บัตรปชช.ไทยสะตายถางทาง (ตอนที่ ๑)


คนไทยมี 65 ล้านคนถ้าใช้เลข 8 ตัวจะได้ 100 ล้านหมายเลข แล้วทำไมต้องไปใช้ 13 หลัก ....บ้าโง่หรือไร

อ้าว...ผมเพิ่งรู้ในเม้นท์ท้ายบทความจาก ดร. จัน ว่าวันนี้เรื่อง บัตรประชาชนกลังดัง....แหม..แถมรีเควสให้ออกความเห็นซะด้วย   เลยต้องเอาซะหน่อย...เพราะเรื่องนี้ผมคิด เขียนมาเป็นหลายสิบปีแล้ว

 

ก่อนอื่นไร หมายเลขบัตร ทำไมต้องมี 13 ตัว ....วันนี้ผมท่องมาแต่หนุ่มจนจะเข้าโลงยังจำไม่ได้เลย  ส่วนหมายเลขผมที่ สรอ.  มีแค่ 9 ตัวเท่านั้น ซึ่งผมยังจำได้มาจนทุกวันนี้ (ต้องท่องเป็นภษอก.ด้วยนะ ถ้าท่องเป็นไทย มันติด) 

 

....คนไทยมี 65 ล้านคนถ้าใช้เลข 8 ตัวจะได้ 100 ล้านหมายเลข แล้วทำไมต้องไปใช้ 13 หลัก ....บ้าโง่หรือไร  ...ถ้าใช้ 9 หลักแบบ เมกัน ก็ได้ 1000 ล้านหมายเลขที่ไม่ซ้ำกันไปแล้ว

 

ก่อนอื่นผมเสนอให้ปรับจาก 13 หลักมาใช้ 8 หลัก เพราะยังไงเสียพลเมืองไทยก็คงไม่เกินร้อยล้านไปได้หรอก เพราะหากการเมืองไม่เปลี่ยน ผมทำนายไว้แล้วว่าชาติไทยต้องล่มสลายภายใน ๑๘ ปีจากนี้ไป 

 

หรืออาจเอาเป็นอักษร 3 ตัวเลข 3 ก็ได้  แถมให้มีการสลับไขว้ตัวเลขกับอักษรได้ ก็จะได้ 120 ล้านหมายเลขเป็นอย่างน้อย  (หักอักษรหยาบคาย ตลก ออก เช่น ดอง  ตอน จวก ซวย ค.ย)    แบบนี้ก็แค่ 6 อักษร ก็จำง่ายมาก

 

การจำง่ายเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทำให้ สะดวกรวดเร็วในการกรอกข้อมูล หรือ ใส่ข้อมูลในการติดต่อราชการ หรือสั่งซื้อสินค้า หรือ ฯลฯ   อีกทั้งยังประหยัดเวลาคอมพ์ในการ process ข้อมูล  อีกทั้งเวลาคอยของคนรอก็น้อยกว่าอีกด้วย  (ทำให้ไม่เสียอารมณ์)

 

 

จาก 13 หลัก เหลือ 6 หลัก  มันเป็นไปได้นะครับ 

 

อาจ personalized เบอร์แบบทะเบียนรถยนต์ได้เลย เช่น  ทักษิณ อยากได้เบอร์บัตรประชาขนเป็น   “ทษณ๑๑๑”     เอาไปเลย แต่ต้องประมูลนะ  ไม่รู้จะถึง ๗๖ ล้านไหม

 

...คนถางทาง (๑๙ พค. ๒๕๕๕)

โปรดอ่านต่อตอน ๒ เร็วๆนี้ 

หมายเลขบันทึก: 488533เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 05:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ฮา ..................นอกกรอบอีกแล้วอาจารย์เรา

ฮ่าๆๆๆ ช่วยไขปัญหา เท่าที่รู้มา จริงๆ อาจมีแค่ 7 หลัก หลักแรกเป็นเลขจำแนกบุคคล เช่น หากขึ้นด้วย 3 หมายถึงแก่แล้ว เพราะเกิดก่อนการมีเลข 13 หลัก (2527 ถ้าจำไม่ผิด) เมื่อมาเริ่มทำจึงให้เป็นเลข 3 สำหรับคนกลุ่มนี้ (รวมถึงผมด้วย) ส่วนอีก 4 ตัวถัดมา เป็นจังหวัดและอำเภอที่เกิด (หากขึ้นต้นด้วย 3 จะเป็นจังหวัดและอำเภอตามทะเบียนบ้านขณะนั้น) ส่วนที่เหลือถัดมาอีก 7 ตัว อันนี้ไม่ทราบอาจเป็น running number ส่วนตัวสุดท้ายเป็นตัวเลขที่เกิดจากสูตรการคำนวณ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงเลข (ซึ่งสูตรดังกล่าวก็หาได้ใน google)

In a global view, we may be looking at 16-digit personal id number which include country code and region code. I was told the Thai 13 digits are structured to to give additional information such as "ethnic group", locality and count and the last is check digit.

There are talks about using global mobile phone number for id because everyone is going to have a mobile phone when they are born ;-) Mobile phone numbers do not discriminate people by ethnicity but only by service provider.

What if government takes over the mobile networks, bingo id system and BIG income for the country ;-)

ท่าน sr ครับ เลขที่ว่านี้ เลขไทย อารบิก หรือ โรมัน ดีครับ :-)

เลข 10 ตัว ก็ได้หมื่นล้านหมายเลข

แต่ที่เมืองไทยมี 13 ตัวก็เพื่อจำแนกบุคคล เพื่อประโยชน์ในการปกครอง

ผมไม่เข้าใจเรื่องตัวเลขกำหนดความแก่ งงครับ เป็นมุกหรือไง เพราะหมายเลขนี้ได้มาตอนเด็ก และไม่เปลี่ยนตลอดอายุ

ฮ่าๆๆๆๆ เขียนสนุกๆไปอย่างนั้นครับ เนื่องจากเลข 13 หลัก เริ่มมีเมื่อปี 2527 ดังนั้นคนที่เกิดก่อหน้านี้และเป็นคนไทย จะขึ้นต้นด้วย 3 ครับ นอกจากนี้เลขขึ้นต้นยังใช้จำแนกสัญชาติด้วย เช่น หากขึ้นต้นด้วย 8 จะไม่ใช่สัญชาติไทยครับ ส่วนเรื่องความเห็นเกี่ยวกับบัตรประชาชนจะขอเขียนด้วยอีกคนครับ เห็นเขียนกันหลายท่าน ฮ่าๆๆๆๆ ปล. ผมไม่ใช่เจ้าที่ทะเบียนราษฎร์ ครับ ทั้งหมดนี้หาอ่านเอาครับ เลยอาจทราบไม่หมดในเลขบางหลักครับ

ท่านคิดคม ..แหมเพิ่งมาเฉลย เล่นเอาลุงงง

ว่าแต่ว่านามสกุล คุ้นๆ นะ ตอนเรียนมศ. ๒ เคยมีเพื่อนรัก ชื่อ ไอ้อี๊ด มันเคยเป็นจ๊อกกี้ม้าด้วย นามสกุลนี้เลย

  • สำนักบริหารงานทะเบียนให้ข้อมูลไว้ ดังนี้ค่ะ

รู้หรือไม่ ความหมายของเลข 13 หลัก ในบัตรประจำตัวประชาชน

หลักที่ 1 หมายถึงประเภทบุคคลซึ่งมี 8 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติ ไทย ได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา
ตั้งแต่1 มกราคม 2527)
ประเภทที่ 2 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา
(ตั้งแต่ 1 มกราคม 2527)
ประเภทที่ 3 ได้แก่คนไทยและคนต่างด้าวที่ มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
และมีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (1 ม.ค. -  31 พ.ค.2527)
ประเภทที่ 4 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้าย
เข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก(1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2527)
ประเภทที่ 5 ได้แก่ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่น ๆ
ประเภทที่ 6 ได้แก่ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฏหมาย แต่จะอยู่ในลักษณะชั่วคราว
ประเภทที่ 7 ได้แก่ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย
ประเภทที่ 8 ได้แก่ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฏหมาย คือ ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติ
เป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย

หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 หมายถึงรหัสของสำนักทะเบียนที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้านในขณะให้เลขสำหรับเด็กเกิดใหม่จะหมายถึงถิ่น
ที่เกิดเลยทีเดียว โดยหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงจังหวัดหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงอำเภอหรือเทศบาล

หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 หมายถึงกลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก หรือหมายถึงเล่มที่ของสูติบัตรแล้วแต่กรณี

หลักที่ 11 และ 12 หมายถึงลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภทหรือหมายถึงใบที่ของสูติบัตรแต่ละเล่มแล้วแต่กรณี

หลักที่ 13 คือ ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลข 12 หลักแรก

 

 

ขอบคุณท่านวิไล ที่เอามาแจกครับ.....ทำให้ผมขำก้ากจริงๆ กับระบบราชการไทย โอ.มันคิดจำแนกคนได้ปานนั้น ที่ขำมากที่สุดก็คือ ....หลัก 13 ตรวจสอบความถูกต้อง ของ 12 หลัีกแรก ...ขำสุด ๆ แล้วมันตรวจสอบความถูกต้องตัวมันเองได้ไหม หิหิ Artificial stupidity จริงๆ เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท