เมื่อดร.ป๊อป ไม่คิดเงิน...กิจกรรมบำบัด


ขอบคุณกรณีศึกษาที่ไม่สามารถมาพบดร.ป๊อป ณ คลินิกกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล เลยนัดหมายมาหาดร.ป๊อป ที่บ้าน

กรณีศึกษาเดินทางมาจากสงขลา มีอาการบาดเจ็บของก้านสมอง ราว 1 ปี มีกล้ามเนื้อใบหน้าลีบข้างขวา มีกล้ามเนื้อลิ้นรับรสได้ซีกซ้าย มีกล้ามเนื้อแขนขาข้างขวาที่แข็งแรงและรับความรู้สึกเย็นจากน้ำแข็งได้ดีกว่าข้างซ้าย

ดร.ป๊อป ประเมินและออกแบบโปรแกรมกิจกรรมบำบัด คือ ให้ลองเคี้ยวอาหารจำพวกที่ไม่มีน้ำตาล (จะทำให้น้ำลายเหนียวและกลืนลำบาก) ป้อนผ่านลิ้นข้างซ้าย แล้วเคี้ยวให้ละเอียด ก่อนกลืนให้เอียงคอไปขวา พร้อมกลืนแบบไม่หลับตา หากกลืนไม่ลง ให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางกระตุ้นขึ้นซ้ำๆ เลยใต้คางมาประมาณ 5 ซม. จากนั้นรอจนเคี้ยวเสร็จ ก็จิบน้ำอุ่นแล้วกลืนลงไปอีกครั้ง ซึ่งความอุ่นของน้ำจะกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อการกลืนได้ดีขึ้น ลองแบบนี้ไม่เกิน 3 คำต่อมื้อ ทำ 3 มื้อ ก่อนทานอาหารหน้าท้อง แล้วพยายามฝืนให้กลืนน้ำลายเองใน 5 นาที หากไม่ไหวให้บ้วนน้ำลายลงกระโถนได้ ติดตามผลใน 1 เดือน

กรณีศึกษาเดินทางมาจากราชปารภ เป็นเด็กน้อยสมองพิการ มีแม่ชาวไทยและมีพ่อชาวญี่ปุ่น ร้องไห้ตลอดเวลา พร้อมเคาะศรีษะด้วยสมองมือด้วยความหงุดหงิด ถามไปมา พบว่า คุณแม่กระตุ้นการดูดกลืนกินขณะนั่งแท๊กซี่ แล้วตามด้วยการป้อนนมทางหน้าท้อง ทำให้น้องท้องอืดและมีลมในท้องมากจนไม่สบายตัว

ดร.ป๊อป ประเมินและออกแบบโปรแกรมกิจกรรมบำบัด คือ ให้ใช้ช้อนเล็กตื้นตักอาหารฝึกไม่เกิน 5 คำแต่ละคำห่างกัน 5-15 นาที เพราะน้องหายใจแรงเร็วขณะปิดปากกลืน คำที่ 1 และ 5 สามารถป้อนเป็นน้ำผลไม้ข้นที่ลิ้นตรงมุมปากขวา ที่มีแรงมากกว่าข้างซ้าย เด็กสามารถปิดปากเองได้ ไม่ต้องปิดปากให้เด็ก ปล่อยให้กลืนไปเรื่อยๆ จนอาหารหมด คำที่ 2-4 สามารถป้อนเป็นซุปผัก/ผลไม้ข้น ตรงกลางลิ้น เพิ่มโปรตีนได้บ้างแต่ต้องทำให้เนื้อละเอียด แต่ละคำต้องประคองไม่ให้เด็กก้มและแหงนคอมากจนเกินไป ระหว่างวันนำช้อนแต่แยมหรือช๊อคโกแลต แตะริมฝีปากไปมาให้ทั่วจนเด็กปิดปากเลียได้ด้วย

ทั้งสองกรณีศึกษาได้โทรมาหาดร.ป๊อป เพื่อขอปรึกษาทางกิจกรรมบำบัดในการบำบัดฟื้นฟูความสามารถในการกลืนกินอาหาร ผ่านการอ่านบันทึกใน Go to Know และดร.ป๊อป ไม่มีเวลาให้จริงๆ เพราะติดภาระงานสอนและบริหารที่คณะฯ จึงต้องยอมให้เวลาที่บ้าน เพราะกรณีศึกษามีความตั้งใจและความมุ่งมั่นอย่างแท้จริง ดร.ป๊อป จึงปฏิเสธเมื่อญาติของกรณีศึกษาทั้งสองรายจะนำเงินมาให้ และได้บอกว่า "จะไม่รับเงินในการให้บริการกิจกรรมบำบัดที่บ้านของดร.ป๊อป ที่ทำไปเพราะมีความสุขที่อยากทำด้วยจิตอาสา" ญาติของกรณีศึกษาหน้าเสีย เกรงใจ และยกมือไหว้ด้วยความขอบคุณแล้วเดินออกไปจากบ้านดร.ป็อป โดยนำเงินกลับใส่กระเป๋าของเค้าไป

นี่คือบทเรียนหนึ่งที่ดร.ป๊อป คิดว่า "ทำไมต้องใช้เงินแลกเปลี่ยนบริการ ทำไมไม่ใช้ความสุขแลกเปลี่ยนบริการหละ"

ลองคลิกหาคำตอบจาก MV ความสุขในกระเป๋าใบใหญ่

 

หมายเลขบันทึก: 492251เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2012 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เรียนท่าน ดร.อ่านแล้วอิ่มด้วย เชื่อมั่นว่าคนแบบนี้ยังมีอีกมากแต่ไม่เสนอตัว

สิ่งดีๆเรื่องดีๆ ทำดีๆ อยากฟังอยากแบ่งปันแล้วนำไปแบ่งปันต่อ

ที่แล้วๆมาเรามีประการณ์ตรงทางลบ

ซื้อถ่านไฟฉายใส่วิทยุ ไม่แกะหัวถ่าน พาไปร้านซ่อม เพียงเขาแกะฟรอยบิดหัวถ่านต้องใช้บริการไป ห้าสิบบาท

ขอบคุณค่ะ อยากให้มีเรื่องราวดีๆ แบบนี้เกิดทุกวันในสังคม เข้าใจแล้วว่า ที่อาจารย์ทุ่มเทมุ่งมั่นพัฒนางานกิจกรรมบำบัด ก็ด้วย ได้ช่วยเพื่อนมนุษย์ในการดำรงชีวิตจริงๆ

ขอบคุณมากครับอาจารย์วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

เห็นด้วยครับ ห้าสิบบาทซื้อใจคนไม่ได้จริงๆ ครับผม

ขอบคุณมากครับคุณหมอ ป. เห็นด้วยครับ อยากให้คนไทยมีความสุขกับการให้ทุกๆคนในสังคมมากกว่าปัจจุบัน ใช่ครับวิชาชีพกิจกรรมบำบัดไทยล้าหลังกว่ากิจกรรมบำบัดในประเทศที่พัฒนาแล้วถึง 20-60 ปี ครับ ผมก็พยายามทำให้ดีที่สุดครับผม

ขอบคุณมากครับสำหรับดอกไม้จากอ.ดร.ขจิต อ.นุ อ.ดร.ธวัชชัย คุณชลัญธร และอ.ณัฐพัชร์

มีคนเคยบอกดิฉันว่า ทำบุญทำได้ไม่นานหรอกเดี๋ยวก็หมดแรง อาจารย์ป๊อบคิดว่าอย่างไรค่ะ แต่ดิฉันเองคิดว่า ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง เราทำบุญได้ก็ทำไปเถิดนะคะ ชีวิตคนเราก็เท่านี้ ความสุขทางใจ หรือ Happiness จากการให้อาจช่วยยืดชีวิตให้เราได้อยู่ไปอีกนานกว่าเงินที่ได้รับนะคะ ชื่นชมค่ะอาจารย์ :)

เป็นประเด็นที่น่าสนใจและขอบคุณมากครับ อ.จัน

เมื่อวานแม่ของผมก็ถามว่า เหนื่อยไหมที่ต้องใช้แรงกายและแรงใจกับคนไข้ในวันหยุด ผมก็ตอบว่า เหนื่อยแต่ไม่หมดแรง ไม่ได้คิดว่าเป็นการทำบุญ แต่คิดว่าเป็นการใช้ความรู้ในตัวตนมาช่วยเหลือผู้อื่นด้วยใจ

คุณแม่ของผมก็เสริมว่า ทำดีให้เต็มที่ในวันนี้และวันต่อๆไป เพราะเราไม่มีทางรู้ว่า จะได้มีโอกาสทำดีในชาติหน้าหรือไม่ ทำดีก็มีหมดแรง แต่สักวันก็มีแรงทำดีได้ไหม :)

ยอดเยี่ยมค่ะ มีแรงและมีความสุขก็ต้องช่วยกันต่อไปนะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท