คราบกรุ เนื้องอก และเนื้อเดิมของพระสมเด็จบางขุนพรหม


การมีความชื้นสูงน่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการละลายของเนื้อปูน ออกมาเป็นน้ำปูน แบบเดียวกับหินงอก หินย้อยในถ้ำ ที่เป็นปูนดิบแน่นอน

พอพูดถึงคราบกรุในวงการพระ คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงคราบที่ปกคลุมอยู่ที่พระสมเด็จบางขุนพรหม และมักสรุปไปเลยว่านั่นคือมาตรฐานของคราบกรุของพระกรุทั่วไป

ลักษณะคราบกรุของพระสมเด็จบางขุนพรหม

ที่เกิดบนผิวปูนสุก ที่จะพองๆ บวมๆ

ทั้งๆที่ความน่าจะเป็นของคราบนั้นส่วนใหญ่ไม่ใช่คราบกรุ แต่เป็นเนื้อปูนดิบที่งอกออกมาภายใต้สภาพกรุ ที่มีความชื้นและน้ำท่วมขังแช่เป็นบางปีเท่านั้น

การมีความชื้นสูงน่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการละลายของเนื้อปูน  ออกมาเป็นน้ำปูน แบบเดียวกับหินงอก หินย้อยในถ้ำ ที่เป็นปูนดิบแน่นอน

ลักษณะคราบกรุที่เกิดบนผิวปูนดิบ

จะแน่นอยู่กับผิวแข็งของปูนดิบ

โดยนัยนี้ คราบที่ผิวของพระสมเด็จน่าจะเป็นคราบปูนดิบ (แคลเซียมคาร์บอนเนต) ที่ตกผลึกเป็น แคลไซท์

ลักษณะคราบกรุของกรุเจดีย์เล็ก บางขุนพรหม

เกาะแน่นกับผิวปูนดิบที่งอกออกมาจากในเนื้อ ผสมกับน้ำมันตังอิ้วเป็นสีน้ำตาลแดง

แต่หลังจากนั้นอาจมีการแทรกซึมของน้ำมันตังอิ้วออกมาที่ผิวปูนดิบ ทำให้เกิดคราบสีน้ำตาลดำ หรือเทาๆอยู่บนคราบปูนดิบอีกชั้นหนึ่ง

ลักษณะผิวมาตรฐานบางขุนพรหม ที่อยู่ในกรุประมาณ 80 ปี แต่มีเนื้อปูนงอกผสมน้ำมันตังอิ้วสวยงามมาก คราบกรุส่วนใหญ่น่าจะถูกล้างออกไปแล้ว

ในขณะเดียวกันก็จะมีสิ่งที่มาจากภายนอก เช่น ฝุ่นละออง ตะกอนดิน เข้ามาปะปน ที่จะทำให้เกิดชั้นยุ่ยๆ ร่วนๆ ที่จะเป็นคราบกรุตามความหมายที่แท้จริง คือมาจากกรุ หรือสภาพแวดล้อมภายในกรุ

ลักษณะนี้จึงเป็นเอกลักษณ์ของคราบกรุพระสมเด็จบางขุนพรหม ที่แท้จริงครับ

หมายเลขบันทึก: 491022เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 07:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2012 07:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท