ที่นอนลูกโป่งน้ำบ้านหนองใส


ที่นอนลูกโป่งน้ำ

ผู้ช่วยตัวจริง....ที่นอนลูกโป่งน้ำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองใส อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี


      ผู้ประดิษฐ์นวัตกรรม

นางวชิราภรณ์  สินเจริญเลิศ

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองใส

ตำบลหนองนาคำ  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี

มือถือ 081-592-7602 ที่ทำงาน 042-921010

       ญาติผู้ป่วยหากต้องการนำไปให้ผู้ป่วยใช้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ ประธานเครือข่ายฯนางประจวบ  ปฏิเวช (เครือข่ายจิตอาสา รพ.สต.บ้านหนองใส)

มือถือ 084-788-8509

      จากสภาพปัญหาในชุมชน ที่มีผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดมีมากขึ้น  ญาติผู้ดูแลเองขาดความรู้แล้วยังต้องเป็นกำลังหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว  การเดินทางไปรับบริการกายภาพบำบัดหรือแม้แต่หาวัสดุเครื่องมือในการทำกายภาพบำบัดก็เป็นเรื่องยากลำบาก

     

 

 ในปี 2553 รพ.สต. บ้านหนองใส ได้จัดทำโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการโดยเครือข่ายอาสาสมัครดูแลผู้พิการด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการให้การดูแลผู้พิการทางกาย ผู้สูงอายุประเภทติดเตียงผู้ป่วยระยะเฝ้าระวัง

 

 

  

 

กิจกรรมสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การจัดหาอุปกรณ์เครื่องช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวโดยประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 


 

และนำวัสดุอุปกรณ์ฯเหล่านั้นมาทดลองใช้ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้มีความเหมาะสมและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในหมู่บ้านรับผิดชอบ

 

 

 

  โดยได้แนวคิดมาจากที่นอนนุ่นที่ผู้ป่วยใช้อยู่ทุกบ้านมาดัดแปลง และนำนวตกรรมลูกโป่งน้ำซึ่งมีหลายๆที่เคยใช้ในการดูแลแผลกดทับนำมาต่อยอด เป็นนวัตกรรมที่นอนลูกโป่งน้ำของ รพ.สต.บ้านหนองใส  จนเกิดนวัตกรรม ที่นอนลูกโป่งน้ำป้องกันและลดการเกิดแผลกดทับ สำหรับผู้พิการ   ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวช่วยเหลือตัวเองได้  โดยตรวความช่วยเหลือจาก อสม.ญาติประชาชนในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่จัดตั้งเครือข่าย เครือข่ายอาสาสมัครดูแลผู้พิการ บริจาคเงินเป็นกองทุนตั้งต้น 1,500 บาท

 

 

    ปี 2554 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลหนองบัว และสำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 10จัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชน ดูแลจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นสำหรับผลิตอุปกรณ์กายภาพบำบัดที่จำเป็นเพิ่มเติมให้ตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย บนพื้นฐานผู้ป่วยและครอบครัวมีบทบาทในการตัดสินใจ เกิดเป็นเครือข่ายภูมิปัญญาพื้นบ้าน สานใจ สานสุข ที่ประกอบด้วย อสม. ผู้พิการทางกาย และญาติผู้ดูแลผู้พิการโดยมีการติดตามช่วยเหลือกันในระหว่างเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง

 

 

   ในปี 2555 เครือข่าย มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ที่นอนลูกโป่งน้ำ ขายทั้งในและนอกพื้นที่ซื้อไปใช้กับผู้ป่วย

 

มีทั้งที่ได้ดูจากสื่อ

และจากการบอกต่อจากผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยที่เคยใช้ที่นอนมาแล้วได้ผล และเผยแพร่ผลงานให้กับพื้นที่อื่นๆโดยเป็นวิทยากรอบรมให้กับ อสม.หรือผู้ที่สนใจ

 

 

หมายเลขบันทึก: 490032เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2014 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทำ ให้ได้....นวัตกรรมดีๆ อีกแล้วนะคะ....

ขอบคุณมาก...ในการแ่บ่งปัน สิ่งดีๆนี้นะค่ะ

ด้วยหวังเป็นอย่างยิ่งว่านวัตกรรมนี้จะมีประโยชน์กับผู้ป่วยติดเตียงทุกคนจะได้สุขสบายและลดภาระของผู้ดูแลด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท