แนวคิดนโยบายรัฐบาลที่จะให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ระดับอินเตอร์ หรือ เรียกกันโก้ลิ้นว่าเมดิคัลฮํบ (Medical hub) นั้น ผมฟังครั้งแรกแล้วอยากจะสำรอกอาหารเก่า
เข้าใจว่าเป็นนโยบายริเริ่มโดยรัฐบาลทักษิณ ที่คิดอะไรไม่เป็นนอกจากหารายได้จากชาวต่างประเทศ (คิดแบบพ่อค้ารวยใหม่ คิดได้แค่นี้จริงๆ แล้วปั้นวลีหรูว่า คิดไหม่ทำไหม่)
ผมถามว่าวันนี้ อีสาน ดินแดนที่เลือกพรรคของท่านเขามาแบบถล่มทลาย มีหมอต่อหัวประชากร 1 ต่อ 8000 คน (ส่วนตำรวจ 1 ต่อ 200) คุณภาพการรักษาห่วยแตกสาแหรกขาด เพราะขาดแคลนหมอมากกว่าภาคอื่นๆ (เฉลี่ยประเทศไทยประมาณ 1 ต่อ 2000 กทม. ประมาณ 1 ต่อ 500 ตัวเลขผมจำได้แต่ 10 ปีก่อน วันนี้คงไม่เปลี่ยนมากนักหรอก)
แต่รัฐบาลทักษิณ ก็โยนเศษอาหารหล่นให้พวกเขาว่า 30 บาทรักษาทุกโรคงัย ก็รักษากันไปสิ อย่าลืมขอบคุณฉันด้วยนะ
ส่วนหมอเก่งๆ ดีๆ ที่ผลิตออกมาอย่างแสนแพงด้วยภาษีของคนจนๆ แบบพวกหมอเฉพาะทาง นั้น ฉันจะเอาไปรักษาชาวต่างชาติในโรงพยาบาลแพงๆ (ซึ่งพวกพ้องญาติมิตรฉันอาจมีหุ้นอยู่ด้วย) เพราะพวกนี้ 30 หมื่นบาทรักษาได้เพียงบางโรคพื้นๆ เท่านั้น
ดังนั้นฉันต้องวางนโยบาย 30 หมื่นบาทรักษาบางโรค กับ 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อรักษาอำมาตย์ต่างชาติกับไพร่ไทยไปพร้อมกัน (ไม่ได้สองมาตรฐานนะ)
วันนี้อยากยุแยงตะแคงดี ให้พี่น้องเสื้อแดงตะโกนเรียกร้องความเท่าเทียม
1) เอาภาษีคนไทยไปฝึกอบรมหมอย่างแพง ทั้งทั่วไปและเฉพาะทาง จนเก่ง เสร็จแล้วเอาไปรักษาชาวต่างชาติอย่างนั้นหรือ ทั้งที่คนไทยอีสานขาดแคลนหมอขนาดนั้น
2) เอาหมอชั้นดีไปรักษาคนต่างชาติ ส่วนหมอชั้นกลางที่เหลือรักษาคนกทม. ที่ เหลือจากนั้นอีกรักษาคนบ้านนอกคอกนา (สามมาตรฐาน)
3) เพื่อความเท่าเทียม มีมาตรฐานเดียว ดังนั้นพวกเราชาวบ้านนอกอีสาน ขอใช้สิทธิ์ 30 บาทรักษาได้ทุกโรค และทุกโรงพยาบาล เพื่อที่เราจะได้ไปรักษา 30 บาทที่รพ. อินเตอร์ เคียงคู่กับอำมาตย์ต่างชาติได้อย่างเท่าเทียมกัน
จึงขอกราบเรียนท่านทักษิณมาเพื่อโปรดประทานให้ประชาชนชาว 30 บาทด้วยเทอญ
...คนถางทาง (๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕)
It does sound bad. But most foreign governments are very happy with this idea. It reduces costs of their health programs when their people choose to use outside health facilities. Health insurance companies are happy too -- less to pay out. This will happen. Thai government need not spend a cent promoting/helping it. If anything government should provide incentives for regional/rural medical development. So doctors and experts can enjoy life and work outside BKK.
I am against government subsidizing medical facilities especially targetted foreigners and wealthy people. There are enough 'fibancial benefit reasons' for private investment to go ahead. Taxpayers' money is better spent elsewhere.
ลองอ่านข้อตกลงข้อที่ 4 ที่ฯพณฯยิ่งลักษณ์ ไปตกลงกับประเทศการ์ตาร์ (เศรษฐีน้ำมันตะวันออกกลาง) ดูนะครับ (จาก ผจก.ออนไลน์) ....
...หา..ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (น่าเอามาเที่ยวที่ รพ. มหาราช นม. ดูบ้าง รับรองสนุกสนาน ได้มีเพื่อนไทยยืนรอคิวอีกหลายร้อยคนเป็นแน่) ..มหาราช นม. ได้ชื่อว่าเป็นรพ. ที่มีผู้ป่วยต่อหัวหมอสูงสุดในประเทศ
ในตอนท้ายของบทความ ผจก.ออนไลน์ กล่าวว่า........
และต้องไม่ลืมว่าในยุครัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร มีความฝันที่จะดันประเทศไทยให้เป็น “เมดิคัลฮับ” ซึ่งก็ต้องดึงดูดพวกเศรษฐีมีทรัพย์มาใช้บริการ ซึ่งก็ไม่มีใครเหมาะสมเท่า “แขกอาหรับ” อีกแล้ว และที่ผ่านมาในวงการก็รับรู้ว่า “เครือข่ายครอบครัว” นี้มี “ธุรกิจโรงพยาบาล” ชั้นนำหลายแห่งทั่วประเทศตามแหล่งธุรกิจและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ มีการกว้านซื้อหุ้นผ่านทาง “ทนายคดีซุกหุ้น” อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และแม้ว่ามองในมุมดีก็ทำให้ไทยมีรายได้มหาศาล แต่ขณะเดียวกันคำถามก็คือมันเข้ากระเป๋าใครมากกว่ากัน และนี่อาจเป็น “วาระซ่อนเร้น” มี “ผลประโยชน์ทับซ้อน” อีกเรื่องหนึ่ง !!
ถูกต้องที่สุดค่ะ.. วิชาชีพนี้กลายเป็นสินค้าที่ซื้อขายได้แบบตลาดหุ้นเลยค่ะ..โรงพยาบาลรัฐก็ทุ่มเม็ดเงินไม่อั้นในการจ้างวิชาชีพนี้ให้ทำงานด้วย.. เด็กจบใหม่เงินเดือนไม่เยอะ แต่ค่าตอบแทนต่างๆ ไม่ต่ำกว่าหลักแสนต่อหนึ่งคน .. ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าเราขาดแคลนหมอนะคะ.. แต่เราขาดแคลนคนที่มีวิญญาณของความเป็นหมอต่างหากหล่ะ.. -- ดังนั้นเราจะพบว่ามีคนที่มีวิญญาณหมอนั้นน้อยเต็มทน ไม่ใช่ไม่มีนะคะ..บางที่ก็นับได้ไม่เกิน ยี่สิบคน ที่ทำงานตอบแทนค่าจ้างนั้นอย่างเต็มกำลังความสามารถ น่ายกย่องสุดๆ แต่ว่าที่นั่น--เค้ามีหมอนับหลายร้อยคน ..
ไหนๆ..โรงพยาบาลก็ถูกพาดพิงต้องขอ..สนับสนุนแนวคิดของท่านอาจารย์ที่กรุณานึกถึงรพ.มหาราช นม. ที่จะเข้าร่วมด้วยจะได้มีการพัฒนาระบบต่างๆให้เป็นสากล หรือ อาจทำให้รัฐบาลหน้าหงายไปเลย อิอิอิ แขกใครก็ช่างเฮอะ.. มาเจอพวกหมอ พยาบาล ที่มีจิตใจ บริการที่เท่าเทียมกันแบบที่นี่ ก็รอกันจนเป็นลมล้มพับไปหลายตลบก็ยังไม่ได้ตรวจ หรือ รอตรวจนาน ห้าชม. แต่คนตรวจไม่ได้เงยหน้ามองสักแวบ ก้มมองแต่กระดาษที่พยาบาลเขียนข้อมูลไว้ให้ ไม่ถึง หนึ่งนาที ตรวจเสร็จละ .. ส่งลงชิงสถิติโลกน่าจะดี อาจเป็นจุดเปลี่ยนของโรงพยาบาลนี้ก็ได้ค่ะ.. (แต่เปลี่ยนไปทางไหนก็มะรุเหมือนกัง)