Healing Environment in Palliative care clinic, Pua Crown Prince Hospital, Nan,Thailand.


สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา

Healing Environment in Palliative care clinic, Pua Crown Prince Hospital, Nan,Thailand.

เป้าหมาย :  เพื่อให้ผู้ป่วยระยะประคับประคองและผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้รับการดูแลรักษาในระบบบริการผู้ป่วยนอก ที่ตอบสนองต่อความต้องการ ด้วยมิตรภาพและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยา


ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ :

          -ผู้ป่วยระยะประคับประคองและผู้ป่วยระยะสุดท้ายส่วนใหญ่(ร้อยละ 90.02) มีอาการรบกวนมากกว่า 1 อาการ  (โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ และคณะ, 2554)  
          -ไม่มาพบแพทย์ตามนัด ไม่สะดวกในการรอตรวจนานๆ ขาดโอกาสที่จะได้รับการตรวจประเมินติดตาม และการให้คำปรึกษาเพื่อการจัดการกับอาการรบกวนและการเตรียมตัวเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบ
          -ในการมารับบริการแต่ละครั้ง ไม่ได้รับบริการจากผู้ให้บริการคนเดิม
          -พบความเสี่ยงกรณีผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ไม่พึงพอใจในการบริการเนื่องจากถูกสอบถามประวัติการเจ็บป่วยซ้ำๆ หลายครั้งในหลายแผนก ในขณะที่กำลังไม่สุขสบายอยู่

 

แนวคิด: พัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยนอกเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยแบบประคับประคองและผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการให้ดีที่สุด ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิม โดยใช้แนวคิดสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา

กิจกรรมการพัฒนา :     
          1.ปรับปรุงห้องพิเศษเดิมให้เป็น unit บริการ ลักษณะ OPD clinic เฉพาะกลุ่มโรค

         2.ห้องคลินิกบริการสามารถมองเห็นสวนหย่อม ผ่านประตูหลังห้อง ทำให้รู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติได้ดี

         3.จัดเตียงนอน และเก้าอี้บุนวมที่นั่งสบาย เหมาะสมกับสภาวะความเจ็บป่วยของผู้รับบริการส่วนใหญ่ ที่มักมีอาการรบกวน ไม่สุขสบาย ไม่สะดวกต่อการนั่งนานๆ

          4.ห้องคลินิกบริการสามารถเปิดเครื่องปรับอากาศได้ กรณีที่อากาศร้อนอบอ้าว

          5.ให้บริการในรูปแบบ กึ่ง one-stop service ลดขั้นตอนบริการที่แยกส่วนแยกพื้นที่ ผู้ป่วยไม่ต้องเดินไปมาหลายจุดบริการ

         6.มีผู้ให้บริการรับผิดชอบประจำคลินิก (วิสัญญีแพทย์, ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงด้านการดูแลแบบประคับประคอง,เภสัชกร) ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศที่เอื้อต่อความไว้วางใจ 

        7.มีการจัดบริการเป็นระบบ ประยุกต์ใช้เครื่องมือในการติดตามประเมินสภาพปัญหาที่ได้มาตรฐาน ให้บริการแบบองค์รวม

          8.มีการให้บริการปรึกษา/ติดตามประเมินสภาพปัญหาฯ ทางโทรศัพท์ โดยพยาบาลที่มีความชำนาญเฉพาะด้านการดูแลแบบประคับประคองประจำคลินิก ทำให้มีความต่อเนื่องในการดูแลและเป็นช่องทางที่ง่ายต่อการเข้าถึงของผู้ป่วยและครอบครัว
          9.ให้บริการที่เป็นมิตรและเอื้ออาทร ตอบสนองต่อคุณค่าและความหมายในชีวิต  ความเชื่อ ความศรัทธา ของผู้ป่วยและครอบครัว ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและครอบครัว

ผลลัพธ์:  (อยู่ในช่วงเก็บข้อมูล) 
           -ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อสิ่งแวดล้อมในห้องคลินิกการดูแลแบบประคับประคองฯ ในประเด็น ความเป็นส่วนตัว สะดวก เหมาะสมกับสภาพอาการของผู้ป่วย เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการ ผู้ป่วยและครอบครัว  ในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 85.7 (n=11)

การติดต่อกับทีมงาน:
          ไพรินทร์  สมบัติ, RN, APN Case Manager, รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว อ.ปัว จ.น่าน  โทร 054-791104  ต่อ 2218 ,082-8894374, e-mail address: [email protected]

          นงลักษณ์ ไชยเสน,วิสัญญีแพทย์, Disease Manager, รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว อ.ปัว จ.น่าน 
โทร 054-791104  ต่อ 2214

หมายเลขบันทึก: 488348เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 00:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2012 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

วันนี้อยู่ที่งาน Suandok Palliative Care Day ครั้งที่ 3 ที่คณะแพทยศาสตร์ มช.ค่ะ มีโอกาสนำเอาแนวคิด Healing environment ที่เรานำมาปรับใช้ใน Palliative care clinic ที่ รพร.ปัว มาแบ่งปันค่ะ

บรรยากาศดีค่ะ น่าจะหา out come อื่นด้วยนะคะ นอกจากความพอใจ

เยี่ยมครับ ขอให้หน่วยเจริญก้าวหน้าครับ เป็นกำลังใจให้อย่างเต็มที่ครับ

ชื่นชมในความตั้งใจและขอบคุณที่เผยแพร่งานให้เราได้เรียนรู้ค่ะ
เก็บรูปมาฝากค่ะ เชิญครั้งหน้ามาอีกนะค่ะ :)

ดีใจที่พี่แก้ว แวะมาเยี่ยมค่ะ ที่วางแผนไว้ก็คือวัด outcome ของการดูแลโดยรวมน่ะค่ะ เพราะถ้า Healing env ดี น่าจะสนับสนุนให้ผลลัพธ์ของการดูแลดีไปด้วย ตอนนี้ติดตามประเมินอาการรบกวนโดยใช้ เครื่องมือ ESAS ที่อาจารย์ดารินแปลน่ะค่ะ ประเมินในครั้งแรกที่มาคลินิก และอีก 7 วัน, 1 เดือนหลังจากนั้น นอกจากนั้นมีการวัด waiting time ,community care time ผู้ที่มาพบแพทย์เป็นใคร ตัวผู้ป่วยเอง หรือผู้ดูแลมาแทน แต่ก็คงต้องพิจารณากับ PPS และปัจจัยพื้นฐานอื่นๆอีกทีค่ะ จริงๆแล้วทำเป็น R2Rพัฒนาระบบการดูแลฯ น่ะค่ะ แต่คงเป็น R2R แบบบ้านๆ พี่แก้วแนะนำด้วยนะคะ

ขอบคูณท่านอาจารย์ ปัทมา เป็นอย่างสูงค่ะที่ให้เกียรติมาเยี่ยมและเป็นกำลังใจให้ทีมคนทำงานไกลปืนเที่ยงอย่างพวกเราค่ะ ต้องขอโทษอาจารย์ด้วยนะคะ ที่ในวันงานไม่ได้ทันเข้าไปทักทาย ทั้งอาจารย์ดารินด้วยค่ะ อุตส่าห์แอบเป็นแฟนคลับอาจารย์มาตั้งนาน อิอิ

สวัสดีค่ะ อาจารย์โรจน์ ...งานพัฒนาได้ก็ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันของทีมงานและการให้โอกาสของผู้ใหญ่ใจดีน่ะค่ะ เรามีคุณหมอนงลักษณ์ ไชยเสน วิสัญญีแพทย์ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญของทีมงานด้วยค่ะ

ขอบคุณพี่เล็กนะคะที่เเบ่งปัน

รบกวนน้องกุ้งแนะนำไอเดียดีๆ ด้วยนะคะ โดยเฉพาะเรื่องการวัดผลลัพธ์ต่างๆ บางทีก็ไม่แน่ใจว่าจะเหมาะสมไหม น่ะค่ะ

  • มาเขียนบ่อยๆๆนะครับ
  • รออ่านอีก

ขอบคุณสำหรับแรงใจค่ะ อาจารย์ขจิต...ใจมีให้เต็มร้อยค่ะ แต่เวลา ต้องแอบแบ่งๆเอา อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท