ทดสอบการนอนกรน : มุมมองของคนไข้


ใช้เครื่องมือทดสอบการนอนกรน

แสงอาทิตย์ยามเย็นวันที่ 25 พค. 55 ด้านหลัง สพม.39

   ประมาณช่วงปลายเดือนมีนาคม 2555  หลังจากที่ไปส่งแม่บ้านพบแพทย์ที่ รพ.ม นเรศวร เพื่อรักษาอาการชา ปวด บริเวณข้อมือ  ได้รับการยุยงจากแม่บ้านว่า  ไหน ๆ มา รพ.แล้ว และที่นี่มีคลินิครักษาโรคนอนกรน  ลองไปติดต่อเพื่อทำการรักษาอาการนอนกรนซิ 


    หลังจากนั้น ผมได้รับบัตรคิวนัดหมายให้เข้าปรึกษาอาการกับแพทย์เฉพาะทาง  เมื่อหมอสอบถามอาการอย่างรอบด้านแล้ว  ให้ผมไปทดสอบการนอนกรนด้วยเครื่องมือ  ซึ่งกว่าจะได้คิวก็เป็นวันที่ 30 พฤษภาคม 2555  ( 2 เดือนถัดมา)  เพราะคนไข้รักษานอนกรนมีจำนวนมาก


    ผมจำเป็นต้องขอนอนที่  รพ. เพราะมีสภาพแวดล้อมในการนอนที่เหมาะสมกว่าที่บ้าน หลังจากติดต่อเจ้าหน้าที่และได้เข้านอนที่ห้องพิเศษชั้นที่ 7  ห้อง 702  ยอมรับ ณ ที่ตรงนี้ว่า ผมมีความรู้สึกว่า ต้องขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุก ๆ องค์ ให้เป็นกำลังใจช่วยปกป้องคุ้มครองให้ผมอยู่อาศัยในห้องนี้ชั่วคราวอย่างสงบเพื่อใช้เครื่องมือทดสอบการนอนกรน

ห้องนอนพิเศษ ชั้นที่ 7 รพ.ม นเรศวร

ลักษณะภายในห้องนอนพิเศษ 702

บริเวณระเบียงห้อง

ศาลาพระกลางบึง ม นเรศวร

สวนหย่อมบน รพ. ม นเรศวร

    ลักษณะของเจ้าเครื่องมือนี้เป็นดังภาพแนบท้าย  ที่อุปกรณ์ประมวลผลจะถูกรัดไว้บริเวณหน้าอก  อีกส่วนอยู่ที่กลางท้อง  และมีอุปกรณ์ติดที่กลางหน้าผาก รูจมูก และบริเวณปาก  รวมถึงปลายนิ้วกลาง (ไม่ได้บันทึกภาพขณะติดเครื่องมือที่ร่างกาย  เพราะไม่น่าดู)  ผมนอนหลับสนิทจริง ๆ ครับ  ตั้งแต่ช่วง 3 ทุ่มถึงตี 2.30 น  (5 ชั่วโมงครึ่ง)  เมื่อตื่นแล้ว   จัดการธุระส่วนตัวเสร็จ  ผมนั่งดื่มน้ำ ดูโทรทัศน์  เพื่อรอให้ถึงเวลาประมาณ 5.00 น จึงขอกลับบ้านเพื่อเตรียมตัวเข้าทำงานต่อไป   อีกไม่นานคงจะมีผลการตรวจสอบครั้งนี้ออกมาว่า  ผมจะต้องได้รับการรักษาอาการนอนกรนอย่างไร

   เมื่อวานนี้ (13 มิถุนายน 2555) ผมไปฟังผลการวิเคราะห์การนอนกรนแล้ว  ค่าเฉลี่ยที่ออกมา ประมาณ 18 (ไม่ทราบชื่อหน่วยวัด)  หมอเจ้าของไข้แนะนำให้ผมปรับพฤติกรรมการนอน  เป็นนอนตะแคง แทนการนอนหงาย  และเพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น  โดยให้ระยะเวลาการปรับพฤติกรรมนี้ ประมาณ 2 เดือน   ผมจึงประสานกับเจ้าหน้าที่ขอคิวตรวจสอบการนอนกรนอีกครั้งในช่วงที่หมอนัด  ครับ


   และการไปฟังผลครั้งนี้  ผมเห็นไวนิลประชาสัมพันธ์เรื่องการรักษาการนอนกรน  ที่แจ้งที่อยู่เวบไซด์ของเจ้าเครื่องมือทดสอบที่ผมใช้  จึงตามเข้าไปดูครับ http://www.soofunmedical.com/  มีข้อมูลสำคัญหลายเรื่องที่ผู้นอนกรนน่าจะเข้าไปศึกษา

หมายเลขบันทึก: 490804เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 07:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2014 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมคงนอนกรนมากกว่าแยะ เพราะตื่นมาเจ็บคอบ่อยๆ เป็นภูมิแพ้ทางเดินหายใจครับ หายใจไม่ค่อยออก ก็แบบนี้ เพื่อนผมก็ไปตรวจมา เป็นขนาดมีหยุดหายใจขณะนอนด้วย หมอให้ผ่าตัดเลย

ตั้งแต่สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา  ผมตัดสินใจใช้เครื่องอัดอากาศเพื่อช่วยบรรเทาอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ให้ลดน้อยลง  ทุก ๆ คืนที่นอนจึงต้องแปลงกายเป็นมนุษย์กบกลาย ๆ  (เพราะมีเครื่องมือครอบจมูก โดยมีสายรัดบริเวณหน้าผากและรอบศีรษะส่วนท้ายทอยกันหลุด ต่อสายอากาศไปเข้ากับเครื่องอัดอากาศ) 

  • ถ้าเป็นไปได้ กรุณานำมาเล่าถึงผลการไปหาหมอ ด้วยน๊ะครับ
  • ได้ประโยชน์มากเลย
  • ขอขอบคุณ ล่วงหน้าครับ 

ที่ผมบอกว่าตัดสินใจใช้เครื่องอัดอากาศ ตรงนี้เป็นเพราะหมอเป็นผู้แนะนำหลังจากผมยืมเครื่องมือนี้ไปใช้งาน แล้วค่าของการหยุดหายใจต่อชั่วโมงลดลงเหลือประมาณ 4 ครั้ง 

หลังการใช้งานประมาณ 3 เดือนให้หลัง จนท.ที่ดูแลเครื่่องมือโทรประสานให้นำผลจากข้อมูลหน่วยความจำ (เครื่่องมือนี้มี 3 ชนิด  ธรรมดา กึ่งอัีตโนมัติ และอัตโนมัติ  ราคาก็จะผันแปรไปตามชนิด หากจำไม่ผิดจะอยู่ที่ 22,000 , 42,000 และ 72,000 บาท  สิทธิการเบิกสำหรับข้าราชการได้เพียง 20,000 บาท  ทั้งนี้ชนิดธรรมดาไม่มีหน่วยความจำใด ๆ และผมเลือกใช้ตัวกลาง ครับ)  ไปประมวลผลเพื่อเสนอให้คุณหมอตรวจสอบผลการใช้งาน

 การไปตรวจสอบซ้ำครั้งนี้  ปรากฎว่าจะใช้ฐานข้อมูล 30 วันสุดท้าย  ซึ่งเจ้ากรรม ผมนอนค่อนข้างดึกแต่ตื่นเช้ามาก  ทำให้ชั่วโมงเฉลี่ยของการใช้เครื่องมือไม่ถึง 4 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยโดยรวมจึงไม่ค่อยดี  แต่เฉพาะวันที่นอนมากกว่า 4 ชั่วโมง  ผลการใช้งานค่อนข้างจะเป็นผลดี (หยุดหายใจน้อยลง)  คุณหมอแนะนำว่า ต้องพยายามนอนให้มากขึ้นและใช้เครื่องอัดอากาศอย่างสม่ำเสมอ

แน่นอนครับ  นอกจากใช้เครื่องมือนี้แล้ว  การออกกำลังกายและดูแลเรื่องอาหาร เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วย  หากท่านใดมีอาการทำนองนี้  ต้องรีบนำตัวเองไปพบแพทย์ที่รักษาเรื่องนี้โดยตรงทันทีนะครับ  หากสะสมอาการนาน ๆ เผลอ ๆ จะทำให้ตัวเองมีสุขภาพที่ย่ำแย่ลง  เผลอ ๆ อาจนอนไม่ยอมตื่น

ขอบคุณ พี่ คณิณ ที่แบ่งปันประสบการณ์ ดีๆ คับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท