ความหวัง ความฝัน กับความจริง


เรื่องที่เป็นจริง แต่ไม่ต้องการ

           ชีวิต กับลมหายใจ และการอยู่เเบบคนมีหวัง มีฝัน แม้ฝันนั้น จะง่าย จะยาก จะเป็นจริง หรือเพียงแค่มีหวัง ก็ทำให้เรา มีสุขกับสิ่งที่ได้หวัง....แต่ในทางธรรมะแล้ว การอยู่กับปัจจุบันเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด

 

  เมื่ออ่านบทความหรือข้อคิดข้อเขียน ของแล้วหลายๆคนก็จะบอกว่า  อย่าตั้งความหวังไว้สูงเกินกำลัง(ที่จะไขว่คว้าเอา)

 

 แต่สำหรับน้อง เอ  เด็กผู้หญิงร่างเล็กที่ร่าเริงสดใส เรียนเก่ง ความฝันของเธอที่มุ่งมั่นตั้งใจเมื่อจบการศึกษา จะกลับมาพัฒนาบ้านเกิด "สำนึกรักบ้านเกิด"

 

    ปีหนึ่งน้อง ก็ยังสดใส ชีวิตที่หวังไว้มันต้องเป็นจริง  ในมหาวิทยาลัย คนต้นแบบทั้งการเรียน การทำงาน จิตอาสา มีมากมายที่ทำให้น้อง เอ รู้สึกปลื้มใจ ไม่ผิดหวังที่ก้าวเข้ามาเลือกสถาบันที่ทำให้ตนเอง รู้จักคิด แก้ไขปัญหา

 

   ปิดเทอมกลับบ้าน สายตาที่มุ่งมั่นตั้งใจจะพัฒนา น้องเอ ได้คุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆเป็นที่สนุกสนาน จนคนในหมู่บ้าน ให้ฉายา "รุ่นนี้ไฮเปอร์แอคทีฟ"

 

    น้องเอกับเพื่อนๆได้แต่ยิ้มรับกับคนเหน็บแนมแกมหยอกของชาวบ้านที่กล่าวขานรุ่นตัวเองด้วยความดีใจที่ผู้ใหญ่ใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิเดขึ้นในหมู่บ้าน

 

      ทุกเย็นที่ลานกิจกรรมที่นอกจากการเล่นของเด็กๆ วัยรุ่น และผู้สูงอายุ ยังมีเรื่องราวที่พบปะพูดคุยบอกเล่าเก้าสิบ กับเหตุการณ์ข่าว คราวของชาวบ้าน บรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความเอื้ออาทร  ห่วยใย งานบุญ งานบ้านใครต่อใคร(ไม่ต้องแจกซองให้เสียเวลา  บอกต่อมันตรงนี้แหละ)

 

    "อีนางกลับมา กะเฮ็ดให้ไทบ้านม่วนดีเนาะ  ไปบ้านเฮาต่างคนต่่างอยู่คือในเมืองโพ้ด   เฮ็ดจั่งซี่ มาจุ้มกันซะแม่นดี  คือ แต่ก่อน นางเอ้ย"  เสียงยายล้ำบอกกับน้องเอ พลางลูบไหล่ ลุบหลังน้อง

 

"เอื้อยว่า เด็กน้อยบ้านเฮาจบแล้วบ่ไป กรุงเทพ หรือเฮ็ดงานม่องอื่นคึ สิดี เนาะ " เอื้อย จันทร์ ลูกสาวพ่อใหญ่จูม  (หมอสู่ขวัญที่ชาวบ้านให้การนับถือ)

 

"กะอยากอยู่บ้านฮั่นหล่ะเอื้อย หนูเลือกเรียนเกษตร ย้อนหนูอยากอยู่บ้านเฮา นากะมี ควาย กะมี กะว่าสิมาเฮ็ดไฮ่ เฮ็ดนา นี่หล่ะ ตอนนี่หนูพยายามหาความรู้ ผู้ได๋ทดลองปลูกอิหยัง ใน มอ หนูสมัครไปเป็นอาสาสมัครเหมด ย้อนหนูอยากเฮ้ดเป็น ดินบ่ดี แก้จั๋งได๋  นาสิบไฮ่ สิเฮ็ดจั๋งได มันจั่งสิได้คุ้มค่า มีกิน มีขาย "

 

 "ป้าดอีหล่า บ่ย้านผู้ฮ้ายติ๊  ผู้สาวคือย่าน ดำ ย่านแหล่ แท้ แม่โตบ่ว่าติ๊ เอื้อยบ่เห็นเด็กน้อยผู้สาว เขาคึดคือ โตเด๊นาง"

 

"เอื้อยเอ้ย ประเทศเฮาต้องแข่งขันตั๊วเอื้อย เบิ่งแน่ ถ้าพวกเฮาบ่ ปรับโต  จั่กหน่อยมันกะสิสู้ เวียดนาม ลาว บ่ได้เด้  เขาโมษณา อาเซียนนั่นหล่ะ เฮาต้องฮู้ว่า บ้านเฮาเฮ็ดจั่งได สิขาวข้าวสู้เขาได้  เฮ็ดจั่งได๋ สิปลูกข้าวบ่ใส่ปุ๋ยเคมีหลาย มันสู้กันม่องตลาดส่งออกพู้น"

 

"ฮ่วย นางเอ นางหัวก็สิไปเฮียน ม่าสนใจบ้านเมืองดีแท้ น้าอยากให้เด็กน้อยบ้านเฮาคึดได้จั่งซี่ฮ้าย''

 

"หนูกะอยากให้ประเทศเฮาเป็นที่หนึ่ง การส่งออกข้าวคือเก่าจ้า บางเทื่อหนูเว้าไป กะอย่าซังหนูเด้อ ถ่าไทบ้านเฮาฮักกัน สามัคคีกัน ซอยกัน บ่ทิ่มบ่ป๋า กันไปไซ หนูกะพูมใจว่าหนูเป็นลูกอิสานบ้านนี่" แม่น แม่น ชาวบ้านที่นั่งรวมกลุ่มอยู่ต่างเห็นด้วย

 

   บรรยากาศการพูดคุยเงียบไปเมื่อคนก้าวเข้ามาใหม่คือ ลุงฮง ที่ชาวบ้านต่างเอาบ้าน ที่ดิน ที่นา ไปฝากไว้ พ่อ ก็เป็นคนหนึ่งที่น้องเอ ก็เพิ่งรู้ว่า พ่อเอาที่นา ไปฝากไว้กับลุงฮง

 

ลุงฮงเป็นคนเชื้อสายจีนย้ายเข้ามาหมู่บ้านเราไม่กี่ปี ก็มีที่ดิน ที่ชาวบ้านเอามาจำนำ จำนอง แล้วถูกยึดไปเป็นของลุงฮง  ชาวบ้านเล่ากันว่าลุงฮงไม่เคยแม้จะดุด่าชาวบ้าน การตามหนี้สิน ก็พูดจาดี  แต่แกใช้ข้อสัญญา มายึดเอาทรัพย์สินที่ประกันหนี้ไว้

 

   น้องเอไม่รู้หรอกว่าสัญญาที่ทำกับลุงฮงไว้เป็นยังไง  แต่วันนี้ที่ลุงฮงเข้ามาในลานกิจกรรมวันนี้ มันทำให้น้องเอรู้สึกว่า   ที่นา ที่ดินทำกินที่พ่อเอาไปฝากไว้ เพราะไม่มีเงินค่าลงทะเบียน ค่าเล่าเรียน กับเอาเงินไปลงทุนค้าผ้า  พ่อยังไม่ได้ส่งทั้งต้นทั้งดอก "เดือนหน้าถ้าบ่ส่งดอก กะทบต้นทบดอก หล่ะลูก"เสียงพ่อก้องในหนู

 

 ลุงฮงไม่ใช่คนหน้าตาดุ ใบหน้ายิ้มแย้มพูดจาดี มีสัมมาคารวะ ชาวบ้านทุกคนเกรงอกเกรงใจต่างกับเจ้าหนี้ที่ฉายในละครตามช่องต่างๆ

 

แต่ช่างเถอะถึงยังไงก็ตาม เดือนหน้า ไม่ได้จ่ายดอก หนี้ก็ต้องเพิ่มขึ้นอีก

 

แล้วตั้งสี่ปีกว่าจะเรียนจบ พ่อต้องกู้หนี้อีกเท่าไหร่.......น้องเอ ยิ้มทักทายยกมือไหว้ลุงฮง .......

 

"คุณลุงผู้มีบุญคุณกับครอบครัวหนูถ้าไม่มีคุณลุงหนูคงไม่ได้เรียน ไทบ้ามีแต่คนว่าลุงใจบุญถ้าบ้านเฮามีคนดีมีคุณธรรมคือลุง หลายๆประเทศไทยคือสิพัฒนาไปไกลเนาะ"

 

   คำพูดที่พรั่งพรูออกจากปากของสาวน้อยไม่รู้ว่าเกิดจากความอัดอั้น หรือเกิดจากความน้อยใจ ในความจน  อนาคตข้างหน้า กับที่นา ที่ใกล้จะถูกยึด หรือความเป็นจริงที่ต้องเจอ ความไม่รู้กฏหมาย ข้อเสียเปรียบ ของชาวบ้าน ความรู้ไม่เท่าทันไม่รู้จะปรึกษาใคร เงินที่ได้าง่ายๆ เพราะหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน  กับอนาคตที่ได้แต่ภาวนา เพราะข้าวที่ได้แต่ละปี หักค่าปุ๋ยก็เหลือไม่กี่พัน.....................

 

                 บันทึกของสาวน้อย ตอนที่1

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ความหวัง
หมายเลขบันทึก: 494150เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบบันทึกที่เจือด้วยกลิ่นอายภาษาอีสานครับ

แวะมาเยี่ยมชมและอ่านบันทึกคะพี่ วิลาวัณย์

ถึงจะไม่เข้าใจในทุกถ้อยคำด้วยภาษา

ท้องถิ่นอีสานของผู้เขียนแต่ก็ชื่นชอบ

และสัมผัสได้ถึงความหมาย ที่ต้องการจะสื่อคะ

 

ขอบคุณ คุณปริม คุณทิมดาบ คุณEGA ที่แวะเยี่ยม

เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านค่ะเอามาเล่าสู่กันฟังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท