กระบวนการสร้างครูที่เพลินกับการพัฒนา (๘๑) : “ชื่นใจ...ได้เรียนรู้” (ภาคครูเพลิน) (๔)


 

เมื่อมาถึงขั้นตอนของการนำเสนอการสังเคราะห์ความรู้ และปัจจัยความสำเร็จของการ “สอนน้อย เรียนรู้มาก”

 

ห้องประยุกต์  ของกลุ่มครูมานุษและสังคมศึกษา / ธรรมชาติศึกษาและประยุกต์วิทยา (วิชาวิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาประถมปลาย) ออกมานำเสนอว่าหัวใจคือ

  • วางใจทีม
  • วางใจเด็ก
  • วางแผนการสอนอย่างเป็นลำดับขั้น
  • ปล่อยวางเนื้อหาปลีกย่อย เน้นไปที่แก่นความรู้และกระบวนการ

 

ห้องมานุษกับโลก (วิชาวิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาประถมต้น) 

  • ดูแลภาวะภายในของตนเอง
  • คำนึงถึง met before ของเด็ก
  • เปิดโอกาสให้กับเด็ก
  • ตั้งคำถามให้เด็กได้เรียนรู้
  • ให้เวลา และรอคอย
  • สังเกตเด็กทั้งใน และนอกห้องเรียน

 

ปัจจัยที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

  • ตั้งต้นจาก met before
  • สร้างแรงบันดาลใจ
  • เงื่อนไขที่พอเหมาะพอดี ไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป

 

ห้องภูมิปัญญาภาษาไทย

  • ผู้เรียน เป็นเจ้าของการเรียนรู้ ได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง
  • ผู้สอน  เปิดโอกาสให้ผู้เรียน รับฟังอย่างลึกซึ้ง
  • แผนการสอน ออกแบบโดยคำนึงถึงคุณค่าของเรื่องที่นำมาเรียนรู้
  • มีความสุขเป็นแกนกลางของทุกปัจจัย

 

ตัวอย่างแผนการสอนที่นำมาเล่าประกอบการนำเสนอ

 “จะไปประเทศไหน” หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย ระดับชั้น ๒

 

เด็กช่วงชั้นที่ ๑ กระตือรือร้นตลอดเวลา  เมื่อครูสอนเรื่องมาตราตัวสะกด  ซึ่งเป็นเรื่องน่าเบื่อ และเข้าใจยากยาก  จึงเริ่มสร้างแรงบันดาลใจด้วยการพานักเรียนไปเที่ยวต่างประเทศ  ประเทศแรกที่จะไปคือประเทศจีน

ก่อนจะเข้าประเทศนักเรียนจะต้องตอบคำถามว่าจะนำเอาอะไรไปประเทศจีน บางคนก็ผ่านเข้าไปได้ บางคนก็ผ่านเข้าไปไม่ได้ ในที่สุดนักเรียนจะเกิดความเข้าใจขึ้นมาด้วยตนเองว่า คนที่เข้าไปประเทศจีนได้คือคนที่พูดคำที่สะกดด้วยแม่กน  แม้แต่ประเทศที่ครูคิดไม่ถึงว่าจะมีนักเรียนอยากไป ก็มีนักเรียนเลือก เช่น ประเทศอิรัก และจะเอาห่อหมกไป คุณครูประทับใจมาก

 

 ห้องคณิตศาสตร์

 

ครู

  • ฟังให้มาก ลดการฟังเสียงของตัวเอง
  • ลดตัวตน  เราไม่ใช่ศูนย์กลาง  เป้าหมายคือเด็ก ๆ
  • ไม่ยึดติด  ทั้งเนื้อหาและเวลา  โดยเฉพาะในเวลาที่ต้องตกผลึกความรู้
  • สังเกตเด็ก

 

สื่อ

  • การเขียนกระดานชัดเจน
  • มีสื่อที่จับต้องได้

 

สภาพแวดล้อมการเรียนรู้

  • สอดคล้องกับเรื่องที่สอน

 

ทีม

  • ต้องมีการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมทีม  และมีการทำงานร่วมกันของทีม เช่นการเตรียมแผน เตรียมสื่อ และการสะท้อนหลังสอนเพื่อการพัฒนา

 

ห้องครูประจำชั้น  ครูแสนภาษา (ศิลปะ) และครูดนตรีชีวิต 

  • รับฟังทั้งเสียงที่ได้ยิน และเสียงจากใจที่ไม่ได้พูด
  • สังเกตและประเมินอยู่ตลอดเวลา
  • เข้าใจธรรมชาติของเด็ก
  • จริงจัง เข้าใจ ให้โอกาส
  • ให้เด็กเป็นกระจกสะท้อนครู
  • เรียนรู้จากเด็ก
  • อดทน รอคอย เชื่อในศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก
  • ไม่ยึดติด  ทั้งเนื้อหาและเวลา  โดยเฉพาะในเวลาที่ต้องตกผลึกความรู้

 

 

หมายเลขบันทึก: 488521เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2012 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท