กระบวนการสร้างครูที่เพลินกับการพัฒนา (๘๒) : “ชื่นใจ...ได้เรียนรู้” (ภาคครูเพลิน) (๕)


ภาคบ่าย แบ่งการกลั่นความรู้จากการปฏิบัติออกเป็น ๓ หัวข้อ ได้แก่

  • การสร้างแรงบันดาลใจ
  • การเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนโดยผู้เรียน
  • การประเมินผู้เรียนขณะเรียนรู้

 

ห้องการสร้างแรงบันดาลใจ

ความหมาย

-   เปิดประตูแห่งการเรียนรู้

-   การเิ่ริ่มต้น (เชื้อไฟ)

-   คุณค่า

-   ความพร้อม / การนำพา

-   การส่งต่อสู่ปัญหา (ทำให้อยากรู้)

-   พลังในการขับเคลื่อน


ปัจจัยความสำเร็จในการสร้างแรงบันดาลใจ

 

 -   บรรยากาศการมีส่วนร่วม

 -   เอาของเข้าแลก  คือมีสื่อที่เร้าใจ  ได้รางวัลเมื่อทำสำเร็จ

 -   โจทย์ดี มีสถานการณ์ปัญหาที่เหมาะสม มีความแปลกใหม่ เช่น ได้ข้ามถนนไปส่งจดหมายเอง  ได้เขียนจดหมายหาเพื่อนต่างโรงเรียน

-    นำเรื่องเดิมมาตอกย้ำย้ำซ้ำทวน  หรือใช้กระบวนการเดิม แต่สร้างสถานการณ์และเงื่อนไขใหม่ เป็นการตรวจสอบ met before

-   ได้ไปในสถานที่ / เหตุการณ์จริง หรือได้ไปเรียนรู้ภาคสนามในสถานที่จริง ได้ปะทะกับปัญหาจริง

 -   ครู

รู้ธรรมชาติของเด็ก

หากิจกรรมที่ให้ความสนุกสนานบันเทิง หรือมีความงาม ตรงตามธรรมชาติของผู้เรียน

เตรียมอุปกรณ์พร้อม

ทำให้ดู / บทบาทสมมติ ละคร

สร้างแบบจำลองให้เห็น

ชื่นชม  ชมให้เห็นพัฒนาการ  จูงใจเชิงบวก  ชมพฤติกรรมดีที่พึงประสงค์ ชมความพยายาม  ชมเมื่อทำสำเร็จ

 

 ห้องการเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนโดยผู้เรียน

 

 ผู้เรียน

 

-   ได้เรียนเรื่องที่มีความหมายต่อตัวเอง

-    เป็นผู้ดำเนินกระบวนการเอง

-    สร้างความรู้เอง เกิดความเข้าใจด้วยตัวเอง

-    รู้จักความสามารถตนเอง

-    เกิดความมั่นใจ และภาคภูมิใจในการเรียนรู้

-    ช่างคิด ช่างสังเกต

-    สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ยืดหยุ่นหลากหลาย ยอมรับผู้อื่นอย่างตรงไปตรงมา ไม่ยึดติดกับความคิดของตนเอง

-    พร้อมเผชิญกับโจทย์ใหม่ เงื่อนไขใหม่

 

ครู

-    มั่นใจ

-    รอบด้าน

-    สร้างคนให้มีความสามารถ

-    ยืดหยุ่นหลากหลายตามผู้เรียน

-    รู้จริง พร้อมปรับวิธีการ    

-    ประเมินขณะเรียนรู้ตลอดเวลา

 

ห้องการประเมินผู้เรียนขณะเรียนรู้


วิธีการ

 

-   ส่งต่อข้อมูลเด็ก

-   ดูแล

-   พัฒนา

-   สังเกต ติดตามต่อ


ประเด็นในการสังเกต

-    วิธีการซักถาม การตั้งคำถามของผู้เรียน  

-    วิธีการทำงาน การแก้ปัญหา

-    คุณภาพของชิ้นงาน และรายละเอียดที่ปรากฏในชิ้นงาน  ความใส่ใจในการทำงาน

-     การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น การเรียบเรียงความคิด และการนำเสนอความคิด การฟัง  การต่อยอดความคิด 

-     พฤติกรรมการเรียนรู้  ความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม

 

อาการของการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ 

-     ผู้เรียนตอบด้วยความเข้าใจ

-     อยู่ในกระบวนการเรียนรู้  พร้อมแลกเปลี่ยน

-     มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

-     มีบทสนทนาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังเรียนรู้

-     ทำชิ้นงานด้วยความจดจ่อ ต่อเนื่อง

 

บทบาทของครู

-     สร้างแผนการเรียนรู้ให้เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนโดยผู้เรียน

-     บันทึกการสังเกตผู้เรียนที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนรู้

-     หาวิธีการใหม่ๆ ให้ผู้เรียนที่ยังไม่เข้าร่วมในกระบวนการเรียนรู้ได้เรียนรู้ (คิดสด)

-      ใช้ประสบการณ์หยั่งลงไปในใจเด็ก เพื่อเข้าถึงภาวะของเขา

-      ในขณะที่ประเมินผู้เรียนก็ให้ประเมินตัวเองไปด้วยว่าครูมีอคติ หรือจับจ้องไปที่ผู้เรียนคนใดเป็นพิเศษหรือเปล่า

-      สังเกตตัวเองด้วยว่ากำลังยึดติดกับแผนการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ หรืออยู่กับการเรียนรู้ของผู้เรียนที่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้า

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 488524เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

"ครูเพลิน" ชื่อเก๋ค่ะ เสียดายครูใหม่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมโต๊ะกลม Open education ด้วยกันนะคะ :)

ปล. รบกวนขอบันทึกบัตรประจำตัวประชาชนสักบันทึกนะคะ

อ.จัน

สวัสดีค่ะคุณครู

ครูใหม่เขียนบันทึกวิชาการได้น่าอ่านจังเลยค่ะ

เมื่อสักครู่นั่งแบบไหล่ลู่ คอตก :)

อ่านไปๆ คอเริ่มตั้ง หลังเริ่มตรง :))

ชื่นใจจังค่ะ...ที่ได้เข้ามาเรียนรู้

ขอบคุณมากนะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท