ข้อมูลสุขภาพอะไรควรบรรจุไว้ในบัตรประชาชน ?


เห็นความคึกคักของกัลยาณมิตร G2K
ในการเขียนหัวข้อ "บัตรประชาชนในฝัน"
แล้วนึกขอบคุณ EGA ที่เปิดเวทีนี้
เห็นอาจารย์จันว่าเขียนสไตล์ใดก็ได้ ขอให้ทาง EGA ไปใช้ได้
วันนี้จึงขอนำประสบการณ์ และข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ มาร่วมสร้างสีสันค่ะ
...
เดิมคิดการณ์ใหญ่..แต่..
จากข้อมูล smart card ในปัจจุบัน (มี.ค. 2555 -ref1)
กล่าวว่า สามารถบรรจุและแก้ไขข้อมูลได้ที่ความจุ 64kb 
หรือ ประมาณ 65,536 ตัวอักษร..
น้อยกว่า floppy disk ที่ใช้สมัย ม.ต้น อีก

จึงต้องล้มเลิกความฝัน ให้ ship เก็บข้อมูลพันธุกรรม
ซึ่งอาจทำให้โลกวิทยาศาสตร์การแพทย์เปลี่ยน 
เพราะเกิดฐานข้อมูลแบบติดตามระยะยาว ขนาดยักษ์
ช่วยไขปริศนาว่า 
ใครมียีนแบบใด เปลี่ยนแปลงไปเช่นไรแล้ว จะเกิดโรคอะไรขึ้น
กระทั่งรู้ว่ายีนไหน เป็นตัวการทำให้ชราภาพ
เมื่อตัดต่อยีน อาจทำให้มนุษย์สามารถหนุ่มสาวตลอดกาล
จนรัฐบาลต้องออกระเบียบ "สมควรอยู่ หรือสมควรไป"
แบบในหนัง "In time" ก็ได้

ภาพจาก  biologyoftechnology.com

...
เอาละค่ะ กลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง
ข้าพเจ้าขอเรียงลำดับความสำคัญข้อมูลที่ควรบรรจุใน smart card ดังนี้

1. ข้อมูลสิทธิประกันสุขภาพ และ contact info
ข้อมูล พรบ. และกรมธรรม์ ประกันชีวิตของเอกชน
อีกข้อมูลที่ อาจารย์ธวัชชัย จุดประกายให้นึกถึงถคือ
ข้อมูล update ของที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ "ติดต่อได้"

2. ข้อมูลโรคและยาประจำตัว

ในผู้ป่วยที่หมดสติมา
หากประวัติการรักษาอยู่ที่ รพ.อื่น
แพทย์ พยาบาล ไม่มีทางอื่นนอกจากถามญาติ (ถ้ามี)
หรือเดาอย่างมีหลักการจากสิ่งที่เห็น
เช่น คนมีภาวะตับแข็ง ก็จะผิวแดงๆ เส้นเลือดฝอยขยายเต็มตัว
แต่ คนเป็นเบาหวาน  คนมีภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก
เหล่านี้ไม่มีทางรู้ นอกจาก เจาะเลือดแบบปูพรมไปเลย
ที่น่ากลัวคือ คนที่มีประวัติแพ้ยาซัลฟา
การให้ยาปฎิชีวนะทางหลอดเลือด
ทำให้แพ้อย่างรุนแรง จนถึงขั้นไตพิการหรือเสียชีวิตได้

แม้ในผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี  
มีผู้ป่วยไม่น้อยที่ไป รพ.สม่ำเสมอ
แต่จำไม่ได้ ว่าตัวเองเป็นอะไรบ้าง
โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
ส่วนมากมีโรคประจำตัวเฉลี่ย 3 โรค
และยา "รักษาโรค" ที่กินประจำ 4 ตัว (ref.2)
ยังไม่รวมยา "รักษาอาการ" ที่ผู้ป่วยมักจำได้ดีกว่ายารักษาโรค
บ่อยครั้ง เมื่อไปรักษาต่าง รพ. แพทย์สั่งยาซ้ำ หรือ ลืมสั่งบางตัวไป

ข้าพเจ้าเคยสัมภาษณ์ คุณยายซึ่งไปรักษาโรคประจำตัวที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง
ต้องการย้ายมารับบริการ รพ.รัฐ ด้วยเหตุผลค่าใช้จ่าย
บอกตนเองมี "โรคหัวใจ" ซึ่งกว้างมาก
เหมือน ถาม "เป็นคนที่ไหน"แล้วตอบ "เป็นคนไทย" นั่นเองค่ะ..
พอถามลึกลงไป คุณยายก็บอก "โรคหัวใจลิ้นปี่รั่ว" -- นั่นประไร
เมื่อฟังเสียงหัวใจดูแล้วน่าจะเป็น ลิ้นหัวใจตีบ มากกว่า 
การรักษาสองภาวะนี้แตกต่างกัน
ทั้งนี้แพทย์อาจแจ้งผู้ป่วยแล้ว แต่การรับรู้จดจำ ก็เป็นเรื่องหนึ่ง
เมื่อถามถึงยาที่เคยได้รับ
"อ้อ เก็บไว้ที่บ้าน พอดีน้ำท่วม มันเลยลอยหายไปแล้ว"
"ยาคุณยายมีกี่ตัว"
"เอ จำไม่ได้ มันอยู่ในซ้า (เป็นตระกร้า!)"
ทางเลือกจึง 
- กลับไปติดต่อขอประวัติ รพ.เดิม
- หรือ เริ่มการตรวจทางห้องปฎิบัติการใหม่หมด

3. ข้อมูลเกี่ยวกับเลือด  
ปัจจุบันมีการระบุ group ABO
แต่เมื่อผู้ป่วยอุบัติเหตุมาถึงโรงพยาบาล
เจ้าหน้าที่ก็มักไม่ใช้ข้อมูลในบัตรประชาชน เหตุผลเพราะ

- ความน่าเชื่อถือ
ตอนทำบัตร เจ้าหน้าที่ได้ดูจากใบ lab ของ รพ. หรือถามเอาจากเจ้าตัว ?
ซึ่งข้าพเจ้ายอมรับว่าตอนทำบัตรประจำตัวใบแรก ก็เดาผิดไปเหมือนกัน :)
- ในเลือดมี group ระบบย่อยลงไป เช่นระบบ Rh
ที่หากไม่เข้ากันก็เกิดปฎิกิริยาในร่างกายได้ แม้ไม่รุนแรงเท่า ABO  
   ดังนั้นทางปฎิบัติจริง จึงต้องส่งให้ห้องปฎิบัติการตรวจสอบอย่างละเอียด
ที่เรียกว่า "Group match" อยู่ดี

นอกจาก group เลือดแล้ว ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับเลือดที่น่าสนใจเช่น
- การเป็น G-6-PD มีผลให้ต้องหลีกเลี่ยงยาบางชนิด
- ข้อมูลการรักษา ภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก Hemophilia
ซึ่งการรักษา ต้องกำหนดเปอร์เซ็นต์สารแข็งตัวของเลือด ประเภทต่างๆ 

###

จะเห็นว่า ข้อมูลข้อสองและข้อสาม จะเป็นประโยชน์ทางปฎิบัติจริงๆ ก็ต่อเมื่อมี "ความน่าเชื่อถือ"  
ขณะเดียวกัน ข้อมูลโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นความลับผู้ป่วยที่มีความอ่อนไหว 
ดังนั้น ผู้ที่ update และ เข้าถึงข้อมูลส่วนนี้
ควรเป็นผู้มีรหัสจำเพาะ เช่นใช้ รหัสใบประกอบโรค

ภาพจาก http://heart-of-the-tardis.deviantart.com/#/d1l2pdi


อย่างไรก็ตาม น่าคิดว่า เมื่อข้อมูลผู้ป่วยถูกเข้าถึงด้วยการอ่านจาก card แล้ว
แพทย์จะกลายเป็น "I-doctor"
จิ้มๆ กดๆ ก้มๆ เงยๆ อยู่หน้าคอม
แทนที่จะเป็น "Your-doctor"

จะยังมี
การพูดคุยสร้างความไว้ใจ จนผู้ป่วยยอมเปิดเผย
การใช้ประสาทสัมผัส ตรวจร่างกาย เพื่อค้นหาปริศนา
หรือไม่ ?


เหรียญมีสองด้านเสมอค่ะ..
 

หมายเลขบันทึก: 488618เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)


- ข้อมูลสุขภาพ ที่เป็น....ความลับ??? หรือ .... ไม่เป็นความลับ?ดี นะ

- ที่จะแสดงตัวตนที่แท้จริง????   จริงแค่ไหน?...ไม่จริงแค่ไหน?

- ใครจะรับประกันให้ดีนะคะ  ว่าข้อมูลจะเป็นความลับจริงๆๆ?

- งง  งง ไม่รู้  (รัฐบาล) ต้องการแบบไหน?

- อจ.หมอ ป.  คิดได้ ... ช่วยตอบด่วนทีคะ


แวะมาทักทายและช่วยเชียร์ค่ะ

หลังจากที่ห่างหายไปนานมาก....

  • เป็นตัวอย่างของการบอกความต้องการของผู้ทำงานเฉพาะด้าน ซึ่งมองเห็นความจำเป็นในการนำข้อมูลเฉพาะเรื่องไปใช้ประโยชน์จริงๆ จึงเป็นสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นประโยชน์สำหรับส่วนรวมค่ะ
  • ชื่นชม ที่อาจารย์หมอป.ได้บอกความต้องการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนางานที่รับผิดชอบ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์์ส่วนตนค่ะ
  • ตั้งใจจะเขียนบันทึกเหมือนกันค่ะ แต่เป็นการเขียนในแนวรวบรวมและวิเคราะห์เนื้อหาจากบันทึกของท่านอื่นๆ และขออนุญาตนำบันทึกของอาจารย์หมอป.ไปอ้างอิงด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

         

"...อย่างไรก็ตาม น่าคิดว่า เมื่อข้อมูลผู้ป่วยถูกเข้าถึงด้วยการอ่านจาก card แล้ว แพทย์จะกลายเป็น "I-doctor" จิ้มๆ กดๆ ก้มๆ เงยๆ อยู่หน้าคอม แทนที่จะเป็น "Your-doctor"..."

I think more and more i-doctors will be useful in certain context. For examples: pools of diagnosis experts (patients need not see specialists one by one); 24/7 medical condition monitoring (patients can feed data to i- or even e-doctors instead of seeing one);...

Your-doctors are for personal touch. They can use i-doctors' help in the back-room ;-) (computer).

  • น่าสนใจค่ะ..เป็นการวิเคราะห์ลึกขึ้นอีก ที่สะท้อนถึงข้อจำกัดของบัตร..

  • บัตรในฝันช่วยความสะดวกระดับหนึ่ง..แต่ไม่สามารถทดแทนสิ่งควรมี ควรเป็นได้ทั้งหมด..

ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้เรื่องข้อมูลสุขภาพในบัตรปชช.

ขอบคุณค่ะที่มาย้ำความ "น่าเชื่อถือ"ของข้อมูล

เรียน อาจารย์ครับ....ให้ดอกไม้ก่อนครับ....จะกลับมาใหม่ครับอาจารย์...

ได้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลจากบัตรมากครับ

หากต้องใส่ข้อมูลด้านสุขภาพลงไป สิ่งที่ควรทำควบคู่ไปด้วยคือ พัฒนาฐานข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ มิเช่นนั้นก็ถือว่าไม่มีประโยชน์เท่าที่ควรหากต้องมาตรวจซ้ำกันอีก ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความพร้อมโดยข้อมูลเหล่านี้ การใส่ข้อมูลลงไปในบัตร จึงเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกประหยัดเวลา หากยังไม่พร้อม Keep it simple จะดีกว่า ประหยัดกว่า ไม่วุ่ยวายและปลอดภัยกว่า

ขอบคุณข้อมูลดีดีจากคุณหมอค่ะ

นั่นสิค่ะ พี่เปิ้ล
จะให้บัตรประชาชน แสดงตัวตนที่แท้จริง
หรือจะให้ความลับคงเป็นความลับต่อไป
ทางออกอาจเป็น "system" อย่างบันทึกพี่เปิ้ล
ไม่ใส่ข้อมูลทุกอย่าง
แต่ใส่รหัสที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลอื่นๆ แทนค่ะ

 

ครูกุ่ย กลับมาแล้ว :D
คิดถึงสไตล์บันทึกอารมณ์ดี ไม่มีพิษภัย
ปล.ภาพใหม่สวยสดใสดีค่ะ

ยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติค่ะ
หากได้เป็นส่วนหนึ่งของ "systematic review"
อันทรงคุณค่าของอาจารย์ 
ชอบรูปที่เอามาประกอบ ที่บัตรประชาชน
เสียบเข้าที่อ่านติด USB
ให้ดึงข้อมูลที่จำเป็นสมัครสมาชิกโน่น นี่ อย่างรวดเร็ว 
เป็นความคิดเข้าทีและเป็นไปได้สูงค่ะ 

ไม่รู้ตอนนี้มีใครทำหรือยัง
แต่โลกนี้ มีอะไรให้ประหลาดใจได้เสมอค่ะ ;) 

ขอบคุณสำหรับความคิดคมๆ เช่นเคยค่ะ คุณ Sr,

เป็นควาจริงว่า ตอนนี้คนไข้หนึ่งคนมี Your-doctor หลายท่าน
บางครั้งก็เป็น เจ้าของหัวใจ เจ้าของปอด เจ้าของตับ เจ้าของเลือด etc...
การหาใครสักคนมาดูทั้งตัว
กลายเป็น Ideal ที่มีแรงเสียดทานในโลกแห่งความจริงมากมาย
อาจต้องหา I-doctor มาเป็นตัวประสานเสียแล้ว :)

ขอบคุณค่ะพี่ใหญ่

บัตรอำนวยความสะดวก ตราบเท่าที่มี เทคโนโลยีรองรับ..วันใดขาดคอมพิวเตอร์
บัตร smart อาจกลายเป็น stupid card อย่างที่กัลยาณมิตรในนี้เขียนไว้ ก็เป็นได้ค่ะ 

ขอบคุณที่นำข้อมูลเกี่ยวกับบัตรประชาชนออสเตรเลียมาเล่าให้ฟังเช่นเดียวกันค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณครูนก
ถ้า "ข้อมูล" ปราศจากความน่าเชื่อถือแล้ว
ก็นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้

 

ขอบคุณสำหรับดอกไม้ค่ะ :) 

ขอบคุณที่แวะมาทักทายนะค่ะ คุณครู

ขอบคุณค่ะคุณปริม ตอนนี้ server ที่ทำงาน เรียกใช้เครื่องมือจัดข้อความของ Gotoknow ไม่ได้ เลยต้อง keep it simple ตอบแบบนี้แทนค่ะ :)

ประเด็นที่คุณปริม ฝากให้คิด หากยังไม่พร้อม Keep it simple จะดีกว่า ประหยัดกว่า ไม่วุ่ยวายและปลอดภัยกว่า ... นึกต่อไปถึง คำพูดไอน์สไตน์ "Be simple but not be simpler" ทำสิ่งพื้นฐาน เสริมสร้างสิ่งที่มีอยู่แล้ว ให้มีคุณภาพก่อน หากคิดโปรเจ๊กต์ แบบรายปี แล้วออกมา "สุกเอาเผากิน" สุดท้ายก็ไม่ได้พัฒนาอะไร

ไม่ใช่เพียงเรื่องบัตรประชาชนค่ะ เรื่องอื่นๆ ก็มีตัวอย่างให้เห็น

  • เพิ่งทราบวันเดือนปีเกิดของอาจารย์หมอป.เกิดเดือนและปีเดียวกับลูกชายเลยค่ะ ลูกชายเเกิด 15 พฤษภาคม 
  • ทราบอายุแล้วยิ่งทึ่งเข้าไปใหญ่ ขอโทษนะคะที่เคยละลาบละล้วงถามถึงอายุของอาจารย์หมอป.ตอนที่คุยกันทางโทรศัพท์กับคุณอักขณิชแล้วท่านพูดถึงอาจารย์หมอป. ที่ถามเพราะชื่นชมในอัตลักษณ์ของอาจารย์หมอหลายเรื่อง อยากรู้ว่าคนที่พัฒนาศักยภาพได้สูงเช่นนี้มีอายุเท่าไหร่ และอายุที่คุณอักขณิชบอกแบบประมาณ (ท่านบอกว่าไม่รู้จริง) ก็มากกว่านี้ 3-4 ปี ท่านคงพิจารณาจากหน้าที่การงานและความสามารถ ความคิด
  • ลูกชายอ.วิอายุพอๆ กับอาจารย์หมอและพื้นฐานเป็นเด็กเรียนดี ประถมเกรด 4 ทุกกลุ่มสาระตลอด มัธยมโรงเรียนประจำจังหวัด 3.8 up ตลอด เรียนเร็วไป 1 ปี Ent.คณะวิศวกรรมศาสตร์ ลาดกระบังได้ตอนเรียนม.5 (สอบเทียบม.6 จากกศน.) ทั้งที่ภาคเรียนที่ 2 ตอนม.5 แทบจะไม้ได้เรียน เพราะอุบัติเหตุขาหักตอนห้อยท้ายรถสองแถวแล้วนศ.ภาคพิเศษจากมรภ.ที่เมาขับไปชนท้าย ชนแล้วหนี แต่ลูกคนดีผีคุ้ม รถที่ชนหมอน้ำรั่วไปไม่รอด แต่สุดท้ายกลายเป็นอ.วิได้ไปปลอบโยนแม่ของคนที่ขับรถชนลูกตัวเอง ที่ฟูมฟายบอกว่าลูกชายซึ่งมีพ่อเป็นตำรวจเสเพลมาก ให้ไปบวชยังดื่มเหล้าในวัด ทำผิดถูกจับกุมหลายครั้งแต่ไม่ถูกลงโทษเพราะมีพ่อเป็นตำรวจ
  • อ้าวกลายเป็นไปพูดเรื่องอื่น คือ จะเปรียบเทียบลูกชายว่า อายุพอๆ กับอาจารย์หมอ พื้นฐานสติปัญญาและการศึกษาก็ดี แต่กลับพัฒนาได้ต่ำกว่าอาจารย์หมอมาก (ในหลักจิตวิทยาเขาไม่ให้เปรียบเทียบ แต่ก็อดเปรียบเทียบไม่ได้) จริงๆ แล้วต้องโทษแม่ ที่พอลูกสาวเข้าเรียนแพทย์ ลูกชายเข้าเรียนวิศวะ ก็วางใจ หนีไปเรียน Ph.D แทนที่จะอยู่ดูแลลูก รู้ก็รู้ว่าลูกๆ มีแต่แม่เพราะพ่อเสียตั้งแต่เขาอายุประมาณ 3 ปี ครึ่ง
  • จะกลับมาขอบคุณอาจารย์หมอ แต่คุยเรื่องอื่นเป็นคุ้งเป็นแคว ขอบคุณมากนะคะ สำหรับความเห็นเกี่ยวกับ Smart Card ที่ได้นำไปเป็นสารสนเทศประกอบการวิเคราะห์เนื้อหาจาก 10 บันทึกของกัลยาณมิตร 

      ขออวยพรวันคล้ายวันเกิดล่วงหน้า (เพราะวันที่ 25 พ.ค.จะอยู่ที่เกาหลีค่ะ) ขอให้อาจารย์หมอปัทมา พบเจอแต่สิงดีๆ ในชีวิต ถ้ามีขวากหนามก็สามารถฟันฝ่าได้สำเร็จด้วยศักยภาพที่ดี และพลังใจที่มีพร้อมนะคะ 

 

อืมม... เห็นด้วยอย่างยิ่งเรื่องการที่ข้อมูลในบัตรต้องน่าเชื่อถือและ update ครับ ผมคิดว่าบัตรปัจจุบันข้อมูลยังเชื่อถือไม่ได้เลย ข้อมูลที่ใช้ไม่ได้ไม่ว่ามีมากเท่าไหร่ก็ไม่มีประโยชน์ครับ

ขอโทษที่มาตอบช้าไป หลังจากสัปดาห์มรสุมเพิ่งผ่านพ้นไป
ขอสุขสันต์วันเกิดย้อนหลังให้กับลูกชายคนเก่งของอาจารย์ด้วยค่ะ
เพิ่งทราบว่า ลูกสาวอาจารย์เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพด้วย :)

ลูกทั้งสองของอาจารย์โชคดีที่มีแบบอย่างเช่นนี้ค่ะ

"อ.วิได้ไปปลอบโยนแม่ของคนที่ขับรถชนลูกตัวเอง
ที่ฟูมฟายบอกว่าลูกชายซึ่งมีพ่อเป็นตำรวจเสเพลมาก"..
 
 วันนี้ตอนกินข้าวเย็นด้วยกันพ่อแม่ลูก 
แม่ก็บอกว่า สิ่งที่ภูมิใจที่สุด คือ "ลูกรู้จักที่จะรักคนอื่น"

  ขอบคุณอีกครั้ง และขอให้เดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ อย่างมีความสุขนะค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์  ข้อมูลที่ใช้ได้ แต่ไม่ถูกใช้เต็มที่
เพราะไม่ update เช่น
จุดประกายให้นึกถึง ข้อมูลที่อยู่ ปรากฎบนบัตรประชาชน 
เป็นที่อยู่สำหรับไปเลือกตั้ง
แต่หลายครั้งไม่ใช่ที่อยู่ติดต่อได้
อันหลังน่าจะฝังใน microship แล้ว update ทุกครั้งที่ทำสัญญาเช่าซื้อได้ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

และอยากบอกว่า
ประทับใจในบุคลิกที่ไม่เหมือนใคร ไม่มีใครเหมือนของคุณชลัญธร
ที่มีทั้งความแข็งแกร่ง มุ่งมั่นเอาชนะอุปสรรค 
ขณะเดียวกันก็มีความอ่อนโยน
มีมุมน่ารักๆ ถึงความปรารถนาดีต่อผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท