PLC_มหาสารคาม_เชียงยืน 2nd


วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 School-based PLC เดินหน้าก้าวที่สอง หลังจากที่ได้  จัดเวที ณ โรงเรียน เรียนรู้เรื่องทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ไปแล้วครั้งหนึ่ง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ต้นปีที่ผ่านมา

ก่อนเวทีครั้งที่ 2 ผมกับคุณครู 3 คน ร่วมกันทำ BAR สั้นๆ สรุปอยากให้สิ่งต่อไปนี้เกิดขึ้น 

  1. ครูที่เข้าร่วมมีความรู้และเข้าใจ "ทักษะในศตวรรษที่ 21" 
  2. ครูที่เข้าร่วมมีความรู้และเข้าใจแนวทางการสอนแบบ PBL แบบ "โครงการ" เพิ่มจากที่ส่วนใหญ่เข้าใจ PBL แบบ "โครงงาน" แล้ว 
  3. ครูรู้ เข้าใจ และสามารถนำความรู้ความเข้าใจในข้อ 1. และ 2. สู่แผนการสอนของตนได้ หรือนำไปปฏิบัติได้ 
  4. ในการทำข้อ 3. อยากให้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปบูรณาการด้วย

มีคำถามจะหนึ่งในกลุ่มคีย์นี้ว่า "เวลาเท่านี้จะได้เหรอ แค่เพียงข้อ 1. ก็ยากแล้วนะ" และผมก็พยายามถามให้พวกเราชัดขึ้นด้วยว่า คำว่า "สู่แผนสอน" และ "นำไปปฏิบัติได้" หมายความว่าอย่างไร สรุปว่า ทั้งสองคำนี้หมายถึง ครูออกแบบการสอนแบบ PBL แบบ "โครงการ" และบอกได้ว่า แผนการสอนนั้น คาดหวังทักษะในศตวรรษที่ 21 ใด ส่วนการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยนั้น จำเป็นต้องทบทวนหลักทฤษฎีเบื้องต้นก่อน เพราะครูน่าจะลืมแล้ว.....ทั้งหมดที่ว่ามา....ใช้เวลา....1 เช้า....ฮา...คุณอาลืมไปว่า....พวกเราคลุกอยู่กับเรื่องนี้มาอย่างน้อย 2 ปีแล้ว จึงมองว่าไม่ยาก....แต่ท่านอาจารย์ทองปานบอกตั้งแต่แรกแล้วครับว่า.....ยาก....แต่ก็ท้าทายดีครับ

ขอสะท้อน AAR พอสังเขปดังนี้่ครับ

  • หลังบรรยายและสนทนา ผมว่าวัตถุประสงค์ข้อแรก ความรู้ความเข้าใจ "ทักษะในศตวรรษที่ 21" น่าจะบรรลุไม่มากก็ไม่น้อย.....ตอนหลังคุณอาเพ็ญศรีอีเมล์มาบอกว่า...บรรลุพอสมควร.....ความใส่ใจในการติดตามของครูเพ็ญศรีนี่แหละ คือปัจจัยที่คนจะเปิดใจขึ้นเรื่อยๆ....อีกอย่างคือวีดีทัศน์ของ สสค. นับว่าทำได้ยอดเยี่ยมครับ....หากครูเอาไปเปิดฟังซ้ำๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก รับรองว่าจะเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกๆ ครั้งที่ฟัง....เทคนิคนี้ผมชอบทำครับ...รับรองว่าได้ผล
  • เรื่องความเข้าใจเรื่อง PBL ผมว่าน่าจะบรรลุคำว่า "รู้จำ" แน่ๆ แต่ "รู้จัก และเข้าใจ" เป็นเรื่องที่ไม่อาจบรรลุได้ด้วยการบรรยายอยู่แล้ว....คุณอาและคุณอาทองปาน (ขออนุญาตเรียกคุณอาอีกคน) โปรดอย่าได้คาดหวัง....ซึ่งอาจารย์ทุกคนก็เข้าใจในประเด็นนี้ สังเกตจากที่หลายคนพูดว่า "ต้องลองทำดูก่อน"
  • เรื่องการนำสู่แผนการสอน หรือนำสู่การปฏิบัติ แม้จะยังไม่ชัดเจน... แต่ในขั้นเริ่มต้นนี้ ผมยังกังวลในประเด็นต่อไปนี้
    • จะเพิ่มภาระให้ครูหรือไม่  ในมุมมองของผมการเพิ่มภาระหมายถึง การคิดวางแผนแล้วไม่ได้ทำตามแผน เช่น หากกำหนดให้ครูต้องส่งแผนการสอนตามแบบฟอร์มต่างๆ ซึ่งเมื่อเวลาสอนจริงแล้วครูไม่ได้ทำตามนั้น ครูต้องไปคิดแผนใหม่ตอนสอนจริงๆ อย่างนี้ถือว่าเพิ่มภาระ
    • สอดคล้องเชื่อมโยงกับทิศทางและแนวทางการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เช่น การทำแผนแบบแยกกัน แยกหน่วยทำ ต้องครบทุกแผนในแต่ละหน่วย ฯลฯ สอดคล้องกับ PLC และ Essential Contents Learning เพื่อให้เกิด Critical Thinking หรือไม่...... ผมมีความเห็นว่า... คำว่า delearn/unlearn สู่ relearn ที่หมอวิจารณ์พูดบ่อยๆ คือคำสำคัญมากๆ ที่เราต้องมาคิดในขั้นปฏิบัติครับ
    • ใช่ learning based หรือไม่ หรือเป็นเพียง การ training แบบใหม่ ให้ใช้กระบวนการ KM, PLC, PBL, ฯลฯ..... แก่นของการเปลี่ยนแปลงคือ เราเองก็ต้อง "เอื้ออำนวย" ให้ครูเรียนรู้และไปสู่ KM, PLC, PBL, ฯลฯ ด้วยตัวเขาเอง ....ไม่งั้น ความภูมิใจ หรือ "ระเบิดจากภายใน" ซึ่งเป็นปัจจัยของ Transformative Learning จะไม่เกิด.........
  • ส่วนประเด็นเรื่องการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เข้าไปสู่  ผมเขียนความเห็นของผมไว้ที่นี่ (ช่วงท้าย) ...ผมสังเกตว่า คุณอาทองปานเงียบและตั้งใจฟังผมเสนอความคิดเห็นอย่างยิ่งตอนที่ผมพูดถึงเรื่องนี้ แต่ท่านก็ไม่แย้งหรือเห็นด้วย วันนั้นผมเสนอท่านในประเด็นหลักๆ ดังนี้ครับ
    • มีมหาวิทยาลัยหนึ่งวิจัยพบว่า การให้ครูเขียนแผนว่าจะสอนแบบบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงในรายวิชานั้น ไม่ค่อยได้ผลนักเพราะครูไม่ได้สอนตามนั้น (ดังนั้นก็คือเพิ่มภาระให้ครู)
    • เป้าหมายของการแทรก ปศพพ. คืออุปนิสัยพอเพียง ซึ่งไม่ได้เกิดจากการสอนนิยามหรือตีความ แต่เกิดจากการนำไปใช้ ผมจึงเน้นว่า ปศพพ. จะบรรลุเมื่อนักเรียนได้ผ่านปัญหา (PBL) ด้วยตัวเขาเอง...ครูจะมีความสำคัญในการชี้ให้นักเรียนเห็นเองด้วยคำถาม..
    • เรื่องนี้ท้าทายผมมาก และผมก็ขอท้าทายคุณอาทองปานและคุณครูวราภาต่อว่า ลองทำวิจัยดูครับ...อย่าเพิ่งเชื่อ...

รอง ผอ. สมบัติ ท่านเดิมครับ ท่านเต็มที่ วันนี้เปิดงานเองครับ

เกือบสามสิบคนครับ ครูเพื่อศิษย์ ณ เชียงยืน

ครูเพ็ญศรี กับคำตอบของคำถาม PBL คืออะไร?

ผมจำชื่อท่านไม่ได้ (ขออภัยด้วยครับ) แต่จำได้แม่นว่า ท่านกำลังทำในสิ่งที่เรากำลังพูดถึง

 

หมายเลขบันทึก: 488516เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ลองให้คุณครูทำวิจัยก่อนนะครับ
  • น่าสนใจ
  • ถ้าครูทำวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนจะพัฒนาขึ้นมากเลยครับ
  • มาเชียร์ครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์ขจิตครับ.... ขอบคุณสำหรับกำลังใจเรื่องครูเพื่อศิษย์อีกครั้งครับ

ขอบคุณอาจารย์มณฑล ที่เข้ามาให้กำลังใจครับ

ขออนุญาตเสริมครับ

   เรื่อง การเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว

   ทฤษฎีทางสมองบอกว่า  สมองจะเรียนรู้โดยรู้ตัว ผ่านจิตรู้สำนึก  แค่ ร้อยละ ๕ ถึงร้อยละ ๑๐   ส่วนที่เหลือ สมองจะเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว ผ่านจิตใต้สำนึก  ถึงร้อยละ ๙๐ ถึง ร้อยละ ๙๕

  ตรงนี้ผมต้องการจะสื่อว่า  บางที เรื่องที่ครูสอน เด็กไม่ได้เกิดการเรียนรู้ครับ  แต่เด็กจะเกิดการเรียนรู้จากพฤติกรรมของครู  จากที่ครูไม่ได้สอน

  ประมาณว่า "แบบ ดีกว่า บอก" ครับ   ตามทฤษฎีเซลกระจกเงา ของสมอง

ขอบคุณท่านรองวิชชาครับ ขอบคุณความรู้ครับ..... มีปราชญท่านหนึ่งบอกผมว่า ตามหลักพุทธไม่มีคำว่า "จิตใต้สำนึก"..... ผมจำได้ว่าวันปิดโครงการที่ LLEN หมอวิจารณ์ท่านพูดถึงสิ่งที่หมอประเวศพบและเสนอที่ว่า .....คนเราเรียนรู้ตอนไม่รู้ตัว (ตอนหลง) มากกว่าตอนรู้ตัว (ตอนตื่น)..... ผมยังมีความเห็นในเชิงวิพากษ์ เพราะโดยปกติคนไม่ค่อยรู้ตัวต่างหาก โดยมากคนจะหลง...หลงคิด หลงทำ หลงเรียน หลงจำ.... ส่วนเรื่องจิตใตสำนึก ไม่มีภูมิรู้พอที่จะวิจารณ์ครับ

ไม่พูดถึงเรื่องจิตใต้สำนึกก็ได้ครับ   แต่มาพูดถึงเรื่องการทำงานของสมอง  สมองจะเรียนรู้จากสิ่งที่มองเห็น จากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น มากกว่า ที่จะเรียนรู้จากสิ่งที่รับฟังมา  หรือ จากคำสอน

ครับ  ผมว่าตรงนี้  ก็คงจะสอดคล้องกันนะครับ  ในเรื่องของการเรียนรู้   คือ ส่วนใหญ่คนเราจะเรียนรู้ตอนหลง   มากกว่าการเรียนรู้ตอนตื่น

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท