ค่ากลาง


ขณะที่กำลังสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์นั้น พื้นที่กำลังทำงานอะไรกันอยู่

      อาจารย์ นพ.อมร นนทสุต กล่าวว่า "เราพบว่า ในบางครั้ง สิ่งที่ถูกกำหนดไว้ในแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ก็ยังสู้งานที่ทำอยู่จริงในพื้นที่ไม่ได้ ดังนั้น หากให้ผู้ปฏิบัติทำงานตามแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์  ก็มีโอกาสที่สิ่งดีๆที่เคยทำอยู่เดิมจะถูกละเลยหรือไม่ได้รับการสนับสนุนซึ่งกลับจะเป็นผลเสียในภายหลัง นี่คือเหตุผลที่เราต้องทราบว่า ในขณะที่กำลังสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์นั้น พื้นที่กำลังทำงานอะไรกันอยู่ หากเราสามารถค้นพบความจริงได้ การบรรจุงานทั้งทางวิชาการและสังคมในช่องที่ 4 และ 5 ของตาราง 11 ช่องย่อมมีพื้นฐานมาจากความเป็นจริงซึ่งจะดีกว่าการคิดเอาเองแน่นอน  งานที่พื้นที่ส่วนใหญ่หรือจำนวนมากกำลังปฏิบัติอยู่นั้น เราเรียกว่า “ค่ากลาง” หรือ Norm" (นพ.อมร,FAQ 1,2554)

      อาจารย์ นพ.อมร นนทสุต ประดิษฐ์ คำว่า "ค่ากลาง" เพื่อให้พวกเราหันกลับมา ทบทวน งานประจำที่ำเราปฏิบัติกันอยู่ในพื้นที่  และมีการวิเคราะห์ และนำไปสู่การกำหนดแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ที่เฉียบคมต่อไป โดย "การค้นหาและการกำหนดค่ากลางใช้วิธีการประชุมปฏิบัติการ ผู้ร่วมประชุมจะได้รับทราบเรื่องค่ากลางใน เชิงความหมาย การค้นหา การวิเคราะห์ และการใช้ประโยชน์อย่างสังเขป นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของตัวชี้วัดประเภทต่างๆ ตลอดจนกระบวนการในการเปลี่ยนพฤติกรรม เนื่องจากการค้นหาค่ากลางมีความสัมพันธ์และตอบสนองต่อจุดหมายปลายทางของแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล ทั้งหมดนี้ ผู้ร่วมประชุมต้องทราบเพื่อให้สามารถวิเคราะห์งานต่างๆที่จะปรากฏออกมาตามขั้นตอนของการสำรวจหาค่ากลาง " "เงื่อนไขในการวิเคราะห์โดยสรุปมีดังนี้

  1. งานที่อยู่เหนือเส้น 65% (เส้นค่ากลาง) ต้องมีไม่น้อยกว่า 3งาน (ประมาณ 3-5) งานเหล่านี้มีโอกาสถูกกำหนดให้เป็นค่ากลาง
  2. งานที่กำหนดให้เป็นค่ากลางต้องมีอย่างน้อย 1 งานที่เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) แต่ถ้ามีมากก็ยิ่งดี
  3. งานที่ไม่ให้ KPI ที่อยู่เหนือเส้นค่ากลาง อาจละเว้นไม่กำหนดให้เป็นค่ากลางในอนาคตได้
  4. พิจารณางานที่ต่ำกว่าเส้นค่ากลางเพื่อยกระดับให้อยู่เหนือเส้น โดยเฉพาะงานที่ให้ KPI และงานที่สอดคล้องกับขั้นตอนการเปลี่ยนพฤติกรรม
  5. บันทึกข้อมูลการตัดสินใจไว้เพื่อตรวจสอบภายหลังเมื่อมีการประเมินผล " (นพ.อมร,FAQุ6,2554)

     การดำเนินการเรื่องค่ากลางนั้น  ผมตั้งโจทย์ในใจว่าทำอย่างไรให้เรื่อง "ค่ากลาง" เป็น Double loop learning ตามแนวคิดที่อาจารย์ตั้งไว้  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เกิดความสำเร็จสมที่อาจารย์ได้วางแนวปฏิบัติไว้เป็นอย่างดี

1. ทำให้เป็นการเรียนรู้ - ไม่ใช่ถูกติดตาม ถูกบังคับให้ทำจึงทำ

2. ทำแล้วได้รู้ว่าเรื่องที่นำมาจัดทำเป็นค่ากลางทำสำเร็จมาก หรือสำเร็จน้อยเพียงใด  - Define Intended Outcome -(งานที่กำหนดให้เป็นค่ากลางต้องมีอย่างน้อย 1 งานที่เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) แต่ถ้ามีมากก็ยิ่งดี)

3. คนที่ทำสำเร็จเขาทำเรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญ หรือ ทางวิชาการเห็นว่ากิจกรรมใดสำคัญ (กิจกรรมสำคัญมีคนทำได้เป็นส่วนใหญ่ = ค่ากลาง) - Assess Possible Corrections -(งานที่อยู่เหนือเส้น 65% (เส้นค่ากลาง) ต้องมีไม่น้อยกว่า 3งาน (ประมาณ 3-5) งานเหล่านี้มีโอกาสถูกกำหนดให้เป็นค่ากลาง)

4. กิจกรรมใดสำคัญในข้อ 3 แม้มีคนทำได้น้อยแต่จำเป็นต้องส่งเสริมให้ทำต้องกำหนดเป็นค่ากลาง ที่คนทำงานยินยอมพร้อมใจกันเห็นว่าสำคัญ ยอมให้เป็นค่ากลาง -Assess Value of Intended Outcome & Assumptions behind Action Strategies  -(พิจารณางานที่ต่ำกว่าเส้นค่ากลางเพื่อยกระดับให้อยู่เหนือเส้น โดยเฉพาะงานที่ให้ KPI และงานที่สอดคล้องกับขั้นตอนการเปลี่ยนพฤติกรรม พร้อมบันทึกข้อมูลการตัดสินใจไว้เพื่อตรวจสอบภายหลังเมื่อมีการประเมินผล)

. คนที่ทำสำเร็จเขาทำเรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญ หรือ ทางวิชาการเห็นว่ากิจกรรมใดสำคัญ (กิจกรรมใดสำคัญมีคนทำได้น้อยแต่จำเป็นต้องส่งเสริมให้ทำ)

คำสำคัญ (Tags): #double loop learning#ค่ากลาง
หมายเลขบันทึก: 490039เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

ค่ากลาง...ดีจริงๆ...เพราะ... เป็นค่าทำจริง ... ไม่ใช่มีเฉพาะแต่ในกระดาษ ...

ขอบคุณ....บทความดีๆนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท