กรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ


สัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น "โครงการจัดทำกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ

มีโอกาสได้เข้าร่วมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 "โครงการจัดทำกรอบนโยบายคมนาคมแห่งชาติ" จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในวันอังคารที่ 15 พฤษภาคม 2555 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์

นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้เปิดการสัมมนา

นำเสนอผลการศึกษา โดย

 ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์

ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู

จุดประสงค์ในการศึกษา

1.ติดตามเทคโนโลยี สภาพตลาดและทบทวนสถานภาพและความสัมพันธ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2.กำหนดทิศทางในการพัฒนากิจการโทรคมนาคมในอนาคตทั้งระยะกลาง (3-5 ปี) และระยะยาว (10 ปี)

3.ศึกษานโยบายการเปิดเสรีโทรคมนาคม รวมทั้งการสื่อสารผ่านดาวเทียม

4.กำหนดกรอบการกำกับดูแล และแนวทางการพัฒนาการประกอบกิจการ

เนื้อหาการนำเสนอ

1.แนวโน้มเทคโนโลยี ตลาดและการกำกับดูแล

2.การพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์

3.สิทธิแห่งทาง และการใช้โครงข่ายร่วมกัน

4.การให้บริการอย่างทั่วถึง

5.การเปิดเสรีกิจการดาวเทียมสื่อสาร

6.แนวนโยบายด้านความมั่นคงในการสื่อสาร

7.ร่างกรอบนโยบายโทรคมนาคมแห่งชาติ

 

สรุปหัวข้อที่สำคัญประกอบด้วย

การแบ่งหน้าที่ในระบบโทรคมนาคมไทย ตั้งแต่ปี 2553

นโยบาย  โดย ครม

กำกับดูแล โดย กสทช

บริการ โดย ผู้รับอนุญาต

แผนแม่บท ICT (ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย พ.ศ.2552-2556)

เป้าหมาย 

  • มีโครงข่ายและ/หรือบริการบรอดแบนด์ เพื่อให้เกิดบริการมัลติมีเดีย สำหรับประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ ภูมิประเทศ ความต้องการของชุมชน และราคาการลงทุนที่เหมาะสม
  • ให้มีบริการเครือข่ายความเร็วสูงที่ความเร็วอย่างน้อย 4 Mbps ในราคาที่เป็นธรรมเมื่อเทียบกับคุณภาพที่ให้บริการ
  • ให้มีโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อยกระดับการศึกษาของเยาวชนและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน
  • ให้มีโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการบริการภาคสังคมที่สำคัญต่อความปลอดภัยในชีวิตและคุณภาพชีวิตของประชาชน
  • มีแผนแม่บทด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศแห่งชาติ ภายในปี 2552

ข้อสังเกต

  • เป็นมาตราการที่มีความครอบคลุม และมีการระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและระยะเวลาในการดำเนินงานที่ชัดเจน
  • สานต่อความต่อเนื่องทางนโยบายจากกรอบนโยบาย ICT 2010(พ.ศ. 2544-2553) แต่ไม่ได้เป็นการดำเนินการตามกรอบนโยบาย ICT 2020

กรอบนโยบาย ICT 2020 ( พ.ศ.2554-2563)

  • มีโครงสร้างพื้นฐาน ICT ความเร็วสูง (broadband)ที่กระจายอย่างทั่วถึง ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกันเสมือนการเข้าถึงบริการสาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วไป
  • ตัวชี้วัดการพัฒนาบรอดแบนด์ที่สำคัญคือ ร้อยละ 80 ของประชากรทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงโครงข่ายโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายในปี 2558 และร้อยละ 95 ภายในปี 2563

ข้อสังเกต

  • กลยุทธ์และมาตราการในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายมีความชัดเจน และมีแนวทางการพัฒนาบรอดแบนด์อย่างเป็นระบบนิเวศ
  • ควรกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการให้ชัดเจนมาหขึ้น
  • ควรติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (1)

1.ส่งเสริมการแข่งขันและการลงทุนในโครงข่ายบรอดแบนด์

  • Facilities-based competition โดย inter-platform or intermodal competition
  • Service-based competition

2.สนับสนุนการเข้าถึงสิทธิแห่งทาง (Right of Way) และการใช้โครงข่ายร่วมกัน (network sharing)

  • ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (2)

1.รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน (Public-Private Partnership)

2.สร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นอุปสงค์

  • ขยายการให้บริการอย่างทั่วถึง (USO) ในสถานศึกษา สถานพยาบาล และชุมชน
  • ขยายบริการ e-government ให้หลากหลายขึ้น
  • ส่งเสริม e-literacy แก่ประชาชน

(ยังไม่จบโปรดติดตามตอนต่อไป 

หมายเลขบันทึก: 488344เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท