โรคตากบตาเสือในเผือกเลือกวิธีป้องกันรักษาให้หายได้


ส่วนใหญ่เผือกที่อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายมีสาเหตุเกิดจากดินเปรีี้ยวหรือด่างจัดมากเกินไป ได้รับปุ๋ยอย่างขาดความสมดุลย์
ฝนตกบ่อยเกือบจะทุกวันโดยเฉพาะภาคกลาง (มิถุนายน 2555) ส่งผลให้ความชื้นในอากาศสูง เชื้อราฟัยท็อปทอร่า (Phytophthora sp.) ที่มีอยู่มากในอากาศจะถูกสายลมพัดพาไปสร้างปัญหาให้แก่พืชชนิดต่างๆได้มากมาย ยางพาราปลูกใหม่จะเกิดปัญหายอดด้วนเน่าเสียหายเกษตรกรหลายคนใช้วิธีตัดกิ่งออกแล้วรอให้แตกยอดใหม่ ที่ถูกทำลายเสียหายมากก็ต้องรื้อถอนทิ้งปลูกใหม่ ยางพาราอายุมากต้นสูงยาวใบแก่ที่มีเชื้อราฟัยท็อปทอร่าถูกลมพัดปลิวร่วงหล่นจนเชื้อโรคกระจายรุกลามทำให้หน้ายางตายเน่าดำฉ่ำน้ำ ส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะนาว ทุเรียน มังคุดก็อ่อนแอต่อเชื้อราฟัยท็อปทอร่านี้ด้วยเช่นกันจะมีปัญหาเกี่ยวกับรากเน่าโคนเน่าได้ง่าย 

เผือกที่สมบูรณ์ต้นอวบอ้วนใบใหญ่เมื่อถูกเชื้อฟัยท็อปทอร่าเล่นงานเชื้อจะขยายเป็นวงกว้างคล้ายตากบตาเสือมีเกษตรกรประกอบอาชีพนี้จำนวนมากในแถบจังหวัดอยุธยา สระบุรี ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาจากเชื้อราชนิดนี้เข้าทำลายรบกวนและส่วนใหญ่วิธีการแก้ไขยังคงใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราอีกทั้งยังใช้วิธีการรักษาที่ไม่ถูกต้องเท่าใดนัก ด้วยมักจะใช้น้ำยาหรือสารเปียกใบผสมร่วมไปคล้ายฉีดพืชผักชนิดอื่นโดยหวังที่จะช่วยให้ตัวยาเกาะยึดติดแน่นกับต้นและใบเผือกได้ยาวนาน แต่ต้องไม่ลืมว่าเผือกนั้นอาจจะแตกต่างจากพืชอื่นทั่วไปที่มีนวลธรรมชาติคอยปกป้องคุ้มครองเชื้อโรคจากธรรมชาติ ถ้าเราฉีดสารเปียกใบไปทำลายนวลธรรมชาติของเขาออกเสียหมดเผือกก็จะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการถูกเชื้อราเข้าโจมตีทำลายได้ง่าย

ส่วนใหญ่เผือกที่อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายมีสาเหตุเกิดจากดินเปรีี้ยวหรือด่างจัดมากเกินไป ได้รับปุ๋ยอย่างขาดความสมดุลย์ อาจจะเน้นใส่แต่ปุ๋ยไนโตรเจนหรือยูเรียมากไป ให้ปุ๋ยและอาหารไม่ครบถ้วนทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ดินขาดอินทรีย์วัตถุ ขาดซิลิก้าธาตุเสริมประโยชน์จากหินแร่ภูเขาไฟ พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์ที่ช่วยทำให้เซลล์แข็งแกร่งสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่เริ่มปลูกในระยะแรกๆจนถึงการเก็บเกี่ยว คุณพิสิทธิ์ ชอบทำเหมือน (086-8954172) นักวิชาการชมรมฯได้แนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวใช้วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการใช้เชื้อพลายแก้ว 1 ช้อนชา (5 กรัม) หมักในน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผลนาน 24 ชม. แล้วนำมาผสมน้ำ 1 ปี๊บ(20 ลิตร) ฉีดพ่นให้เปียกไปทั่วใบ บริเวณที่มีแผล จะหยุดเชื้อราได้ทันที ควรทำซ้ำทุก 7 วันในช่วงที่มีการระบาดของโรคหรือใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าชนิดละเอียดในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรสลับกันก็ได้ ส่วนการป้องกันใช้วิธีหว่าน พูมิชหรือพูมิชซัลเฟอร์ 2 ถุง/ไร่ จะควบคุมโรคจากเชื้อราเอาไว้ได้

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
หมายเลขบันทึก: 491024เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 07:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท