การใช้เทคนิคการสอนแบบบูรณาการในชั้นเรียนโดยใช้สื่อตามสภาพจริง ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร


ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การวิจัยในชั้นเรียน การสอนโดยใช้สื่อสภาพจริง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

การใช้เทคนิคการสอนแบบบูรณาการในชั้นเรียนโดยใช้สื่อตามสภาพจริง ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

สรุปผลการวิจัย

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงสำรวจและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี  มหาวิทยาลัย  ราชภัฏภูเก็ต  เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนแบบบูรณาการในชั้นเรียนโดยใช้สื่อตามสภาพจริง ใน  การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  และเพื่อศึกษาผล   การใช้เทคนิคการสอนแบบบูรณาการในชั้นเรียนโดยใช้สื่อตามสภาพจริง ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต    ประชากร คือ  นักศึกษาชั้นปีที่ 1  ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารรหัสวิชา 9901101   กลุ่มตัวอย่าง  คือ นักศึกษาที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  รหัสวิชา 9901101  กับอาจารย์ธีรกานต์  โพธิ์แก้ว  ทั้งหมด  6  ห้อง  จำนวน 200 คน     การวิจัยเชิงสำรวจเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน  1 ชุด  เป็นแบบประเมินค่า Likert Scale มี 5 ระดับ แบ่งเป็น 3 ตอน  ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับเพศ อายุ จำนวนปีที่เคยเรียนภาษาอังกฤษ ระดับที่เริ่มเรียน  ณ โรงเรียนเอกชนหรือรัฐบาล  ตอนที่ 2 กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ 6 กลุ่ม  56 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปสถิติทางสังคมศาสตร์  การวิจัยเชิงปฏิบัติการใช้เทคนิคที่พัฒนาขึ้นโดยผู้สอนปรับปรุงจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  เน้นกิจกรรม “ลดความเครียด   เพิ่มความสุข”  ผู้สอนเรียกว่าเทคนิค “พภ 2 คนิ” หรือ (S3PS) ซึ่งใช้รูปแบบการฝึกกลวิธีการเรียนแบบ CALLA  เพื่อเน้นความรับผิดชอบในการเรียนรู้  วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์  ผลการศึกษาพบว่า

  1.  ศึกษากลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 50 และเพศหญิงร้อยละ 50  ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในสาขาการตลาด  อายุอยู่ระหว่าง 18-19 ปี  ก่อนเข้าเรียนนักศึกษามีเกรดเฉลี่ย 2.50 – 2.99 และมีความสนใจในวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง

     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่าง  ก่อนเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างใช้กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษในภาพรวมเป็นบางครั้ง( = 2.59 คิดเป็นร้อยละ 51.74)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีการใช้กลวิธีในการเรียนภาษาอังกฤษเป็นบางครั้ง 3 ด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านกลวิธีในการควบคุมอารมณ์ ( = 3.19 คิดเป็นร้อยละ63.87) ด้านกลวิธีในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ( = 2.99 คิดเป็นร้อยละ 59.82) ด้านกลวิธีเรียนรู้ด้วยจินตนาการ ( = 2.84 คิดเป็นร้อยละ 56.85) ตามลำดับ

 

หลังเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างใช้กลวิธีการเรียน

ภาษาอังกฤษในภาพรวมเป็นบางครั้ง( = 2.99 คิดเป็นร้อยละ 59.84)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีการใช้กลวิธีในการเรียนภาษาอังกฤษเป็นบางครั้งทุกด้านด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านกลวิธีในการควบคุมอารมณ์ ( = 3.32 คิดเป็นร้อยละ66.33) ด้านกลวิธีในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ( = 3.28 คิดเป็นร้อยละ 65.50) ด้านกลวิธีเรียนรู้ด้วยจินตนาการ     ( = 3.19 คิดเป็นร้อยละ 63.75)และกลวิธีเรียนรู้ด้วยตนเอง( = 2.80 คิดเป็นร้อยละ 56.00)

  1. เทคนิคการสอนแบบบูรณาการในชั้นเรียนโดยใช้สื่อตามสภาพจริง ในการเรียนการ

สอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  เป็นเทคนิคการสอนที่เรียกว่า   “พภ 2 คนิ” (S3PS)  เทคนิคการเรียนแบบนี้ ได้มีการทดลองใช้มาก่อนสองทอม  คือ เทอม 1/2553  และ 2/2553  จนได้กิจกรรมที่สมบูรณ์ทั้งหมด 5 กิจกรรม  ประกอบด้วย  การประสานเสียงร้องเพลง   บรรเลงวาดภาพจิตแจ่มใส   สนใจสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิต  พูดคุยสักนิดกับสื่อบุคคล   และสนทนาภาษานิทาน  โดยทั้ง 5 กิจกรรมต้องผ่านกระบวนการ “สจ. 3 ป. ขยาย 2 ค.”   จัดงานแสดง   แจ้งก่อนล่วงหน้า  ปรึกษาหารือ  ลงมือปฏิบัติ  เคร่งครัดประเมินผล   ขยายคน และขยายความ  เน้นการทบทวนบทเรียนด้วยตนเอง

  1.  ผลการใช้เทคนิคการสอนแบบบูรณาการในชั้นเรียนโดยใช้สื่อตามสภาพจริง ในการ

เรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต สรุปว่า  1. กิจกรรมการประสานเสียงร้องเพลง  ได้ฝึกสมาธิ   คลายเครียด  ฝึกความพร้อมเพรียง  ฝึกฟังสำเนียงภาษาอังกฤษ  ได้เลียนแบบสำเนียงภาษาผ่านสื่อบทเพลง  ได้จดจำคำศัพท์   และได้รู้ความหมายของเพลง   2. กิจกรรมบรรเลงวาดภาพจิตแจ่มใสทำให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์  ฝึกการออกแบบบ้าน  การแบ่งสัดส่วนห้องต่างๆ ให้เหมาะสม  ฝึกการวาดภาพระบายสี    ฝึกการทำงานเป็นทีม  ฝีกทักษะการอ่านคำศัพท์ และการออกเสียงที่ถูกต้อง  3.กิจกรรมสนใจสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิต  ทำให้ได้ฝึกการเป็นคนช่างสังเกต  รู้จักเรียนรู้ภาษาจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว  ทำให้ได้รู้จักผลิตภัณฑ์  รู้ประโยชน์  วิธีการใช้  และข้อควรระวัง จากผลิตภัณฑ์นั้นๆ   ทำให้ได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยในการเรียน  4.กิจกรรมพูดคุยสักนิดกับสื่อบุคคล   การสนทนากับชาวต่างประเทศทำให้ ฝึกความกล้าหาญ  กล้าพูด  กล้าแสดงออก  ฝึกการใช้บทสนทนา  และฝึกการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเพื่อใช้ในการสื่อสารที่ถูกต้อง   และกิจกรรมสนทนาภาษานิทาน  ฝึกการทำงานร่วมกัน  สร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม  รู้จักแบ่งงานกันทำ  ได้รับความสนุกสนาน พร้อมทั้งได้รับข้อคิดจากนิทาน  ในภาพรวมสรุปว่าทุกกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่สนุกสร้างความสุขให้กับผู้เรียนสอดคล้องกับแนวการสอน  นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

หมายเลขบันทึก: 489301เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับอาจารย์ ดร.ธีรกานต์
  • มาแวะเยี่ยม
  • ขอบคุณที่นำผลการวิจัยมาแบ่งปัน

การสนทนาผ่านนิทานวันละนิดวันละหน่อย เป็นกระบวนการที่ทรงพลัง มีชีวิตมากทีเดียว ได้เรียนรู้คติชนวิทยาไปในตัว  ปลูกฝังความเป็นชาติพันธุ์แบบเนียนๆ

ชื่นชม ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท