ทฤษฎีและระเบียบวิธีการวิจัยทางการบริหารจัดการการศึกษา


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย

สรุป ทฤษฎีและวิธีการวิจัยทางการบริหารจัดการการศึกษาขั้นสูง

บทเรียนที่ 1

1.      การวิจัย  เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ใหม่ ที่ใช้กระบวนการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการอนุมานและอุปมาน ประกอบให้เกิดการแสวงหาความรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้เป็นระบบ จนสามารถทำให้เกิดเป็นความรู้ใหม่และทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่น่าเชื่อถือได้ แม่นยำ สอดคล้องกับความเป็นจริง
2.      ลักษณะของงานวิจัย  พอสรุปได้

-    มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน

-    ตั้งเป็นสมมติฐาน เพื่อแสวงหาคำตอบ

-    มีแนวคิดทฤษฎีเพื่อความเที่ยงตรงถูกต้องและความน่าเชื่อถือ

-    มีการบันทึกและรายงานเพื่อสื่อสารและสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการ

-    ต้องใช้ความอดทน  ใช้ความเพียรพยายามสูงในการออกแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ผลและเขียนรายงานผลการวิจัยจนสำเร็จ


3.      การวิจัยทางวิทยาศาสตร์กับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคมแตกต่างกันดังนี้

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม

  1. เป็นการวิจัยที่แสวงหาความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลาย 
  2. เป็นการวิจัยสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
  3. เป็นการวิจัยสสารและพลังงาน

 1. เป็นการวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

 2. เป็นการวิจัยทางพฤติกรรมของมนุษย์

 3. เป็นการวิจัยทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

 4.ประโยชน์ของการวิจัยในประเด็นดังนี้

การพรรณนา

การอธิบาย

การคาดคะเน

1.เป็นการพรรณนาให้รู้ความเป็นจริงของธรรมชาติ  คุณลักษณะ ส่วนประกอบ ทำให้มองเห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างเข้าใจเป็นลำดับขั้นตอน

2.ได้รายละเอียดการดำเนินงาน

1.เป็นการบอกถึงความสัมพันธ์หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นเหตุเป็นผลอย่างเข้าใจ

2.รู้เหตุรู้ผลที่มีความสัมพันธ์กัน

เป็นการควบคุมผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นโดยการจัดปัจจัยเป็นสาเหตุให้เหมาะสม

5. วิธีการวิจัยเกี่ยวข้องกับการอนุมาน การอุปมาน วิธีวิทยาศาสตร์อย่างไร

การอนุมาน

การอุปมาน

วิธีวิทยาศาสตร์

อนุมานเป็นตัวสมมุติฐานของการวิจัย ที่มีวิธีการหาเหตุผล หาข้อสรุปให้เกิดความน่าเชื่อถือ

เป็นการแสวงหาความรู้เชิงประจักษ์ที่ต้องได้ข้อมูลย่อยจากการอนุมาน   ซึ่งจะได้ 2 แบบ คือ

-       อุปมานแบบสมบูรณ์ได้ข้อมูลย่อยครบ

-       อุปมานไม่สมบูรณ์ได้ข้อมูลย่อยบางหน่วยแล้วนำมาสรุป

เป็นการแสวงหาความรู้ที่ต้องอาศัยการอนุมานและอุปมาน ประกอบกันให้เกิดการแสวงหาความรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้เป็นระบบ จนสามารถทำให้เกิดความรู้ใหม่และทฤษฎีใหม่ๆอย่างกว้างขวาง

บทปฏิบัติการที่ 1 การสังเคราะห์ความรู้

  1. การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทางสังคมศาสตร์ ทางมนุษยศาสตร์มุ่งเน้นศึกษาหาความรู้ในเรื่องใด ใช้วิธีการศึกษาเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร  มีเป้าหมายของการศึกษาเพื่ออะไร 

คำตอบ

การวิจัย

มุ่งเน้นศึกษาเรื่อง

วิธีการศึกษาทีใช้

เป้าหมายการศึกษา

ทางวิทยาศาสตร์

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

ใช้วิธีการอนุมานและวิธีการอุปมาน

ได้ความรู้ถูกต้องและเกิดความน่าเชื่อถือ

ทางสังคมศาสตร์

มุ่งเน้นศึกษาทางด้านพฤติกรรม  ความรู้และด้านวัฒนธรรม

ใช้วิธีการศึกษาเชิงปฏิบัติการ

เกิดการมีส่วนร่วม

  1. 2. วิธีแสวงหาความรู้ของมนุษย์มี 4 วิธี  แต่ละวิธีจำแนกเป็นอะไรได้บ้าง  ขั้นตอนวิธีการ  ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันและแนวคิดทางการวิจัยที่เกี่ยวกับการวิจัยมีอะไรบ้าง

คำตอบ

 

การวิจัย

วิธีธรรมชาติ

วิธีตรรกะ

วิธีวิทยาศาสตร์

วิธีการวิจัย

ลักษณะสำคัญ

เป็นไปตามธรรมชาติไม่มีระบบ

มีระบบ

เป็นระบบ

เกิดความน่าเชื่อถือและความถูกต้อง

ขั้นตอนและวิธีการ

  1. ค้นหาโดยบังเอิญ
  2. ค้นหาโดยลองผิดลองถูก

 

ค้นหาโดยวิธีอนุมานด้วยวิธีการหาเหตุผลจากข้อเท็จจริงใหญ่และย่อย3

ใช้วิธีอนุมานแลอุปมานประกอบกันซึ่งประกอบด้วย5 ขั้นตอนคือ 1)ขั้นรู้สึกว่าเป็นปัญหา 

มี 7 ขั้นตอนคือ 1.กำหนดปัญหา   2.สำรวจทฤษฎีเอกสารและงานวิจัยที่

การวิจัย

วิธีธรรมชาติ

วิธีตรรกะ

วิธีวิทยาศาสตร์

วิธีการวิจัย

ขั้นตอนและวิธีการ

  1. ค้นหาโดยการบอกเล่าของผู้รู้
  2. ค้นหาโดยจารีตประเพณี
  3. ค้นหาโดยประสบการณ์

ประการ คือ 1) เก็บรวบรวมข้อมูล  2)วิเคราะห์ข้อมูล  3)สรุปผล

2.วิธีอุปมานโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์

2)ขั้นตรวจสอบความถูกต้องและเหตุผลของแต่ละสมมุติฐาน 3)ขั้นทดสอบ  4)สมมุติฐาน  5)สรุปผล

เกี่ยวข้อง  3.เสนอสมมุติฐานการวิจัย  4.เก็บรวบรวมข้อมูล 5.วิเคราะห์ข้อมูล  6.ทดสอบสมมุติฐาน  7.เขียนรายงานการวิจัย

ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นที่หลากหลาย

หาเหตุผลประกอบเพื่อสร้างความรู้ใหม่

ใช้อนุมานและอุปมานประกอบ

ใช้วิธีการหาแบบวิทยาศาสตร์

แนวคิดที่เกี่ยวกับการวิจัย

เป็นวิถีชีวิต  การดำรงชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

อาจจะสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ก็ได้

เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ใหม่

มีทั้งปริมาณและคุณภาพ

บทเรียนที่ 2

  1. ปรัชญาวิทยาศาสตร์คือ  วิชาที่ว่าด้วยความจริงที่เกิดขึ้นทั้งหลายที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยคือเป็นฐานด้านปรัชญาที่ว่าด้วยวิชาตรรกะความเป็นเหตุเป็นผล
  2. ปรัชญาบริสุทธิ์กับปรัชญาวิทยาศาสตร์มีความเชื่อเกี่ยวกับการแสวงหาความรู้แตกต่างกันอย่างไร

ปรัชญาบริสุทธิ์

ปรัชญาวิทยาศาสตร์

  1. ปรัชญาบริสุทธิ์เป็นการให้เหตุผลโดยวิธีเชิงตรรกะ
  2. ความรู้ที่ได้เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล
  3. เป็นนามธรรม
  4. เป็นสากล

 1. ความรู้ได้มาจากกการสังเกตและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์

 2. ความรู้ที่ได้ต้องเป็นรูปธรรมเฉพาะ

 3. ไม่เป็นสากล

 4. การแสวงหาความรู้แบบอุปมาน

 

  1. 3.จงกล่าวถึงแนวคิดของลัทธิสังคมปฏิฐาน(Positivism)ที่มีต่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์

ตอบ แนวคิดของลัทธิสังคมปฏิฐาน(Positivism) เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมโดยใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์

4.คำว่า วิธีทางวิทยาศาสตร์คืออะไร  มีขั้นตอนอย่างไร  จงอธิบาย

ตอบ  วิธีทางวิทยาศาสตร์คือการแสวงหาความรู้ที่ต้องอาศัยการอนุมานและอุปมาน ประกอบกันให้เกิดการแสวงหาความรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้เป็นระบบ จนสามารถทำให้เกิดความรู้ใหม่และทฤษฎีใหม่ๆอย่างกว้างขวาง  มี 5 ขั้นตอนคือ 1)ขั้นกำหนดปัญหา  2)ขั้นตตั้งสมมุติฐาน 3)ขั้นรวบรวมข้อมูล  4)ทดสอบสมมุติฐาน  5)สรุปผล

5.คำว่า วิธีวิทยาการวิจัย คืออะไร  เกี่ยวข้องกับการวิจัยอย่างไร

ตอบ วิธีวิทยาการวิจัย คือ การศึกษาวิเคราะห์ กระบวนการที่นักวิจัยนำมาใช้ในการบรรยาย  อธิบายหรือทำนายปรากฏการณ์อย่างเป็นระบบตามหลักทางวิทยาศาสตร์  ตลอดจนเทคนิคที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้  เกี่ยวข้องกับการวิจัยเพราะเป็นส่วนที่นำมาใช้อธิบาย ทำนายปรากฏการณ์อย่างเป็นระบบ สามารถนำมาออกแบบการวิจัยได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

บทปฏิบัติการที่ 2 การสังเคราะห์ความรู้

          ข้อ1.   พัฒนาการของ  แนวคิดทางการวิจัย 4  ยุคสมัยมุ่งศึกษาในเรื่องใด  กลุ่มนักคิดสำคัญของแต่ละยุคสมัยคืออะไร  วิธีการศึกษาที่ใช้วิจัยคืออะไร

            คำตอบ

การวิจัย

ยุคปรัชญาบริสุทธิ์

ยุคปรัชญาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ยุคปรัชญาสังคมศาสตร์

ยุคปรัชญา

มนุษย์ศาสตร์

สิ่งที่ศึกษา

 

 

 

ความเป็นไปที่เป็นความจริง เป็นชีวิต   ธรรมชาติ  พฤติกรรม จักรวาล โลก

ปรากฏการณ์ในธรรมชาติ

 

 

 

สภาพความเป็นอยู่และพฤติกรรมมนุษย์

ความเชื่อและค่านิยมของมนุษย์

 

 

 

กลุ่มนักคิดที่สำคัญ

พลาโต,อริสโตเติ้ล

เบคอน,นิวตัน,John lock,Kant

ออกัสตุส ดองเต้,จอห์น  สจวต  มิลล์

Edmund Husserl,Herbert  Spence,Emile Durkheim

วิธีการศึกษาที่มุ่งเน้น

ใช้ตรรกะคณิตศาสตร์ การอนุมาน +อุปมาน

Induction + Deductionโดยใช้ฐานปรัชญาบริสุทธิ์เกี่ยวกับวิธีเชิงตรรกะ

สังคมความเป็นอยู่และพฤติกรรมของมนุษย์

เน้นกระบวนการตีความและให้ความหมายแก่ปรากฏการณ์ที่ศึกษา

            ข้อ 2.   วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์มีข้อตกลงเกี่ยวกับธรรมชาติในแต่ละเรื่องอย่างไร

คำตอบ

วิธีวิทยาศาสตร์

ข้อตกลงเกี่ยวกับความจริงของธรรมชาติ

ข้อตกลงเกี่ยวกับแบบแผนของธรรมชาติ

ข้อตกลงเกี่ยวกับกระบวนการทางจิตวิทยา

1.

เป็นการค้นหาความจริงที่มีอยู่แล้ว

Kind  ของธรรมชาติ

Rerealbility  การรับรู้

2.

 

Constencyของธรรมชาติ

Rerealbility  การจำ

3.

 

Deteminismของธรรมชาติ

Rerealbility การใช้เหตุผล

            ข้อ 3.  วิทยาการเรื่องการวิจัยมีกรอบความคิดในแต่ละระดับอย่างไร

แนวคิดทฤษฎีการวิจัย

กระบวนทัศน์การวิจัย

ระเบียบวิธีการวิจัย

กระบวนการวิจัย

วิธีการวิจัย

1.ทฤษฎีปฏิฐานนิยม

ใช้วิธีวิทยาศาสตร์อย่างเคร่งครัด

ตามแนววิทยาศาสตร์

ที่อาศัยวิธีทางสถิติมาวิเคราะห์ข้อมูล

ใช้วิธีวิทยาศาสตร์

2.ทฤษฎีปรากฏการณ์นิยม

ใช้การตีความตามบริบทของสิ่งที่ศึกษาอย่างลึกซึ้ง

ตามแนวมนุษย์ศาสตร์

มุ่งศึกษาข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะที่หลากหลายและลึกซึ้ง

ใช้วิธีการตีความ

3. ทฤษฎีสังคมเชิงวิพากษ์

ภายใต้แนวคิดทฤษฎีปฏิบัติการทางสังคมนิยม

ตามแนวสังคมศาสตร์

ใช้วิทยาศาสตร์บางส่วนและข้อมูลจากการมีส่วนร่วม

ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้วิจัยกับผู้ถูกวิจัย

บทเรียนที่ 3

  1. ความแตกต่างของวิธีวิทยาศาสตร์กับวิธีวิจัย

ตอบ  วิธีวิทยาศาสตร์เป็นการค้นหาความจริงจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ขึ้นอยู่กับชนิด   ข้อกำหนด  ความคงเส้นคงว โดยผ่านกระบวนการรับรู้  การจำ  การใช้เหตุผล  ส่วนวิธีวิจัย เป็นการนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทฤษฎี/แนวคิดโดยใช้กระบวนการเชิงปริมาณและคุณภาพ

2.ความ เกี่ยวข้อง“ทฤษฎี”กับการอนุมานและอุปมาน

ตอบ ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการนอนุมานและอุปมาน  กล่าวคือ ทฤษฎีเป็นข้อสรุปที่มีความเชื่อมั่นและสามารถนำมาอนุมานหาคำตอบและนำมาตั้งเป็นสมมุติฐานการวิจัยครั้งนั้นได้  ส่วนอุปมานเป็นวิธีเพื่อเสนอสมมุติฐานและเพื่อนำมาใช้ลงสรุป

3.ความ เหมือนความต่างกันของ “ทฤษฎี”กับ “สมมุติฐาน”

ตอบ “ทฤษฎี”กับ “สมมุติฐาน”เหมือนกัน กล่าวคือ เป็นการอนุมานเพื่อใช้ในการหาคำตอบการวิจัยเป็นกรอบแนวคิดที่เชื่อมโยงแนวคิดเข้าด้วยกันอย่างสมเหตุสมผล แต่ต่างกันคือ ทฤษฎีเป็นสมมุติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองจนสามารถอธิบายข้อเท็จจริง สามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์

ทั่ว ๆไปได้ถูกต้องเป็นเหตุเป็นผล จนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป แต่สมมุติฐานมาจากการอนุมานของทฤษฎีเพื่อใช้เป็นคำตอบของปัญหางานวิจัย สมมุติฐานจะน่าเชื่อถือต้องมี ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมารองรับเพื่อเพิ่มน้ำหนักความน่าเชื่อถือของการคาดคะเนคำตอบซึ่งจะเป็นจริงหรือไม่ก็ได้

4.ความหมายการนิยามปฏิบัติการ(Operation)และการนำมาใช้ในการวิจัย

ตอบ  นิยามปฏิบัติการ(Operation)คือ ขั้นตอนการนำเสนอวิธีการวัดข้อมูลเชิงประจักษ์ของตัวแปรภายใต้สมมติฐานการวิจัยที่ต้องการทดสอบ นำมาใช้ในการวิจัยเพื่อนำสมมุติฐานไปตรวจสอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถสังเกต  วัดและประเมินได้อย่างเป็นปรนัย

5.ความหมายการให้ค่าคะแนน(Scoring) และการนำมาใช้ในการวิจัย

ตอบ การให้ค่าคะแนน(Scoring) คือคำตอบที่แปลออกเป็นค่าตัวเลขที่สามารถนำมาใช้ประมวลผล

ได้นำมาใช้ในการนำมาคำนวณหาค่าสถิติที่จะนำไปใช้ทดสอบและตัดสินใจเกี่ยวกับสมมุติฐาน

สรุปการสังเคราะห์ความรู้ในบทปฏิบัติการที่ 3  ดังนี้

ข้อ 1 ระเบียบวิธีวิจัยทั้งสามแนวทางเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ระเบียบวิธีวิจัยทั้งสามแนวทางเหมือนกันคือ เป็นภาระกิจของมนุษย์ในการแสวงหาความรู้และเป็นการทำความเข้าใจระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ แต่แตกต่างกันที่ระดับวิธีวิจัยหลักกับขั้นตอนการวิจัย

ข้อ2 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และทางสังคมศาสตร์เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และทางสังคมศาสตร์เหมือนกันคือ ทางวิทยาศาสตร์เป็นแนวทางหลักให้กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ และระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ก็ได้นำระเบียบวิธีวิจัยหลักทางวิทยาศาสตร์แบบ Deductive – inductive approach ประกอบ แต่แตกต่างกันที่ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นการวิจัยที่แสวงหาความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลาย เป็นการวิจัยสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ส่วนระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์เป็นการวิจัยทางพฤติกรรมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ซึ่งจะต้องเพิ่มขั้นตอนนิยามปฎิบัติการและการสร้างเครื่องมือกับขั้นตอนการให้ค่าคะแนนและการวัดเพื่อเชื่อมโยงสมมุติฐานการวิจัยกับการวัดค่าตัวแปรเข้าด้วยกัน

ข้อ 3 วิธีอนุมานกับวิธีอุปมานเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ วิธีอนุมาน เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ใหม่อาจจะอนุมานทางตรงคือใช้ความสัมพันธ์ระหว่างญัตติหรือประโยคตรรกะหรือทางอ้อมก็ได้โดยใช้ตรรกะ สร้างความสัมพันธ์ของสิ่งของสองสิ่งโดยใช้สิ่งที่สามเป็นตัวกลางด้วยหลักเหตุผลเท่านั้น ในการวิจัยนักวิจัยจะอนุมานสมมุติฐานการวิจัยจากทฤษฎีที่มีอยู่ก่อนแล้วและสมมุติฐานเป็นคำตอบของการวิจัยที่อนุมานมาจากทฤษฎีแต่ยังไม่สรุปเป็นคำตอบ
วิธีอุปมาน เป็นกระบวนการการให้เหตุผลที่เนื้อความของผลการสรุปต้องกว้างเกินกว่าเนื้อความเหตุ และอุปมานต้องตัดสินใจว่าสมมุติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้สามารถยอมรับได้หรือไม่ในทางสถิติ

ดังนั้นสรุปได้ว่า ทั้งสองวิธีเหมือนกัน คือ หาคำตอบสมมุติฐานให้กับการวิจัย โดยให้วิธีอนุมานเป็นวิธีการหาเหตุผลเพื่อหาข้อสรุปให้เกิดความน่าเชื่อถือ และวิธีอุปมานเป็นการแสวงหาความรู้เชิงประจักษ์ที่ต้องได้ข้อมูลย่อยจากการอนุมาน ซึ่งจะได้ 2 แบบ คืออุปมานแบบสมบูรณ์ได้ข้อมูลย่อยครบและอุปมานไม่สมบูรณ์ได้ข้อมูลย่อยบางหน่วยแล้วนำมาสรุป

หมายเลขบันทึก: 487681เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท