การแยกพระเนื้อดินออกจากพระโรงงาน (ภาคพิสดาร)


นอกจากความเหี่ยวแล้ว ยังต้องสังเกตเม็ดทรายมน นูนเหนือผิวเนื้อดิน ร่องทรายลึก กร่อน มน และถ้ามีเนื้อยุ่ยในร่องทรายด้วยก็จะแน่นอนมากขึ้น

การเขียนในบันทึกก่อนๆนั้น ผมมีเจตนาที่จะให้เป็นหลักการเป็นหลักการเบื้องต้นในการพิจารณาพระกรุโบราณ

โดยให้ดูที่ความเหี่ยวให้เป็น

  • ว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าเหี่ยว
  • อย่างไรเรียกว่า "ตึง" หรือ "บวม" หรือ
  • เพียง "รอยขีดข่วน" ตกแต่งผิวแบบธรรมดาๆ

โดยนัยนี้

ผมจะพยายามชี้ให้เห็นว่า

  • ความเหี่ยวเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ทำเร็วๆไม่ได้
  • อาจเร่งได้เล็กน้อย
  • แต่ก็จะแตกต่างจากความเหี่ยวธรรมชาติ

เสมือนเด็กผอมตัวเหี่ยวอย่างไรก็ไม่เหมือนความเหี่ยวของผิวคนแก่ ถ้าเขาใจอุปมานี้ก็จะสามารถแยกพระโรงงานออกจากพระเนื้อดินแท้ๆได้

นอกจากความเหี่ยวแล้ว ในการดูพระเนื้อดินบางกรุที่มีเม็ดกรวด ทราย และแร่ต่างๆผสมอยู่ ยังต้องสังเกตลักษณะ ผิว และสีของเม็ดทรายมน

กล่าวคือ

  • เม็ดทรายจะต้องไม่มีเหลี่ยมคม มน ผิวมนไม่มันเรียบ
  • แต่จะกร่อนแบบเป็นคลื่น
  • มีความนูนเหนือผิวเนื้อดินเล็กน้อย แบบเดียวกับเม็ดผดตามผิวหนัง
  • เพื่อหลีกเลี่ยงพระฝีมือขัดผิว โดยใช้เครื่องมือต่างๆ

นอกจากนั้น

  • รอบๆเม็ดทรายควรมีร่องทรายลึก
  • ผิวของทั้งทรายและเนื้อพระในร่องต้องกร่อน และมนแบบธรรมชาติ
  • และถ้ามีเนื้อยุ่ยในร่องทรายด้วยก็จะแน่นอนมากขึ้น

ถ้าเป็นเนื้อที่ไม่มีทราย ก็ให้สังเกตการกร่อนยุ่ยเป็นชั้นๆ ตามลำดับได้แก่

  • คราบกรุ ฝุ่น ดิน
  • รารัก สีเทาดำ
  • คราบหินปูน สีขาวนวล 
  • คราบเนื้อผุยุ่ยระดับต่างๆ แบบไล่ลำดับไป จนถึงชั้นผิวที่มีความแกร่ง ร่องแกลบ หรือแร่ต่างๆ (เช่น แร่ดอกมะขาม) และเม็ดทรายมน

ดังนั้น

  • พระกรุจะต้องไม่มีผิวเรียบมันอยู่ในที่ใดเลย
    • ยกเว้นผิวที่ถูกสัมผัสจนกร่อนมัน
    • ที่จะต้องห้อมล้อมด้วยเนื้อที่เหี่ยวพร้อมชั้นต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว และ
    • ยังจะมีโอกาสได้เห็นเนื้อในและมวลสารที่ยังไม่ผุกร่อนในเนื้อพระอีกด้วย

เพราะลักษณะเนื้อดินที่เก่าจนเปลี่ยนสีไปแล้วนี้ จะเป็นเอกลักษณ์ของสีเนื้อพระที่เลียนแบบได้ยากมาก

จนเป็นที่มาของการกำหนดโทนสีของพระที่วงการนิยมเล่นกัน

เพราะเป็นการรับประกันความแท้ได้อีกทางหนึ่ง

พระนาดูน ที่มีความเหี่ยว และคราบกรุ

ยังมีรากไม้หุ้มด้วยผงปูนที่ยังทำเก๊ไม่ได้อีกด้วย

ลักษณะผิวเปิดของพระนาดูน ทำให้เห็นเนื้อในเป็นชั้นๆ

ลักษณะของทรายมน และร่องทราย

ที่หลังของพระชินราชใบเสมาเนื้อดิน

ลักษณะทรายมน ร่องทราย และคราบชั้นต่างๆบนผิวที่เหี่ยวของพระลีลากำแพง

ทรายมนและทรายกร่อน บนผิวพระคงลำพูน

ร่องทรายบนผิวของพระนางพญา พิษณุโลก

 

หมายเลขบันทึก: 488998เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท