวเองมากไปหน่อยมั้งครับ คุณแน่ใจนะว่าคุณไม่คัดลอก งานของบุคคลอื่นมาไว้ในงานวิจัยของคุณ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้หรอก งานวิจัยขั้นเทพ ต้องมีบางส่วนของคนที่ทำอยู่แล้วมาใช้ในงานวิจัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท