รวมมิตรทีมเยือน KM กรมอนามัย (20) ... ของฝาก จาก อ.หมอนันทาค่ะ


การแลกเปลี่ยนกันนี้ และนำมาใช้จริง น่าจะมีประโยชน์ และเน้นที่จะให้ชื่นชมในความสำเร็จซึ่งกันและกัน และเวลาที่เราไปทำตามหน่วยงานที่เริ่มต้น ที่จะให้เกิดการ ลปรร.

 

อ.หมอนันทา เป็นผู้ให้พลังการทำงาน KM มาตั้งแต่แรกเริ่ม เรียกได้ว่า ถ้าไม่มีอาจารย์ ก็ไม่มี KM ก็ว่าได้ค่ะ ปัจจุบัน อ. ชอบอยู่ในตำแหน่งเจ๊ดัน ... คือ เป็นผู้นำไปในทุกๆ เรื่องของกรมอนามัยละค่ะ

ท่านได้ชี้แนะเล็กๆ สำหรับการทำงานกับผู้บริหารละค่ะ

  • สิ่งที่ได้ทำนั้นคือ ไปสื่อสารให้ท่านอธิบดีได้รับทราบ ว่า เราทำไปได้ถึงไหน อ้างถึงอาจารย์วิจารณ์ก็บ่อย ว่าถึงเรื่องที่อาจารย์วิจารณ์ไปเขียนใน blog GotoKnow เพื่อให้ท่านรู้ว่า เรากำลังทำอะไร และครั้งที่ทำ workshop ก็เชิญอธิบดีมาเปิด
  • อันที่สำคัญคือ เราจะมีเลขาฯ คือ คุณศรีวิภาไปสื่อสาร เล่าให้ CKO ฟังเป็นประจำ ให้ได้รับทราบ มีส่วนร่วม และมาให้การสนับสนุนในส่วนที่ขาดของเรา ที่เราต้องการ
  • ตัวดิฉันเองก็ช่วยเป็นตัวกระตุ้นหน่วยงานต่างๆ โดยการพูดคุยว่า ทำไปถึงไหนแล้ว หรือเรารู้ว่าคนไหนเป็นทีม KM ก็ถามความก้าวหน้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำงานที่ต่อเนื่อง หรือร่วมชื่นชม คือ พอรู้เรื่องที่เขาทำอะไรมา ก็ไปชื่นชม เพราะว่าเราเชื่อว่า การจัดการความรู้เป็นงานที่จะไปพัฒนางานอื่นๆ เช่น ISO TQA เป็นที่ที่จะรับมาตรฐาน แต่ละกรอบการพัฒนา เราถือว่า การใช้ KM เป็นเครื่องมือ หรือว่าเป็นหลักการที่จะพยายามมาดึงความรู้ที่อยู่ในตัวคนออกมาเพื่อใช้ประโยชน์ และก็ให้คนที่จำเป็นต้องใช้ ให้เข้าถึงตรงนี้ให้ได้

ส่วนนี้ก็คือ รู้วัฒนธรรมขององค์กรของตนเอง วัฒนธรรมองค์กรกรมอนามัย อาทิเช่น

  • ความรู้ที่เป็น explicit knowledge เราก็ทำมาแล้ว อย่างที่ว่า ที่ศูนย์สื่อส่งเสริมสุขภาพ ... ความสำคัญตรงนั้น ก็คือ ในอดีต เราก็มีความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว ลดปัญหาโภชนาการเด็ก แต่เราต้องไม่มั่นใจว่า คนเหล่านี้เมื่อออกไปแล้ว ในอนาคตเราจะทำได้หรือเปล่า เราก็พยายามที่จะไปโน้มน้าวให้เขาเห็นว่า การแลกเปลี่ยนกันนี้ และนำมาใช้จริง น่าจะมีประโยชน์ และเน้นที่จะให้ชื่นชมในความสำเร็จซึ่งกันและกัน และเวลาที่เราไปทำตามหน่วยงานที่เริ่มต้น ที่จะให้เกิดการ ลปรร.
  • เราไม่ได้เจาะจงเฉพาะนักวิชาการ เราขอเอามาคนทั้งหน่วยงาน ทั้งหมดเลย และพยายามคุยกับเขาว่า หัวปลาร่วมที่จะร่วมกันคุย คืออะไรที่ทุกคนมีส่วนร่วม และมาช่วยกันคุย ก็จะมีคนขับรถ หรือคนงาน หรือฝ่ายบริหารซึ่งมาคุย พอพูดถึงความรู้ บางทีเราตัดฝ่ายสนับสนุนของเราทิ้งไปเลย ความจริงท่านเหล่านี้ก็เป็นคนที่ช่วยให้เราประสบความสำเร็จ พอเขามาได้แลกเปลี่ยน เขาก็จะรู้สึกว่า ตัวเขามีคุณค่ากับหน่วยงาน และเป็นการกระตุ้นให้เขาทำความดี เพื่อที่จะมาช่วยเล่า แลกเปลี่ยนให้เราฟัง เพราะฉะนั้นถ้ากลุ่มทำหลากหลาย ก็จะมีรสชาติมากยิ่งขึ้น แต่ว่าขอให้เป็นทีมที่ปฏิบัติงานเรื่องเดียวกัน
  • จึงขอย้ำว่า ที่เราพูดว่า KM เข้าไปพัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนาองค์กร ก็เป็นสิ่งที่เป็นเป้าหมายของเรา แต่อีกอันหนึ่งเวลาที่เราพัฒนางานอะไรมาชิ้นหนึ่ง เรากลับมาคิดว่า เราเอา KM ไปใช้ในงานนั้นๆ ได้หรือเปล่า มันก็จะมีโอกาสใช้ KM ในงานได้เรื่อยๆ

ในฐานะที่ดิฉันเป็นที่ปรึกษา ก็มีคนมาจากหน่วยงานต่างๆ ให้ทำโน่นทำนี่ เราก็พยายามให้เขาเห็นว่า สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ ถ้าเราเอา KM ไปใช้ในโอกาสต่างๆ กัน เราก็มีโอกาสจะนำไปต่อยอด ทำอะไรได้มากมาย อย่างที่คุณหมอสมศักดิ์ก็จะมีหลักการที่ให้เขามีอิสระที่จะจัดกรอบ หรือทำอะไร อาจจะว่าต้นแบบนี้ไม่เหมือนกันสักต้น ก็เกิดต้นแบบหลายต้นขึ้นมา ก็คือ ทำให้เกิด innovation หรือทำให้เขาเกิดความสบายใจที่จะทำ

และมีทีม KM ที่เป็นกรรมการ KM ของเรา ถึงแม้ว่าสำนักที่ปรึกษาจะทำเรื่อง KM แต่เราก็มีกรรมการจากหน่วยงานหลายๆ หน่วยงานมาเป็นทีม และถ้าดู style คุณหมอสมศักดิ์ก็จะพยายามกระจาย ไม่ได้มีแต่เพียงเลขาฯ ทำงาน แต่ก็จะมอบหมายให้คนโน้นคนนี้ไปช่วยกัน ทำให้ทุกคนก็มีประสบการณ์มากขึ้น และก็จะนำไปสังสรรค์ในหน่วยงานของเขาได้

นี่คือการที่เรากระจายประสบการณ์ และมีการแลกเปลี่ยนในการประชุม และอีกอันหนึ่งที่เราคิดว่าเรามีโอกาสก็คือ กรมสนับสนุนอีกหน่อยก็ไปได้ ก็คือ ภาคราชการ สคส. ก็ทำหน้าที่ช่วยเชื่อมระหว่างหน่วยงานที่มีการประชุมทุกๆ 3 เดือน ซึ่งถ้าเรามีการส่งคนของเราเข้าไปประชุม เราก็จะมีอะไรใหม่ๆ จากตรงนั้น รวมทั้งมีโอกาส discuss ประเด็นที่เป็นปัญหา และต้องการแก้ไข ว่า สคส. ทริส และสถาบันเพิ่มผลผลิต ก็ได้มีโอกาสเข้าไปช่วย ก็จะทำให้มีโอกาสเข้าไป share กับตรงนั้น

เคล็ดลับในการทำ KM สักเล็กน้อย

  • ในเรื่องวิธีการให้คุณหมอเข้ามาทำคือ ให้มาเป็นหัวหน้าทีม หรือค้นคว้า หรือเป็นอะไรสักอย่าง แล้วก็ไปเคลื่อน เพราะในกรมอนามัยก็จะมีคุณหมอหลายท่านที่เป็น CKO ก็จะทำให้ท่านระวังตัว
  • หน่วยงานที่เริ่มต้น ควรเริ่มที่เรื่องของความสำเร็จ มาคุยกันก่อน มาแลกเปลี่ยนกันก่อน ที่ รพ.เลิศสินก็คงเก่งเรื่องกระดูก ศัลยกรรม และอีกอันที่เด่นมาก ที่ระดับผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วม คือ การดูแลสภาพแวดล้อม ISO 14001 ซึ่งทำได้ดีมาก บำบัดน้ำเสีย ขยะ จัดการได้ดีมาก ตรงนี้เกิดมาไม่ง่ายนัก ถ้าเรายกประเด็นที่เกิดความสำเร็จในองค์กรขึ้นมาคุยกันก่อน ก็จะทำให้คนเห็นชัด เราก็ไป apply ในเป้าหมายประเด็นอื่นๆ เราก็จะชัดขึ้น
  • สิ่งที่สำคัญก็คือว่า เราคงต้องพยายามใช้ทุกโอกาส คิด เมื่อเราเข้าใจหลักการของ KM แล้ว การจัดการความรู้ และการไปใช้ประโยชน์ เราก็หาโอกาสที่จะใช้มัน ก็จะมาใช้ในหน่วยงาน และรู้สึกว่าเป็นภาระ ไม่มีความแปลกแยก ก็จะทำให้คนเกิดความคิดใหม่ และดิฉันคิดว่า คนที่ระดับปฏิบัติงานที่ไม่ใช่นักวิชาการ จะมีสไตล์การเล่าเรื่อง และการแลกเปลี่ยนที่ดี และไปกระตุ้นให้คนระดับสูงขึ้นมาได้แลกเกปลี่ยนมากขึ้น

ก็คิดว่า ในวันนี้ ในฐานะที่เป็นคนกรมอนามัยขอขอบคุณที่ท่านมาดูงานของเรา ในทุกฐานท่านก็คงได้คำตอบ หรือข้อคิดดีดีจากทุกท่านที่มาในงาน ไปปรับปรุงของเราให้ดียิ่งๆ ขึ้น และก็การที่ท่านมาดูงาน ก็เป็นการกระตุ้นให้กับงาน KM ของเรา ให้ชาวกรมอนามัยได้รู้เรื่อง พัฒนาการของงาน KM ของกรมอนามัยด้วย อธิบดี รองอธิบดีท่านอื่นๆ ก็ชื่นชมว่า เราเก่งขนาดนั้นหรือ ก็จะผลักดันให้ท่านสนับสนุนพวกเราในการทำงาน KM และทำให้ท่านรู้ว่าเรากำลังทำอะไร และก็ขอขอบคุณ ท่านมาในวันนี้ก็คงได้เรียนรู้อะไรที่จะนำไปปฏิบัติ คงไม่ได้ copy ของเราไปทั้งหมด เพราะว่าเราก็ไปดูที่ศิริราช ก็นำบางส่วนมาทำในกรมอนามัย และเราคงมีโอกาสไป ลปรร. กับท่านอีกต่อไปค่ะ 

 

หมายเลขบันทึก: 49257เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2006 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท